เศรษฐกิจ

กลุ่มโรงกลั่นฯ โต้ 'กรณ์' อ้างคนไทยโดนปล้นค่ากลั่นน้ำมันพุ่ง 10 เท่า ชี้หยิบแค่ข้อมูลบางส่วน

โดย petchpawee_k

21 มิ.ย. 2565

160 views

เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. กลุ่มอุตสาหกรรมโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ออกเอกสารชี้แจง ชี้แจงว่า ข้อมูลที่กรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคกล้า นำเสนอ เป็นการเลือกข้อมูลบางส่วนขึ้นมา เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด โดยค่าการกลั่นที่ยกมา ไม่ใช่ค่าการกลั่นที่โรงกลั่นได้รับ และยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพราะหากนำค่าการกลั่นที่โรงกลั่นได้รับจริง ในช่วงก่อนโควิดมาเปรียบเทียบ พบว่า สูงขึ้นเพียง 47 สตางค์ต่อลิตรเท่านั้น ไม่ได้สูงถึง 10 เท่า และสูงถึง 8 บาทต่อลิตร อย่างที่กล่าวอ้างกัน


นอกจากนี้ ต้นทุนการกลั่นไม่ได้คงที่ แต่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ที่สำคัญโรงกลั่นไม่สามารถกำหนดค่าการกลั่นได้ เนื่องจากค่าการกลั่นเป็นผลลัพธ์จากราคาเฉลี่ยของน้ำมันที่ขายจริงทุกชนิดตามสัดส่วนการผลิต หักด้วยราคาน้ำมันดิบที่ซื้อจริง รวมถึงต้องหักค่าพลังงานที่ใช้ในการกลั่น โดยจะปรับตัวเพิ่มขึ้น หรือลดลงตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้นๆ


ขณะที่ นายคุรุจิต นาครทรรพ ผู้อำนวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า โรงกลั่นแต่ละแห่งมี โครงสร้างการลงทุนและค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน ซึ่งยังไม่รวมถึงต้นทุนค่าซื้อน้ำมันดิบมากลั่นที่แต่ละโรงซื้อมาในเวลาที่ต่างกันและคุณภาพของชนิดน้ำมันดิบที่ซื้อก็อาจแตกต่างกันด้วย ค่าสำรองน้ำมันตามกฎหมาย ค่าบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงจากราคาขึ้นหรือลงของสต๊อกน้ำมัน cost structures จึงไม่เหมือนกัน


เพราะฉะนั้น การจะไปคุมราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นแต่ละโรงแบบจะใช้ระบบ cost plus จึงไม่อาจทำได้และไม่มีประเทศไหนเขาทำกัน รวมถึงการจะประกาศควบคุมราคาอย่างที่อดีตขุนคลังบางคนแนะนำ รัฐก็ไม่มีอำนาจตามกฎหมายในขณะนี้ที่จะไปคุมราคาขายส่งหรือขายปลีกน้ำมันด้วย หากทำไปก็จะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิด ทำให้ธุรกิจเขาอาจทบทวนลดการสั่งน้ำมันดิบเข้ามาผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ประเทศก็จะมีความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง


การจะไปขอให้แต่ละโรงเขาจัดสรรเงินก้อนแบ่งกำไรมาให้รัฐ โดยจะใช้ตัวชี้วัด GRM เป็นตัวกำหนดแบบไม่แน่นอน (arbitrary) ผู้บริหารเขาคงต้องคิดหนักเพราะอยู่นอกเหนือขอบเขตของกฎหมายและพันธกรณีใดๆ และจะต้องนำไปขอรับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทด้วย ซึ่งคณะกรรมการของบริษัทฯ ก็พึงมีหน้าที่ตัดสินใจโดยชอบบนหลัก Fiduciary Duty ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต หากคณะกรรมการบริษัทมหาชนใช้ดุลพินิจโดยมิได้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ยึดถือประโยชน์ขององค์กรเป็นที่ตั้งจนเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ ก็อาจถูกผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่หรือรายย่อยฟ้องร้องเอาได้


นอกจากนี้ โรงกลั่นทั้งหกโรงในประเทศไทย เป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการเปิดเผยงบการเงิน งบกำไรขาดทุนจากผลประกอบการเป็นรายปีและรายไตรมาสตามกฎกติกาอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ เสียภาษีทุกประเภทเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษี VAT ภาษีสรรพสามิต และภาษีที่ดิน ธุรกิจของแต่ละรายมิได้จำกัดอยู่แต่การนำเข้าหรือกลั่นอย่างเดียว กำไรของเขาจึงไม่ใช่มาจากเฉพาะการกลั่นเท่านั้น แต่ละโรงอาจมีการลงทุนขยายงานหรือปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ไม่พร้อมกัน


เช่นลงทุนติดอุปกรณ์คุมมาตรฐานคุณภาพน้ำมัน Euro 5 ตามนโยบายรัฐ เป็นต้น การจะไปขอให้แต่ละโรงเขาจัดสรรเงินก้อนแบ่งกำไรมาให้รัฐ โดยจะใช้ตัวชี้วัด GRM เป็นตัวกำหนดแบบไม่แน่นอน (arbitrary) ผู้บริหารเขาคงต้องคิดหนักเพราะอยู่นอกเหนือขอบเขตของกฎหมายและพันธกรณีใดๆ และจะต้องนำไปขอรับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทด้วย ซึ่งคณะกรรมการของบริษัทฯ ก็พึงมีหน้าที่ตัดสินใจโดยชอบบนหลัก Fiduciary Duty ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต หากคณะกรรมการบริษัทมหาชนใช้ดุลพินิจโดยมิได้เป็นไปตามกฎหมาย ไม่ยึดถือประโยชน์ขององค์กรเป็นที่ตั้งจนเกิดความเสียหายต่อธุรกิจ ก็อาจถูกผู้ถือหุ้นทั้งรายใหญ่หรือรายย่อยฟ้อง


กำไรสุทธิของโรงกลั่นที่เป็น บมจ. จะรู้แน่ว่ามีกำไรหรือขาดทุนก็ต้องรอให้ครบ 12 เดือนของปีปฏิทินเสียก่อน การใช้ตัวเลข GRM เพียงแค่สองสามเดือนที่ผ่านมาแล้วสรุปว่าโรงกลั่นมีกำไรมหาศาล หากในอีกหกเดือนหลังของปี 2565 นี้ราคาน้ำมันร่วงลงมา ค่า crack spreads ของดีเซลและเบนซินตกลงมาเพราะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลกหรือมีโรคระบาดใหม่เกิดขึ้นทำให้ต้องเกิดการ Lockdown รอบใหม่ โรงกลั่นกลายเป็นขาดทุนในรอบครึ่งปีหลัง เขาจะไปเรียกร้องขอเงินส้มหล่นนี้คืนจากรัฐได้ไหม


รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/KiBzFZ381Tg

คุณอาจสนใจ

Related News