สังคม

อัยการเบรกหมายจับ “หม่องชิตตู” เเนะสอบพยานหลักฐานเพิ่มเติมให้รัดกุมก่อน

โดย chutikan_o

12 ก.พ. 2568

186 views

“อัยการคดีค้ามนุษย์” ร่วมสอบคดีคอลเซ็นเตอร์ เบรกหมายจับ “ดีเอสไอ”เเนะสอบพยานหลักฐานเพิ่มเติมรัดกุมก่อนขอออกหมายจับ“หม่องชิตตู”หวั่นศาลไม่ให้ เปิดขั้นตอนออกหมายจับ-ส่งผู้ร้ายข้ามเเดน


จากกรณีที่ร้อยตำรวจเอก สุรวุฒิ รังไสย์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วยคณะทำงานได้เข้าหารือกับ นายศักดา คล้ายร่มไทร อัยการพิเศษฝ่ายสำนักงานคดีค้ามนุษย์ 1 เพื่อหารือกรณีที่จะยื่นคำร้องขอออกหมายจับผู้ต้องหาซึ่งคาดว่าประกอบด้วย พันเอก หม่องชิตตู , พันโท โมเต โธน และ พันตรี ทิน วิน ในความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์คอลเซนเตอร์


มีรายงานว่าพนักงานอัยการคดีค้ามนุษย์ซึ่งเป็นอัยการร่วมสอบสวนในคดีนอกราชอาณาจักร ได้หารือเบื้องต้นพบว่า พยานหลักฐานน่ายังไม่เพียงพอที่จะให้ศาลออกหมายได้ จึงเห็นควรให้ดีเอสไปสอบสวนหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมให้รอบคอบรัดกุม ก่อนนำมาพิจารณาที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอออกหมายจับต่อไป


สำหรับพฤติการณ์ที่ DSI นำเข้าหารือกับพนักงานอัยการในเรื่องขออกหมายจับนั้น เนื่องด้วยเป็นกรณีที่กลุ่มผู้ต้องหามีการนำชาวอินเดียไปทำการค้ามนุษย์และบังคับทำงานเป็นแก๊งคอลเซนเตอร์ที่บ่อนเฮงเชง เมืองเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ ฝั่งตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ประเทศไทย แต่ทางการไทยสามารถช่วยกลับมาได้ 7 ราย โดยพบว่าทั้ง 7 รายมีลักษณะพฤติการณ์ถูกหลอกโดยใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน คล้ายคลึงกับกรณีซิง ซิง นักแสดงชาวจีนที่ถูกหลอกและทางการไทยสามารถช่วยเหลือได้ก่อนหน้านี้ จึงทำให้ต้องพิจารณาว่าจะดำเนินคดีขบวนการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับใครบ้าง


ขณะที่มีรายงานจาก DSI ว่า คดีนี้อาจจะมีชาวไทยเกี่ยวข้องประมาณ 2 ราย มีบทบาทเป็นกรรมการบริษัทและพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งที่ให้บริการจัดทำรีสอร์ตทั้งในไทยและในเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ โดยเกี่ยวขัองกับขบวนการนำส่งคนไปทำงานแก๊งคอลเซนเตอร์


เเหล่งข่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุด ระบุว่า กรณีเรื่องการขอออกหมายจับเป็นเรื่องระหว่างพนักงานสอบสวน กับศาล ที่พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องพร้อมเอกสารพยานหลักฐานให้ศาลพิจารณาออกหมายจับ ซึ่งเมื่อศาลพิจารณาออกหมายจับเเล้ว ทางพนักงานสอบสวนก็จะสามารถปฏิบัติตามหมายได้ ในกรณีที่ตัวผู้ต้องหาตามหมายจับหลบหนีอยู่ในต่างประเทศ ทางพนักงานสอบสวนผู้ร้องขอออกหมายจับจะมีการประสานขอออกหมายเเดง (อินเตอร์โพล) กับชาติสมาชิกอินเตอร์โพลทั้ง 194 ประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ที่จะขึ้นในประเทศสมาชิก เมื่อข้อมูลการออกหมายเเดงกระจายไปยังประเทศสมาชิก เเละพบว่าผู้ที่ถูกออกหมายจับนั้นพำนักอยู่ในประเทศนั้น ตำรวจในประเทศปลายทางก็จะตามจับกุมตัว ในกรณีที่มีการจับกุมตัวได้ทางประเทศปลายทางก็จะมีการกุมตัวไว้ตามหมายจับชั่วคราวเเละเเจ้งประเทศต้นทางที่เป็นสมาชิกให้ทำเรื่องขอส่งผู้ร้ายเเดนส่งมาโดยการเเจ้งจะเเจ้งผ่านอินเตอร์โพล ซึ่งเมื่อได้รับเเจ้งจากอินเตอร์โพลก็จะทำเรื่องมายัง อัยการสูงสุดในฐานะผู้ประสานงานกลาง ตั้งเเต่เเรกเริ่มทุกขั้นตอนจะส่งผ่านอัยการสูงสุดเพื่อทราบว่าบุคคลตามหมายจับถูกกุมตัวเเละพำนักในประเทศใด


เมื่อได้รับทราบพิกัด หรือควบคุมตัวเเล้วทางอัยการสูงสุดจะเป็นผู้ประสานงานกลางในการทำเรื่องขอส่งผู้ร้ายข้ามเเดนไปยังกระทรวงการต่างประเทศเพื่อขอตัวผู้ร้ายข้ามเเดนตามหมายจับมาดำเนินคดีในไทย


การขอส่งผู้ร้ายข้ามเเดนจะมีการขอได้ 2 เเบบคือกรณีมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามเเดนจะพิจารณาจากการมีสนธิสัญญาที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศ เเละ 2 กรณีที่ไม่มีสนธิสัญญาก็จะมีหลักสัญญาต่างตอบเเทนโดยการทำคำมั่นสัญญาว่าหากส่งตัวผู้ร้ายข้ามเเดนมายังประเทศต้นทางในครั้งหน้าก็จะดำเนินการต่างตอบเเทนเช่นเดียวกัน การร้องขอให้มีการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน มิใช่ว่าจะได้รับความร่วมมือทุกครั้งไป เเล้วเเต่ประเทศปลายทางจะเป็นผู้พิจารณา ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะใช้ศาลในประเทศนั้นเป็นผู้พิจารณาคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามเเดน เเละจะมีการเปิดโอกาสให้มีการอุทธรณ์คำพิพากษาได้ ตรงนี้เเต่ละประเทศก็จะมีขั้นตอนระยะเวลาอยู่ อย่างไรก็ตามในบางประเทศการจะส่งผู้ร้ายข้ามเเดนเเม้ศาลจะอนุญาตเเล้วก็ยังต้องได้รับอำนาจกลั่นกรองโดยฝ่ายบริหาร หรือที่เรียกว่า executive review ที่ฝ่ายบริหารอาจจะต้องมาพิจารณาที่ผ่านมา เคยมีกรณีที่ศาลอนุมัติเเล้วเเต่ฝ่ายบริหารประเมิณเเล้วมีเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศพิจารณาเเล้วไม่ส่งก็มี เช่นเป็นกรณีที่ บางทีผู้ร้ายเป็นที่ต้องการขอตัวของหลายประเทศหากส่งไปให้ประเทศใดประเทศหนึ่งเเล้วจะกระทบความสัมพันธ์ได้


ซึ่งคดีดังกล่าวที่จะมีการปรึกษาในเรื่องการขอออกหมายจับมีรายงานว่า เป็นคดีเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ชาวอินเดีย เมื่อปี 2565 สำหรับพฤติการณ์ที่ DSI จะนำหารือกับพนักงานอัยการนั้น เนื่องด้วยเป็นกรณีที่กลุ่มผู้ต้องหามีการนำชาวอินเดียไปทำการค้ามนุษย์และบังคับทำงานเป็นแก๊งคอลเซนเตอร์ที่บ่อนเฮงเชง เมืองเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ ฝั่งตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ประเทศไทย แต่ทางการไทยสามารถช่วยกลับมาได้ 7 ราย โดยพบว่าทั้ง 7 รายมีลักษณะพฤติการณ์ถูกหลอกโดยใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่าน คล้ายคลึงกับกรณีซิง ซิง นักแสดงชาวจีนที่ถูกหลอกและทางการไทยสามารถช่วยเหลือได้ก่อนหน้านี้ จึงทำให้ต้องพิจารณาว่าจะดำเนินคดีขบวนการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับใครบ้าง


ก่อนหน้านี้มีรายงานจาก DSI ว่า คดีนี้อาจจะมีชาวไทยเกี่ยวข้องประมาณ 2 ราย มีบทบาทเป็นกรรมการบริษัทและพนักงานบริษัทแห่งหนึ่งที่ให้บริการจัดทำรีสอร์ตทั้งในไทยและในเมืองเมียวดี ประเทศเมียนมาร์ โดยเกี่ยวขัองกับขบวนการนำส่งคนไปทำงานแก๊งคอลเซนเตอร์


ประเด็นสำคัญที่จะทำให้ศาลออกหมายจับได้นั้นอยู่ที่ “พยานหลักฐาน”ที่ทำให้ศาลเชื่อได้ว่าน่าจะมีการกระทำผิด


รายงานข่าวยังระบุว่าสำหรับคดีหากมีการดำเนินคดีนี้เป็นคดีนอกราชอาณาจักร ที่กฎหมายให้อัยการสูงสุดเป็นพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบหรือมีอำนาจตั้งพนักงานสอบสวน ซึ่งโดยปกติเมื่อมีการตั้งพนักงานสอบสวนเเล้วอัยการสูงสุดก็จะตั้งพนักงานอัยการจากสำนักงานการสอบสวนมาร่วมสอบสวน เเต่ที่ผ่านมากจะพบว่าเมื่อเป็นคดีนอกราชอาณาจักรเเละเป็นความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ฯส่วนมากอัยการสูงสุดก็จะให้พนักงานอัยการจากสำนักงานคดีค้ามนุษย์ร่วมสอบสวนกับพนักงานสอบสวนเลยเพื่อให้คดีเป็นไปอย่างราบรื่นต่อเนื่องกันดนื่องจากมีสำนักงานอัยการคดีค้ามนุษย์เฉพาะ ซึ่งก็มีหลายฝ่ายเองมองว่าอาจขัดกับหลักการถ่วงดุลตรวจสอบ เพราะจะกลายเป็นสอบสวนเเละสั่งคดีเองในสำนักงานเดียวกัน



คุณอาจสนใจ

Related News