ไลฟ์สไตล์

เผยวิจัย สะเทือนสาย IF สูตรกิน 8 อด 16 ชม. เสี่ยงเป็นโรคหัวใจ เพิ่มขึ้น 91%

โดย thichaphat_d

20 มี.ค. 2567

803 views

ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ @manopsi ถึงเรื่องลดน้ำหนักด้วยการทำ Intermittent Fasting หรือไอเอฟ (IF) ซึ่งเป็นวิธีการกำหนดระยะเวลาการกิน เพื่อลดน้ำหนักที่กำลังเป็นที่นิยม โดยระบุว่า

“ข่าวช็อกวงการ IF วันนี้ เมื่อ American Heart Association ออก press release การศึกษาพบว่าการทำ IF สูตรกิน 8 ชั่วโมง อด 16 ชั่วโมง เสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 91%”


ที่มา : https://newsroom.heart.org/news/8-hour-time-restricted-eating-linked-to-a-91-higher-risk-of-cardiovascular-death?fbclid=IwAR16RQop6xkE6fahMXNL5Xs1m-7o5JBCh6jryAOTOs781QF5-gKLUKRtKi0

ศ.นพ.มานพ ยังเผยรายละเอียดไว้ดังนี้

1. การศึกษานี้เก็บข้อมูลจาก NHANES ซึ่งเป็น dataset ขนาดใหญ่และใช้กันมานาน ข้อมูลจาก dataset นี้ใช้ตอบคำถามวิจัยมากมายมายาวนาน ทีมเก็บข้อมูลและวิเคราะห์มีประสบการณ์และฝีมือดี


2. ข้อมูลนี้มีจุดด้อยคือเป็นการสำรวจวิธีการทำ IF 16:8 แบบ self assessment ด้วย questionnaire ของปีแรกที่เก็บข้อมูล ไม่สามารถยืนยันว่าทุกคนทำ IF 16:8 สูตรนี้สม่ำเสมอหรือไม่


3. จุดแข็งของการศึกษานี้คือ dataset ขนาดใหญ่เกือบ 2 หมื่นคน และตามข้อมูลนานเฉลี่ย 8 ปี และตามนานสุดถึง 17 ปี ในขณะที่ผลดีรายงานก่อนหน้านี้ล้วนเป็นผลระยะสั้น ไม่เคยมีข้อมูลยาวขนาดนี้


4. ข้อสังเกตอีกอันคืออายุเฉลี่ย 49 ปี (วัยกลางคน)


5. มีข้อมูลกลุ่มที่อดอาหารน้อยกว่านี้ด้วยคือมีระยะเวลากิน 8-10 ชม และมีโรคหัวใจร่วมด้วยพบว่าเสี่ยงเสียชีวิตเพิ่ม 66% ด้วย ตรงกันข้ามในคนไข้มะเร็งการไม่ทำ IF อัตราตายก็น้อยกว่า สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้นไปในทางเดียวกันหมด


6. ภาพรวมการทำ IF ไม่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต


7. การศึกษานี้เป็นระบาดวิทยา พบว่ามันสัมพันธ์กันแบบนี้จริง แต่การจะหาคำอธิบายหรือกลไกก็ต้องศึกษาใหม่ เก็บข้อมูลและวิเคราะห์แบบอื่น


ดังนั้นโดยสรุป ขอให้ aware(การรับรู้) ในข้อมูล และระมัดระวังในกลุ่มวัยกลางคนขึ้นไปและมีโรคร่วม อย่าไปเหมาหมดว่า IF แย่ และอย่าไปอวยแบบเหมาเช่นกันว่าดีเลิศ พิจารณากันรายคน


คุณอาจสนใจ

Related News