สังคม
1 ปีมีครั้งเดียว! "ปะการัง"ปล่อยไข่-สเปิร์ม ผสมกันเองตามธรรมชาติ
โดย chalanthorn_l
3 เม.ย. 2567
25 views
3 เมษายน 2567 มหัศจรรย์แห่งท้องทะเล ปรากฏการณ์ "ปะการัง" ปล่อยไข่ และสเปิร์ม ผสมกันเองตามธรรมชาตินี้ ถูกเผยแพร่โดยเพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จังหวัดตราด เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27-29 มีนาคม พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 4 จังหวัดตราด ได้ดำเนินการออกปฏิบัติการสำรวจปรากฏการณ์การออกไข่ของปะการัง (Coral Spawning) ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด บริเวณสถานีเกาะมะปริง (หาดศาลเจ้า)
ซึ่งจากการออกสำรวจพบว่า บริเวณสถานีเกาะมะปริง (หาดศาลเจ้า) พื้นที่ อ.เกาะช้าง พบปะการังจำนวน 3 สกุล ได้แก่ สกุล Porites (ปะการังโขด) พบเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 21.22 น. ระดับความลึก 3.1 เมตร อุณหภูมิน้ำทะเล 31°C จำนวน 2 โคโลนี, สกุล Goniastrea (ปะการังรังผึ้ง) พบเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 21.19 น. ระดับความลึก 3.5 เมตร อุณหภูมิน้ำทะเล 31°C จำนวน 2 โคโลนี สกุล Favites (ปะการังช่องเหลี่ยม) พบเมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2567 เวลา 21.39 น. ระดับความลึก 3.8 เมตร อุณหภูมิน้ำทะเล 31°C จำนวน 1 โคโลนี
โดยไข่ของปะการังที่ถูกปล่อยออกมาสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า โดยจะเห็นเป็นเม็ดสีชมพู สีแดง ขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ส่วนที่จะเห็นขุ่นๆ เป็นการปล่อยสเปิร์มของปะการัง ช่วงเวลาที่เหมาะสมจะเป็นช่วงหัวค่ำ เวลาประมาณ 19.30-22.00 น. ของวัน และจะปล่อยไข่ออกมาเพียง 15 นาทีเท่านั้น เพียงปีละครั้ง เมื่อไข่ปะการัง และสเปิร์ม ถูกปล่อยออกมาในมวลน้ำจะผสมกันเองตามธรรมชาติเมื่อเจอชนิดเดียวกัน
แท็กที่เกี่ยวข้อง ปะการัง ,ท้องทะเลไทย ,เกาะมะปริง