สังคม

สธ. ย้ำอย่าตื่นตระหนก ฝีดาษวานร ไม่ใช่โรคที่ติดต่อง่าย

โดย onjira_n

1 ส.ค. 2565

23 views

นายแพทย์ โอภาส การย์กวินพงษ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ โควิด-19 โดยในภาพรวมทั่วโลกพบว่าในช่วงหนึ่งถึงสองสัปดาห์ ที่ผ่านมา มีแน้วโน้มพบการติดเชื้อเพิ่มขึ้น



ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทยในกลุ่มผู้เสียชีวิตแนวโน้มค่อนข้างคงที่และดูเหมือนแนวโน้มจะลดลง แต่ภาพรวมของผู้ป่วยที่เดินทางเข้ารับการรักษายังคงสูง ทั้งนี้ในกลุ่ม ผู้เสียชีวิตยังเป็นกลุ่มเสี่ยงคือผู้สูงอายุผู้มีโรคประจำตัวและผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์



ส่วนของสถานการณ์โรคฝีดาษลิงนั้น พบว่าแนวโน้มทั่วโลกยังเป็นช่วงขาขึ้น โดยข้อมูลรายงานสถานการณ์วันที่ 31 กรกฎาคมมีผู้ป่วยยืนยัน 22,812 รายจาก 75 ประเทศมีผู้เสียชีวิตสามรายในประเทศสเปนสองรายและบราซิลหนึ่งราย ขณะที่ในประเทศไทยยังมียอดรายงานผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษลิงอยู่ที่ 2 ราย



ซึ่งในแถบเอเชีย เริ่มพบการรายงานผู้ป่วยในหลายประเทศมีผู้ป่วยมากที่สุดคือประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวันและ ฟิลิปปินส์ ซึ่งส่วนใหญ่พบมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศและมีแนวโน้มที่จะพบการติดเชื้อภายในประเทศเช่นที่ประเทศสิงคโปร์



ส่วนของการเสียชีวิตนั้นตามข้อมูลโรคฝีดาษลิงมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ โดยใน ผู้เสียชีวิตสามรายพบรายแรกมีภาวะแทรกซ้อนสมองอักเสบรายที่สองมีโรคมะเร็ง ร่วมด้วย



สำหรับผู้ติดเชื้อสองรายในประเทศไทยรายแรกซึ่งเป็นชายชาวไนจีเรียซึ่งได้เดินทางหลบหนีออกนอกประเทศไปแล้ว มีผลตรวจยืนยันติดเชื้อตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคมจากผลการตรวจสายพันธุ์พบเป็นสายพันธุ์ west Africa A.2 ซึ่งจากการเฝ้าระวังและตรวจผู้สัมผัสร่วมในพื้นที่ภูเก็ตจากสถานบันเทิงกว่า 50 รายยังไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่สูง

สำหรับผู้ป่วยรายที่สองซึ่งเป็นชายชาวไทยอาศัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับชาวต่างประเทศที่เดินทางมาได้รับการตรวจยืนยันผลพบเชื้อเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พบจากการตรวจขัดแยกสายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ west African B.1 และจากการตรวจยืนยันผู้สัมผัสใกล้ชิดยังทั่งหมด 18 รายให้ผลตรวจเป็นลบซึ่งอยู่ในระหว่างการติดตามอาการจนครบ 21 วัน ส่วนของผู้สัมผัสใกล้ชิดซึ่งเป็นชายชาวต่างชาติรายแรกให้ผลตรวจเป็นลบอีกรายซึ่งเป็นชายชาวเบลเยียมอยู่ในระหว่างการติดตามตัว เบื้องต้นมีข้อมูลว่าชายคนดังกล่าวเดินทางออกนอกประเทศไทยแล้ว รอการตรวจสอบข้อมูลยืนยันอีกครั้ง



ทั้งนี้มาตรการสำหรับการควบคุมโรคฝีดาษลิง นั่น

ยังมีมาตรการการคัดกรองจากผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่ทาง WHO ให้เฝ้าระวังคือกลุ่มชายรักชายซึ่งเป็นกลุ่มที่จะมีการตรวจเป็นพิเศษ โดยที่ ผ่านมาได้ดำเนินการค้นหาและกำจัดแหล่งโรคควบคุมการแพทยระบาดซึ่งยังถือว่าเป็นมาตรการที่รองรับได้ดี



ย้ำว่าในขณะนี้ยังไม่ต้องตื่นตระหนกเพราะโรคฝีดาษลิงไม่ได้เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่าย



ด้าน นายแพทย์ บัลลัง อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย สำหรับการดำเนินงานห้องปฏิบัติการของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการตรวจหาเชื้อโรคฝีดาษลิงต้องดำเนินการในห้องปฏิบัติการชีวะนิรภัยระดับสามเท่านั้น ซึ่งหลัง เริ่มมีการพบการแพทยระบาดจึงมีการหารือปรับสำหรับการตรวจหาเชื้อสามารถทำได้ในห้องปฏิบัติการชีวะนิรภัยระดับสองเสริมสมรรถนะได้



ส่วนการเพาะเลี้ยงเชื้อและการศึกษาวิจัยนั้นจะต้องดำเนินการในระดับสามเท่านั้นเพื่อให้การตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการมีขีดความสามารถที่สามารถดำเนินการในระดับภูมิภาคได้



โดยในขณะนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ของประเทศไทยที่ดำเนินการตรวจหาเชื้อโรคฝีดาษลิงมีทั้งหมด 15 แห่งสามารถตรวจและรายงานผลภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งจะมีการเก็บตัวอย่าง เนื่องจากเป็นโรคอุบัติใหม่จึงยังไม่มีความชัดเจนในการเก็บสิ่งส่งตรวจ ว่าจุดใดจะได้เชื้อจำนวนมากที่สุด ในปัจจุบันจึงมีการเก็บตัวอย่างในหลายตำแหน่ง เช่นจากตุ่มน้ำตุ่มหนอง โดยใช้เข็มswab จากแผล /เก็บตัวอย่างสารน้ำจากแผลผิวหนังส่วนบนของตุ่มน้ำตุ่มหนอง/สะเก็ดแผลหรือจากเลือด หลังจากนั้นให้นำตัวอย่างเก็บแช่ในอุณหภูมิประมาณ 2 - 8 องศาเซลเซียส โดย ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องทำหน้าที่เข้าเก็บตัวอย่างมีมาตรการป้องกันและค้องสวมชุ PPE

ส่วนของข้อมูลสายพันธุ์โรคฝีดาษลิงในขณะนี้มีสอง โดยในไทยพบ สายพันธุ์ Western African A.2 และ Western African B.1 ซึ่ง อยู่ในวงษ์เดียวกัน แต่โดย ทั่วโลกพบเป็นการระบาดของสายพันธุ์ B.1 มากกว่า



ด้าน แพทย์หญิง นฤมล สวรรค์ปัญญาเลิศ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมการแพทย์ เผยข้อมูลของโรคฝีดาษวานรพบว่าเป็นเชื้อที่เกิดกลุ่มเดียวกับไข้ทรพิษ ซึ่งปกติจะหายได้เองใช้เวลาประมาณสองถึงสี่สัปดาห์อาการรุนแรงจะพบได้ในบางกลุ่มโรคเท่านั้น

ซึ่งจากที่ประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางวินิจฉัยการรักษาในกรณีพบผู้ป่วยเข้าข่ายต้องสงสัยผู้ป่วยมีอาการ ไข้มีตุ่มน้ำตุ่มหนอง และมีประวัติสัมพัสผู้ป่วยฝีดาษลิง ให้โรงพยาบาลรับผู้ป่วยเข้าเป็นผู้ป่วยในแบบห้องแยกโรค และทำการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจตามเกณฑ์ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์



เมื่อได้รับผลกรณีไม่พบเชื้อที่มีการยืนยันจากสองห้องปฏิบัติการให้แพทย์ประเมินเพื่อส่งผู้ป่วยต่อไปยังการรักษาของโรคที่เป็นและให้ผู้ป่วยสังเกตุอาการของตนเอง 21 วันถ้าหากมีไข้ต่อมน้ำเหลืองโตมีผื่นให้รีบกลับมาพบแพทย์ ส่วนในกรณีผลตรวจพบติดเชื้อให้โรงพยาบาลทุกแห่งรับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในห้องแยกโรคผู้ป่วยโรคติดเชื้อ และทำการรักษาตามอาการ จนกว่าสะเก็ดแผลจะแห้ง 2-3สัปดาห์



ส่วนการรักษาจำเพาะยังไม่มียาต้านไวรัสอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัยในต่างประเทศถ้าหากมีผลการศึกษารับรองผ่านกระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการประสานเพื่อจัดหายารักษา

ส่วนผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่อาจจะเกิดโรครุนแรงจะเกิดในกลุ่มผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำเช่นผู้ติดเชื้อเอชไอวี โรคมะเร็งอวัยวะต่างๆ ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ ได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูกมาภายในสองปี ผู้ที่เป็นโรคภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กโดยเฉพาะกลุ่มอายุน้อยกว่าแปดปี หญิงตั้งครรภ์ หญิงระหว่างให้นมบุตร ผู้ที่มีประวัติเป็น โรคผื่นภูมิแผ้ผิวหนัง  ซึ่งยังคงหน่อยแนะนำในการป้องกันโรคฝีดาษวานรสามารถปฏิบัติตัวได้โดยการสวมหน้ากากอนามัยลดโอกาสสัมผัสละอองฝอยน้ำลายน้ำมูกของผู้ป่วยหรือสัตว์ที่ติดเชื้อหมั่นล้างมือบ่อยบ่อยด้วยน้ำสบู่หลีกเลี่ยงการสัมผัสตุ่มหนองผู้ติดเชื้อหลีกเลี่ยงการสัมผัสสารคัดหลังจากร่างกายแนะนำให้รับประทานเนื้อสัตว์ปรุงสุกสะอาด





คุณอาจสนใจ