สังคม

ม.รามคำแหง เปิดเทคโนโลยีฟื้นฟูปะการัง พบอัตรารอดตายกว่า 85%

โดย panwilai_c

10 มิ.ย. 2566

199 views

นักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ทดลองการขยายพันธุ์ปะการังด้วยเทคนิคการทำชิ้นส่วนปะการังขนาดเล็ก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ปะการังเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้เร็วขึ้น โดยได้เลือกปะการังบริเวณพื้นที่เกาะสีชัง เพราะปะการังของที่นี่มีความทนทานต่อสภาวะเครียดสูง ผ่านมา 1 ปี พบอัตราการรอดตายกว่า 85% แล้ว และตั้งเป้าขยายพันธุ์สู่พื้นที่อื่นๆ ในระยะต่อไป



ปะการังแปลงนี้ถูกนำมาขยายพันธุ์ขึ้นใหม่ ด้วยเทคนิคการทำชิ้นส่วนปะการังขนาดเล็กเชื่อมโคโลนีปะการัง หรือ Coral micro-fragmentation โดยฝีมือของทีมนักวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตอนนี้ผ่านมาเกือบ ปี แล้ว ชิ้นส่วนที่เคยอยู่ห่างกัน ก็เริ่มเติบโตขึ้นมารวมกันเป็นกลุ่มเดียว



รองศาจราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน หัวหน้าโครงการ เล่าว่า นักวิจัยจะนำชิ้นส่วนปะการังขนาดเล็ก ประมาณ 1-3 เซนติเมตร จากปะการังที่เจริญเติบโตแล้วระดับหนึ่งมาเชื่อมต่อกัน ก็จะได้โคโลนีปะการังขนาดใหญ่ขึ้น หรือ Coral colony fusion สามารถสร้างเซลล์สืบพันธุ์ได้เร็วขึ้น ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ในหลากหลายประเทศ



เพราะช่วยให้ชิ้นส่วนปะการังมีอัตราการเจริญเติบโตสูง เป็นเทคโนโลยีที่นำคุณสมบัติการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศของปะการังมาใช้ และเมื่อปะการังเติบโตขึ้นก็จะสามารถสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศได้ตามธรรมชาติ



โครงการนี้นักวิจัยจะคัดเลือกปะการังพ่อแม่พันธุ์ที่เติบโตสมบูรณ์แล้ว โดยมีลักษณะทางพันธุกรรมอดทนต่อความเครียดและสภาพแวดล้อมที่มีมลพิษสูง ทำให้ลดอัตราการเกิดปะการังฟอกขาว และ กลายเป็นแหล่งปะการังเสื่อมโทรมได้ดี



จึงได้คัดเลือกปะการังโขด ปะการังช่องเหลี่ยม ปะการังดาวช่องเหลี่ยม และ ปะการังกาแล็กซี่ ซึ่งปะการังทั้ง 4 ชนิดนี้ยังไม่เคยมีที่ใดเริ่มเพาะพันธุ์มาก่อน เนื่องจากเป็นชนิดทีเติบโตช้ามาเป็นตัวทดลอง



แนวปะการังของเกาะสีชัง เป็นปะการังแปลงแรกของอ่านไทยที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ปากแม่น้ำ และ ชายฝั่งมากที่สุด โดยห่างจากปากแม่น้ำบางปะกงประมาณ 40 กิโลเมตรเท่านั้น และ ห่างจากชายฝั่งประมาณ 10 กิโลเมตร



รายล้อมไปด้วยท่าเรือและแหล่งอุตสาหกรรม ทำให้ปะการังบริเวณนี้มีคุณสมบัติทนต่อภาวะความเครียดได้สูงกว่าที่อื่นๆ นักวิจัยจึงเลือกพ่อแม่พันธุ์จากบริเวณนี้



หลังจากนั้นก็ได้นำแปลงอนุบาลปะการังไปทดสอบการเจริญเติบโตในแนวปะการังบริเวณเกาะค้างคาว เกาะขามน้อย อ่าวนวล และพื้นที่เกาะล้าน



ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ผ่านมา 9 เดือน พบอัตราการรอดตายและเจริญเติบโตต่อเนื่องมากกว่าร้อยละ 84 โดยทั้งหมดเชื่อมกันเป็นโคโลนี



สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. ได้สนับรสนุนงานวิจัยนี้ ภายใต้โครงการฟื้นฟู้ระบบนิเวศแนวชายฝั่งและเศรษฐกิจสีน้ำเงิน ซึ่งสำหรับโครงการนี้ยังต้องอาศัยระยะเวลาการติดตามผลอีกอย่างน้อย 1 ปี เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงภายใต้สภาพปัจจัยภายนอกอย่างมหาสมุทรที่ไม่สามารถควบคุมได้ โดยเมื่อสำเร็จแล้วก็สามารถนำวิธีนี้ไปต่อยอดแนวทางการฟื้นฟูและอนุรักษ์ปะการังในแหล่งปะการังเสื่อมโทรมที่อื่นๆ ได้ในทันที

คุณอาจสนใจ