ข่าวโซเชียล

ระบาดหนัก! เพจดังเตือน 'วัยรุ่นลิ้นฟ้า' ชี้ฤทธิ์แรงกว่ายาบ้า-ยาไอซ์ ขายว่อนเน็ต เสพหนักเท่ากับนัดยมทูต

โดย petchpawee_k

16 ส.ค. 2565

161 views

วานนี้ 15 ส.ค. 65 เพจอีซ้อขยี้ข่าว โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า วัยรุ่นลิ้นฟ้า ระบาดอย่างหนักในวัยรุ่นกับการใช้ยาชนิดหนึ่งฤทธิ์แรงมากกว่ายาบ้า ยาไอซ์ ใช้เกิน 1 เม็ดเสียชีวิตไปแล้วหลายคน ตอนนี้วางขายเกร่อว่อนเน็ต แผงหนึ่งไม่ถึงร้อย ออกฤทธิ์แรงช่วยให้เคลิบเคลิ้ม ล่องลอย เกิดภาพหลอน รู้สึกดีเมื่อมีคนสัมผัส เกิดอารมณ์ ไม่ยิ้มไม่หัวเราะ หากเสพหนักเท่ากับนัดยมฑูตมาสนุกด้วยโดยไม่ต้องรอจบงานก็รับตัวไป


วัยรุ่นลิ้นฟ้า กลับมาพูดถึงอีกครั้ง หลังตำรวจจับกุมนาย "มอส คลองขวาง"  ที่มีพฤติกรรมชอบใช้ความรุนแรงและชอบเคี้ยวยาโรฮิบนอล 542 หรือยาลิ้นฟ้าตลอดเวลา จนเกิดอาการหลอน ภายหลังกลุ่มเพื่อนไม่อยากคบค้าสมาคมด้วย จึงพยายามตีตัวออกห่าง ประกอบกับมีเรื่องขัดแย้งกันจนนำไปสู่การก่อเหตุยิง 16 นัด จนมีผู้ได้รับบาดเจ็บ


การใช้ยาโรฮิบนอล 542 ถูกสังคมตั้งคำถามว่า มีส่วนทำให้ผู้ก่อเหตุรายนี้ มีพฤติกรรมประสาทหลอนร่วมด้วยหรือไม่ เนื่องจากยาชนิดนี้เป็นยาควบคุม และจัดอยู่ในวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 พบมีการลักลอบขายยาชนิดนี้เป็นจำนวนมาก ในกลุ่มวัยรุ่น


ด้าน นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงยา โรฮิบนอล 542 หรือยาลิ้นฟ้า ว่า ยาโรฮิบนอล (Rohypnol) เป็นชื่อการค้าของยาในกลุ่มฟลูนิแทรซิแพม จัดอยู่ในกลุ่มวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ถือเป็นยาควบคุม ไม่มีขายทั่วไป โดยระบุว่า


ต้องเป็นการจ่ายยาโดยแพทย์เท่านั้น โดย รพ.หรือสถานพยาบาลใดจ่ายยาดังกล่าวต้องทำรายงานมาที่ อย. ทั้งนี้ ยาโรฮิบนอลออกฤทธิ์ทำให้นอนหลับคล้ายกับยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) ดังนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายยาโดยจิตแพทย์ เพื่อดูแลรักษาผู้ป่วย 


เมื่อถามว่า มีการขายยานี้ในออนไลน์ ผู้ซื้อหวังมาใช้ในทางที่ผิดวัตถุประสงค์ นพ.สุรโชค กล่าวว่า เป็นยาที่ไม่อนุญาตให้ขายทั่วไปแม้กระทั่งในร้านขายยา ดังนั้นข้อสำคัญคือยาที่ขายในอินเทอร์เน็ตจะเป็นของจริงหรือไม่ เพราะหลายครั้งผู้ที่ขายอาจนำยาชนิดอื่นมาผสม ใส่สีให้เหมือนแล้วอ้างว่าเป็นยาโรฮิบนอล


เมื่อถามอีกว่า ยาดังกล่าวออกฤทธิ์ให้นอนหลับ แล้วจะก่อให้เกิดอาการหลอนอย่างไร นพ.สุรโชคกล่าวว่า ต้องดูว่าเป็นยาจริงหรือไม่ อาจเป็นยาอื่นที่ถูกหลอกขายมา รวมถึงอาจเป็นการใช้ที่ไม่ถึงโดสนอนหลับ ก็จะเกิดอาการสะลึมสะลือ แต่ที่สำคัญต้องดูว่าใช่ยาจริงหรือไม่ เพราะทางการแพทย์ก็ไม่ได้ใช้เยอะ และต้องมีการรายงานการใช้ด้วย



คุณอาจสนใจ

Related News