ข่าวโซเชียล

'หมอปุยเมฆ' ลบโพสต์ ระบายงานหนัก ระบบพัง ก่อนยื่นลาออก - วงการแพทย์โพสต์วอน คืนหมอให้คนไข้บ้าง

โดย thichaphat_d

5 มิ.ย. 2566

5.7K views

ปุยเมฆ นภสร หรือ พญ.นภสร วีระยุทธวิไล นักร้อง นักแสดงสาว ควบคู่ไปกับการเป็นคุณหมอ ได้ยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการแล้ว หลังทุ่มเทเรียนมาตลอด 6 ปี ได้เป็น intern และแพทย์พี่เลี้ยงออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชบุรี

"เห็นช่วงนี้กระแสข่าว intern ลาออกจากระบบกันเยอะ ขอพูดในฐานะคนที่เพิ่งตัดสินใจลาออกมาละกัน งานในระบบหนักจริง แต่ถามว่าอยู่ในระดับทนได้มั้ย ทนได้ ไม่ตาย แต่ใกล้ตาย เสียทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต

วินาทีที่ตัดสินใจลาออก คือ ตอนนั้นวน med อยู่เวรทั้งคืน มาราวน์เช้าต่อ ชาร์ตกองตรงหน้าเกือบ 40 คนไข้นอนล้นวอร์ดเสริมเตียงไปถึงหน้าลิฟต์ ภาพหดหู่มาก แถมเหนื่อยและง่วง ราวน์คนเดียวทั้งสาย สตาฟฟ์มา 10 โมง เดินมาถาม ‘น้องยังราวน์ไม่เสร็จหรอ ต้องเร็วกว่านี้นะ' วินาทีนั้นตัดสินใจเลย ดอบบี้ขอลา

คือเข้าใจว่างานมันเยอะ หนักทั้ง intern ทั้ง staff แหละ (staff เองก็ไม่ไหว ลาออกก็เยอะ) และมันดูไม่มีทางออกให้กับปัญหานี้เลย รพ.ไม่มีแนวโน้มจ้างคนเพิ่ม ลดลงทุกปี บอกกระทรวงลดงบ คนทำงานหารหน้าที่กันจนไม่รู้จะหารยังไง เหมือนอยู่เป็นแรงงานทาสไปเรื่อยๆ อะ ไม่มีแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์

อันนี้ตลกมาก ตอนนั้นรู้สึกอยู่ในจุดอ่อนแอสุดๆ จนต้องเซลฟี่เก็บไว้รูปแรก งานเยอะจนท้อ น้ำตาไหลอยู่หน้าคอมตอนดูแล็บคนไข้ ไม่อยากให้คนเห็นว่าร้อง อายเค้า เลยหลบมาร้องในห้องน้ำหลังวอร์ด

รูปสอง โมเมนต์ในทุกเช้า ถามตัวเอง สู้ 6 ปีเพื่อมาเจอสิ่งนี้หรอ จึงเกิดภาพ 'หนูนิดไม่อยากไปทำงาน' 555 ถือว่าแชร์ให้ฟังละกัน มันก็มีทั้งคนที่ทนได้ กับทนไม่ได้ เราคงมี treshold ความเหนื่อยไม่สูงมาก

ไม่ชอบการพักผ่อนน้อยแล้วมาทำงาน รู้สึกตัวเองจะทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีเท่าที่ควร ก็คิดว่าถอยดีกว่า ไปหางานที่เหมาะกับเราข้างนอกทำดีกว่า ไม่เป็นข้าราชการก็ไม่ตายแก สู้!

ถือว่าแชร์ให้ฟังละกัน มันก็มีทั้งคนที่ทนได้ กับทนไม่ได้ เราคงมี treshold ความเหนื่อยไม่สูงมาก ไม่ชอบการพักผ่อนน้อยแล้วมาทำงาน รู้สึกตัวเองจะทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพที่ดีเท่าที่ควร ก็คิดว่าถอยดีกว่า ไปหางานที่เหมาะกับเราข้างนอกทำดีกว่า ไม่เป็นข้าราชการก็ไม่ตายแก สู้

เราเชื่อว่าอนาคต อย่างน้อยวงการหมอก็จะไม่ toxic เท่าเหมือนที่ผ่านๆมา น่าจะน่าอยู่มากขึ้น(ในด้านสังคม) เพราะเท่าที่สัมผัส ไม่ค่อยพบเจอถ้อยคำบั่นทอนจาก young staff เลย เหมือนคนรุ่นใหม่มีค.เห็นอกเห็นใจ ใจเขาใจเรากันมากขึ้นอ่ะ ทั้งกับคนทำงานด้วยกันและกับคนไข้ พี่ๆเป็นหมอที่ดีมากจริงๆ

เดี๋ยวจะหาว่าพูดแต่เรื่องไม่ดี เอาเป็นว่าขอแชร์เรื่องดีๆบ้างแล้วกัน ส่วนนึงที่ยังทำให้รักคนในระบบอยู่คือ พี่ๆ young staff เป็น support system ที่ดีสุดๆ งานตัวเองก็เยอะ staffจบใหม่คือเดอะแบก รพ.มากๆ แต่ก็ยังใส่ใจน้องๆ จริงๆข้อความเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราอยู่จนจบปีเลย

ไม่ได้เจ็บกับทวิตนี้มาก เพราะ

1. ถ้าศึกษาเรื่องของเราดีๆก่อนตัดสิน จะรู้ว่าเราจบหมอรังสิตมา ค่าเทอมจ่ายเองทุกบาททุกสตางค์ ค่าสอบlicenseก็จ่ายเอง ฉะนั้นการลาออกของเราไม่มีผลอะไรกับงบรัฐฯ อยู่แล้ว

2. จบจากที่ไหนก็ไม่ควรเอาคำว่า “เสียสละ” มากดดันให้ต้องทำงานหนัก we’re not machines”ในเวลาต่อมา ปุยเมฆ นภสร ได้ลบทวิตดังกล่าว พร้อมเผยว่า “ขออนุญาตลบทวิตเรื่องราวที่กำลังเป็นประเด็นอยู่นะคะ เพราะตอนนี้เรื่องเริ่มลามไปถึงพี่ๆ staff ผู้ร่วมงานบางท่าน ซึ่งพี่ๆ ส่วนใหญ่ที่ได้ทำงานด้วยน่ารัก เราไม่อยากให้ใครต้องมาโดนร่างแหไปด้วยเลย แค่นี้ก็เครียดกันพอแล้ว ขอจบเรื่องราวนี้ ฝากไว้แค่ว่า ระบบมีปัญหาค่ะ คนข้างในเหนื่อยกันมากๆ”

-----------------------------

เพจเฟซบุ๊ก สหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน ออกมาโพสต์เล่าเรื่องราวชีวิตของหมอ ที่ต้องทำงาน จนรู้สึกว่า “เหมือนเร่งวันตายมากๆ” โดยเจ้าของเพจดังกล่าวเป็นแพทย์หญิง วัย 30 ปี ได้เล่าเรื่องราวชีวิต ตั้งแต่เรียนจบจนเข้ามาเป็นพนักงานในแผนกหนึ่ง ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่สิ่งที่พบในชีวิตการทำงานคือภาระงานที่หนักมาก

ซึ่งภาระงานที่ต้องรับมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นในเวลาราชการ ต้องตรวจผู้ป่วย พอนอกเวลาราชการ ต้องอยู่เวร ซึ่งเดือนหนึ่ง ต้องอยู่ประมาณ 9-15 เวร ขึ้นอยู่กับวันหยุดของแต่ละเดือน บางครั้งลงเวรดึกในเวลา 08.30 น. ต้องมีประชุมต่อ บางครั้งต้องมีสอนนักศึกษาแพทย์ เก็บข้อมูลตัวชี้วัด และภาระงานอื่นๆ อีกมากมาย จนบางครั้งรู้สึกไม่สบายเวียนหัว เนื่องจากวันหยุดมีน้อย

แต่เหตุการณ์ที่หนักสุด ที่แพทย์หญิงคนนี้เจอ คือไม่ได้นอน หลังจากลงเวรต้องขับรถไปประชุมต่อที่ต่างจังหวัด ซึ่งขณะขับรถไปนั้นก็เกิดอุบัติเหตุรถคว่ำ จากหมอต้องมาเป็นผู้ป่วย เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลแทน

คุณหมอ ยังบอกว่า ภาระงานอื่นๆ มากเกินไป ทำให้เวลาที่ต้องเอามารักษา ตรวจผู้ป่วย รวมถึงการสอนแพทย์ฝึกหัด เพื่อให้ได้รับการเพิ่มทักษะอย่างเต็มที่ ก็ลดน้อยลง หลายครั้งที่หมอได้รับการติดต่อจากโรงพยาบาลเอกชน เพื่อไปทำงาน แต่ก็ต้องปฏิเสธไป เพราะยังอยากพัฒนาโรงพยาบาลที่ตนทำอยู่ ให้ดีขึ้นกว่านี้

“ตอนนี้รู้สึกว่าใช้ชีวิตเหมือนเร่งวันตายมากๆ เห็นคำขวัญที่ว่า คืนครูให้นักเรียน แล้วรู้สึกสะท้อนใจค่ะ อยากให้คืนหมอให้คนไข้บ้าง” พร้อมติดแฮชแท็ก #ลดชั่วโมงการทำงานแพทย์

ต่อมา นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจาก นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้เป็นประธานการประชุมวางแนวทางดูแลการเพิ่มพูนทักษะแพทย์ผู้ทำสัญญาชดใช้ทุนรัฐบาล ที่ไปปฏิบัติงานในเขตสุขภาพต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และโรงพยาบาลที่เป็นสถาบันฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะ 116 แห่ง ซึ่งกระจายอยู่ทุกเขตสุขภาพ เพื่อให้แพทย์ที่ไปปฏิบัติงานชดใช้ทุนในพื้นที่ได้มีโอกาสเพิ่มพูนประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยที่หลากหลาย รวมถึงได้รับการถ่ายทอดทักษะความชำนาญจากแพทย์รุ่นพี่ที่ประจำอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆ

โดยให้กำชับทุกแห่งให้ความสำคัญ 2 ส่วน คือ

1) ความเป็นอยู่ ให้ดูแลทั้งเรื่องที่พัก สิ่งอำนวยความสะดวก

2) การเพิ่มพูนทักษะ ต้องจัดการเรียนการสอน ภายใต้การดูแลของแพทย์ประจำโรงพยาบาลตามแนวทางที่แพทยสภากำหนด จัดแพทย์ประจำดูแลควบคู่ทุกเวร โดยเฉพาะการปฏิบัติงานที่ห้องฉุกเฉิน ทั้งนี้ จะมีการส่งข้อมูลข้อดีข้อเสียที่ได้รับมาเพื่อสะท้อนให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้รับทราบด้วย

ในปีนี้ บางเขตสุขภาพได้รับจัดสรรแพทย์ลดลง ซึ่งหากดูข้อมูลย้อนหลังจะพบว่าเป็นเขตสุขภาพที่เคยได้มากมาก่อน อย่างไรก็ตาม การจัดสรรแพทย์ของปีนี้ยังไม่เสร็จสิ้นกระบวนการ โดยรอบปกติที่จัดสรรไปแล้ว ประกอบด้วย แพทย์ทั่วไปจับสลาก 685 คน แพทย์โครงการผลิตแพทย์เพิ่ม 885 คน แพทย์หลักสูตรเวชศาสตร์ครอบครัว 119 คน แพทย์พี่เลี้ยง 166 คน แพทย์สังกัดกรมฯ 6 คน  ข้าราชการลาศึกษา 19 คน แพทย์สังกัดคณะแพทยศาสตร์ฝากฝึก (แพทย์นอกสังกัดฝากฝึก) 134 คน และยังมีแพทย์ที่อยู่ระหว่างการบรรจุรอบพิเศษ เมื่อมีคุณสมบัติครบถ้วน ซึ่งเมื่อรวมแพทย์ทั้งหมดที่จะจบการฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะในปีที่ 1 แล้ว จะสามารถเติมเต็มความขาดแคลนแพทย์ของโรงพยาบาลชุมชนได้มากกว่าร้อยละ 90  

ซึ่งทางเพจสหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน ก็ได้แชร์ข่าวจาก สธ. ดังกล่าว พร้อมระบุว่า "ทาง สหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน ขอบคุณสำหรับคำชี้แจงจากกระทรวงสาธารณสุข ที่เร่งแก้ไขปัญหาการกระจายตัว และรับทราบว่ามีปัญหาขาดแคลนแพทย์

หลังจากที่เราได้รับเเจ้งจำนวนแพทย์ใช้ทุนที่ลดลงในแต่ละโรงพยาบาล (โควต้าจับฉลาก)ซึ่งเป็นปัญหาหนักในโรงพยาบาลศูนย์ที่รับผู้ป่วยหนักและจำนวนมากของแต่ละจังหวัด เราได้รับการร้องเรียนเรื่องจำนวนเวรที่เพิ่มขึ้น ตอนนี้ตัวเลขสูงสุดที่ได้รับร้องเรียนคือ 23 เวร/เดือน ซึ่งเราหวังว่าตัวเลขนี้จะลดลงตามมาตรการที่ท่านรองปลัดได้ชี้แจง

ทางเราจึงอยากจะเรียกร้องให้จำนวนแพทย์ปฏิบัติงานไม่ได้อิงจากจำนวนเฉลี่ยของประชากรเพียงอย่างเดียว แต่ต้องการให้เก็บจำนวนชั่วโมงทำงานของแพทย์แต่ละท่านเพื่อหาค่าเฉลี่ยทั้งหมด และเร่งเติมในพื้นที่ที่ต้องทำงานจำนวนชั่วโมงมากก่อน

รวมถึงการตามค่าตอบแทนไม่ให้ล่าช้า เพราะจำนวนงานที่หนัก สภาพการทำงานที่เปลี่ยน การไม่มีค่าตอบแทนเลย และรอคอยอย่างไม่มีความแน่ใจว่าจะได้รับเมื่อไหร่ ไม่สามารถจูงใจให้ไม่ว่าอาชีพไหนทำงานต่อไปได้

สหภาพแพทย์ผู้ปฏิบัติงาน เป็นการรวมตัวจากคนทำงานด่านหน้า ซึ่งมีฝันที่ธรรมดามากคือการได้พักผ่อนเวลาที่ล้า ได้กินข้าวตรงเวลา ได้ค่าตอบแทนทุกเดือนและเหมาะสม ได้มีวันหยุดพักบ้าง เพื่อที่เราจะได้มีโอกาสซักนิดในการพบกับครอบครัวของเราในวันสำคัญ และเราอยากมีสุขภาพที่ดีได้ยืนยาวพอที่เราจะมีอายุเฉลี่ยนานเท่าคนทั่วไป

พวกเราต้องการให้พวกท่าน ระดับบริหารได้เห็นปัญหาของเราและแก้ไข เพื่อให้เราได้ทำงานบริการประชาชนได้อย่างเต็มที่


รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/cwBd43BCmuo

คุณอาจสนใจ

Related News