สังคม

สหพันธ์ครูเชียงราย จี้ 'ยกเลิกครูเวร' เลขาฯ กพฐ. แจงยังทำไม่ได้ ต้องรอครม.อนุมัติคืนภารโรง

โดย chiwatthanai_t

22 ม.ค. 2567

42 views

วันที่ 22 มกราคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.อนวัช อุ่นกอง ประธานสหพันธ์ครูเชียงราย แถลงการพร้อมกับ สหพันธ์ครูเชียงราย เขต 1-4 เนื้อหาสรุป 3 ประเด็นสำคัญของครู

1. การยกเลิกให้อยู่เวรรักษาความปลอดภัย ซึ่งไม่ใช่หน้าที่หลักของครูและอาจส่งผลต่อความผิดทางละเมิดต่อครูได้

2. บรรจุครูที่เป็นพนักงานราชการ และครูอัตราจ้างที่ปฏบัติหน้าที่ครูผู้สอนเกิน 10 ปี ได้รับการบรรจุแต่งตั้งโดยวิธีการประเมินผลปฏิบัติงานไม่ต้องมีการสอบแข่งขัน

3. จัดสรรตำแหน่งพนักงานราชการในตำแหน่งนักการภารโรง ครูธุรการเพื่อความก้าวหน้าและมั่นคงในชีวิต


ดร.อนวัช อุ่นกอง ประธานสหพันธ์ครูเชียงราย กล่าวว่าเหตุการณ์ที่เชียงรายไม่ได้ถือว่าเป็นเหตุการณ์แรกที่เกิดขึ้นยกตัวอย่างยังพื้นที่ของชายแดนภาคใต้ครูจูหลิง ปงกันมูล ก็เคยเกิดเหตุการณ์แบบลักษณะมาแล้ว ซึ่งการแก้ไขปัญหาในครั้งนั้นก็ให้เจ้าหน้าที่มาอยู่เวรพร้อมกับครูและหลังจากนั้นทุกอย่างก็เหมือนเดิม เช่นเดียวกับที่เชียงรายเมื่อเกิดเหตุการณ์ก็จะให้ทุกหน่วยงานเข้ามาช่วยกันดูแลแต่ทุกอย่างเมื่อผ่านไปก็จะกลับมาลักษณะคล้ายเดิมๆอีก จะเป็น วัฏจักร ที่ไม่รู้จบหากไม่มีการแก้ไขเป็นจริงจัง


ซึ่งทางสหพันธ์ครูเชียงรายก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมซึ่งทางสหพันธ์ครูเชียงรายก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมต้องให้ครูอยู่เวรเสาร์ อาทิตย์ ทั้งที่เป็นวันหยุดราชการ และก็ไม่มีใครมาติดต่อราชการอยู่แล้ว ตลอดระยะเวลาทั้ง5วันทำการก็ได้เป็นครูสอนและเตรียมการการสอนทุกวัน


ส่วนการช่วยเหลือครูที่ได้รับบาดเจ็บในครั้งนี้ของจังหวัดเชียงรายทางสหพันธ์ครูเชียงรายพร้อมให้การช่วยเหลือทุกด้านอย่างเต็มที่


ด้าน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือ กพฐ. แจง ยกเลิกมติครม.เกี่ยวกับการจัดเวรรักษาการณ์ไม่ได้ เพราะเป็นระเบียบผูกพันสถานที่ราชการหลายกระทรวง แต่การยกเลิกให้ครูมาอยู่เวรต้องใช้เวลา รอครม. อนุมัติคืนภารโรงกว่า 14,000 ตำแหน่งให้โรงเรียน


ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวถึง เหตุการณ์คนร้ายบุกทำร้ายครูหญิงอยู่เวรรักษาการณ์โรงเรียนที่จังหวัดเชียงราย จนเกิดกระแสในโซเชียล จนติดแฮชแทค "ยกเลิกให้ครูมาอยู่เวร กลางวันและกลางคืน" ว่า ต้องใช้เวลายกเลิกครูอยู่เวร เพราะเป็นระเบียบรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี รวมถึงมติครม.ให้ครอบคลุมทุกหน่วยราชการ ต้องจัดเวรยามรักษาความปลอดภัย สถานที่ราชการ เพื่อดูแลทรัพย์สินป้องกันภัยต่างๆ - เลขาธิการ กพฐ. อธิบายว่า มติครม.มาช่วยขยายความให้ กรณีที่ส่วนราชการใด มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยแล้ว ไม่ต้องจัดคนอยู่เวรยาม


ซึ่งโรงเรียนสพฐ.มีกว่า 30,000 โรง ไม่มีเจ้าหน้าที่รปภ.จึงต้องเป็นไปตามระเบียบมีครูมาอยู่เวร หากทรัพย์สินหาย ครูก็จะถูกสอบสวนอีก - ส่วนกระแสเรียกร้องให้ใช้เทคโนโลยีกล้องวงจรปิดมาใช้แทนครูอยู่เวร เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ตอนนี้ยังไม่สามารถทำได้ เพราะกล้องวงจรผิดแค่จับภาพ แต่การอยู่เวรก็เพื่อเจตนา คือ ป้องกันไม่ให้เกิดภัยต่างๆ ในทรัพย์สินของราชการที่ต้องดูแล แต่ในอนาคตอาจจะปรับระเบียบรักษาความปลอดภัย ให้ใช้กล้องวงจรปิดได้ แต่เกิดเหตุครูก็ต้องมาไล่กล้องดู


ขณะเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการกำลังขออนุมัตินักการภารโรงต่อครม.อยู่ 14,000 กว่าโรงเรียน อยู่ระหว่างขออนุมัติงบประมาณ หัวละ 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งจะเร่งรัดให้เร็วที่สุด เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระครู


ว่าที่ร้อยตรี ธนุ บอกด้วยว่า วันนี้ได้ลงนาม ส่งหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย ขอให้สนุบสนุนหน่วยงานปกครองในพื้นที่ หรือผู้นำชุมชนช่วยจัดเวรยามดูแลความปลอดภัยในโรงเรียน และช่วยเฝ้าระวัง ผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงรุนแรงด้วย ซึ่งเป็นแนวทางระหว่างรอครม.และสำนักงานประมาณอนุมัติอัตรานักการภารโรงกลับคืนโรงเรียน




รับชมผ่านยูทูบ :  https://youtu.be/U06bBd-L_hs

คุณอาจสนใจ