ข่าวโซเชียล

เปิดเหตุผล ‘สนามบินดอนเมือง’ อันตรายติดอันดับ 26 ของโลก

โดย thichaphat_d

30 มิ.ย. 2566

1.7K views

จากกรณีเกิดอุบัติเหตุที่สนามบินดอนเมือง บริเวณทางเลื่อนในอาคารผู้โดยสาร จนเป็นเหตุให้มีผู้โดยสารหญิงภายในสนามบินได้รับบาดเจ็บสาหัส ขาซ้ายขาด จนเป็นเหตุสะเทือนใจของผู้คนในสังคม

หลังเรื่องราวเผยแพร่ไป ต่อมามีการเปิดเผยข้อมูลว่า สนามบินดอนเมือง ของไทย ติดอันดับ 26 จากหนึ่งใน 29 สนามบินที่อันตรายมากที่สุดในโลก จากการจัดอันดับเว็บไซต์ด้านการเดินทางชื่อดัง The Boutique Adventurer



ทั้งนี้ การจัดอันดับของ The Boutique Adventurer ได้แบ่งเกณฑ์จาก ความอันตรายทางสภาพภูมิอากาศ ความอันตรายที่เกิดจากสภาพของรันเวย์ ความอันตรายจากทำเลที่ตั้ง และความอันตรายจากปัจจัยทางการเมืองและเหตุการณ์รุนแรงในสังคม

โดย The Boutique Adventurer ระบุว่า สนามบินดอนเมืองเป็นหนึ่งในสนามบินที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเปิดดำเนินการครั้งแรก วันที่ 27 มีนาคม 2457 ก่อนจะปิดตัวชั่วคราวในปี 2549 และเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ ก่อนจะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในปี 2555



สำหรับทำเลที่ตั้ง บริเวณรอบข้างมีสนามกอล์ฟตั้งอยู่ระหว่างรันเวย์ 2 รันเวย์ของสนามบินดอนเมือง อาจเพิ่มความรู้สึกอันตรายให้นักกอล์ฟเข้าไปอีกด้วย

และเมื่อย้อนไปเมื่อปี 2011 เคยเกิดเหตุอุทกภัย ทำให้เที่ยวบินในประเทศหลายเที่ยว ไม่สามารถขึ้นบินหรือลงจอด เนื่องจากหลายรันเวย์เต็มไปด้วยน้ำ

นอกจากนี้ สนามบินดอนเมือง เคยติดธงแดงเรื่องมาตรฐานความปลอดภัย ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล จากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ หรือ ICAO ซึ่งในภายหลังถูกปลดธงแดงออกเมื่อปี 2020



สำหรับการจัดอันดับสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลก (29 Most Dangerous Airports in the World) ดังนี้

1. Kansai International Airport (ญี่ปุ่น)

2. Barra International Airport (สกอตแลนด์)

3. Wellington International Airport (นิวซีแลนด์)

4. Princess Juliana International Airport (เซนต์มาร์ติน)

5. Lukla Airport (เนปาล)

6. Paro Airport (ภูฏาน)

7. Santos Dumont Airport (บราซิล)

8. McMurdo Station (แอนตาร์กติกา)

9. Svalbard Airport (นอร์เวย์)

10. Gustaf III Airport (แคริบเบียน)

11. Saba Airport (ดัตช์ แคริบเบียน)

12. Gisborne Airport (นิวซีแลนด์)

13. Madeira Airport (โปรตุเกส)

14. Narsarsuaq Airport (กรีนแลนด์)

15. Gibraltar International Airport (ยิบรอลตาร์)

16. San Diego International Airport (แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐฯ)

17. Toncontín International Airport (ฮอนดูรัส)

18. Aspen/Pitkin County Airport (โคโลราโด, สหรัฐฯ)

19. Alejandro Velasco Astete Cusco International Airport (เปรู)

20. Kai Tak Airport (ฮ่องกง)

21. Agatti Aerodrome/Airport (อินเดีย)

22. Cleveland Hopkins International (คลีฟแลนด์, สหรัฐฯ)

23. Telluride Regional Airport (โคโลราโด, สหรัฐฯ)

24. Congonhas-São Paulo Airport (บราซิล)

25. Courchevel Airport (ฝรั่งเศส)

26. Don Mueang International Airport (ไทย)

27. Tioman Island Airport (มาเลเซีย)

28. Shimla Airport (อินเดีย)

29. Damascus International Airport (ซีเรีย)

คุณอาจสนใจ

Related News