สังคม

“ชวน หลีกภัย” ยันประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่อ วาระ3 แต่ไม่ลงมติ เหตุฝ่ายกฎหมายอ้างคำวินิจฉัยกลาง ต้องทำประชามติก่อน

โดย JitrarutP

17 มี.ค. 2564

12 views

“ชวน หลีกภัย” ยันประชุมพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต่อ วาระ3 แต่ไม่ลงมติ เหตุฝ่ายกฎหมายอ้างคำวินิจฉัยกลาง ต้องทำประชามติก่อน

ประธานรัฐสภายืนยันการประชุมวันนี้ ยังมีญัตติพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระที่ 3 เข้าสู่ที่ประชุม ซึ่งฝ่ายกฎหมายของสภาพิจารณา แล้วเห็นว่าเป็นข้อบังคับ ของกฎหมายที่ต้องบรรจุวาระนี้เข้าประชุม ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการประสานและเสนอความเห็นเพื่อประกอบพิจารณาของประธานรัฐสภาพและประธานสภาผู้แทนราษฎร สรุปผลประชุมว่า ไม่อาจลงมติในวาระสามของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ได้

นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับฝ่ายกฎหมายสภาผู้แทนราษฎรนานถึง 2 ชั่วโมง โดยระบุว่ายังมีเรื่องการพิจารณาแนวทางการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 บรรจุอยู่ในวาระการประชุม เพราะกฎหมายบังคับไว้ชัดเจนว่า เมื่อผ่านวาระ 2 ไปแล้ว ต้องบรรจุญัตติในวาระ 3 เพื่อ เข้าพิจารณาในการประชุมแต่จะลงมติหรือไม่นั้น ยังต้องรอการประชุม

ประธานรัฐสภา ระบุว่าที่ประชุมฝ่ายกฎหมายสภามีความเห็นเปลี่ยนไป หลังจากมีคำคำวินิจฉัยกลางออกมา โดยเห็นว่าไม่ควรลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 และตาม คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ก็มีลักษณะไม่เห็นด้วยกับการลงมติวาระ 3 เพราะควรต้องทำประชามติก่อน แต่ยืนยันได้ว่าความเห็นของฝ่ายกฎหมายสภา ที่บรรจุญัตตินี้

ในการประชุม ไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับฝ่ายใด

ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการประสานและเสนอความเห็นเพื่อประกอบพิจารณาของประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เผยแพร่เอกสาร 3 แผ่น สรุปใจความ 4 หัวข้อหลักว่า การบรรจุวาระที่ เข้าประชุมเป็นไปตามระเบียบกฎหมาย แต่คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อ 11 มีนาคมที่ผ่านมา มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานรัฐตามมาตรา 211 วรรคสี่ ซึ่งรัฐสภาต้องปฎิบัติตาม และการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญเพิ่มเติมในวาระที่สาม ซึ่งบรรจุเป็นวาระการประชุมเร่งด่วน ในวันนี้ รัฐสภาไม่อาจลงมติได้

ในข้อที่ 4 ของเอกสารดังกล่าว อธิบายเพิ่มเติมว่ารัฐสภาไม่อาจลงมติในวาระที่สามของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับนี้ได้ เนื่องจากการจัดทำร่าง รัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติมฉบับนี้เป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีผลเป็นการยกเลิกฉบับ พุทธศักราช 2560 ซึ่งประชาชนยังไม่มีการออกเสียงประชามติก่อนว่า สมควรมีฉบับใหม่หรือไม่ ประธานสภา จึงขอหารือต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาว่า ฝ่ายนิติบัญญัติจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไรต่อไป เพื่อให้การดำเนินการขอบด้วย รัฐธรรมนูญและเป็นไปตามคำวินิจฉัย ของศาลรัฐธรรมนูญ

คุณอาจสนใจ

Related News