สังคม
เปิดเบื้องหลังคำสั่งปิดโรงงานรีไซเคิล พบวัตถุอันตรายในโรงงานมากกว่า 40 ตัน ซ้ำยังมีการต่อเติม
โดย parichat_p
3 พ.ย. 2567
104 views
นอกจากกากอุตสาหกรรม ที่จัดเป็นวัตถุอันตรายประเภทที่ 3 ตาม พรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งพบในโรงงานมากกว่า 40 ตันแล้ว การเข้าตรวจค้นโรงงานนี้ นี้ยังพบการต่อเติมอาคาร เครื่องจักร และมีขนย้ายผลิตภัณพ์และวัตถุดิบกากอุตสาหกรรมหลายชนิด ทั้งที่ จากการเข้าค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมาด้วย พบการกระทำผิดชัดเจน จนต้องออกคำสั่งปิดโรงงานดังกล่าว และผู้ประกอบการได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งปิดนั้น ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงเป็นที่น่าสังเกตุว่าเหตุใด ผู้ประกอบการกลุ่มนี้ จึงกล้าฝ่าฝืนคำสั่งปิด และกล้านำเงินมาลงทุนสร้างอาคารและเครื่องจักรเพิ่ม ทั้งที่ยังไม่มีผลว่าคำขออุทธรณ์ให้กลับมาเปิดโรงงานนั้น จะอุทธรณ์สำเร็จหรือไม่
เครื่องจักมูลค่านับล้านบาทเหล่านี้ ตั้งอยู่ในบริเวณทีแอนด์ที เวสท์ แมเนจเม้น / เจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปตรวจเมื่อสองวันก่อน ระบุว่าเป็นเครื่องจักร ที่ใช้ในกระบวนการอบ หลอม กากอุตสาหกรรมหลายชนิด ลักษณะเพิ่งติดตั้งสภาพใหม่เอี่ยมพลาสติกห่อหุ้มยังไม่แกะออก /
ปล่องหรือท่อจากกระบวนการหลอม ติดตั้งอยู่บนพื้นในบริเวณที่เรียกว่าอาคาร 5 พัน ตารางเมตร แต่ที่ชั้นล่างเมื่อเดิมลงบันไดจะพบห้องเครื่องที่ควบคุมเครื่องจักติดตั้ง เกือบสมบูรณ์
ประเด็นที่ต้องสังเกตุอย่างสำคัญของเครื่องจักรมูลค่าแพงเหล่านี้คือ ขณะกรมโรงงานอุตสาหกรรม พร้อมตำรวจปทส.เข้าไปตรวจที่นี่เมื่อวันที่ 3 กันยายน นั้น ก็พบแล้วว่าเครื่องจักรเหล่านี้ไม่อยู่ในแผนงานการอนุญาตให้ใช้ตั้งแต่กอสร้างโรงงานรีไซเคิลนี้ พร้อมกับมีคำสั่งเด็ดขาด มาตรา 39 วรรค 3 ให้ปิดโรงงานและเพิกถอนใบอนุญาตโรงงานไปแล้ว คำสั่งโดยวาจา เมื่อวันที่ 3 กันยายน และประกาศคำสั่งโดยเอกสารปิดประกาศเมื่อ 27 กันยายน
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ระบุว่าเครื่องจักรเหล่านี้ คือส่วนลักลอบก่อสร้างเพิ่มเติมมา หลังจากที่มีคำสั่งปิดไปแล้ว ซึ่งเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนชัดเจน นี่คือคลิปภาพ เมื่อครั้งมีการนำหมายศาลเข้าตรวจค้นเมื่อวันที่ 3 กันยายน ในบริเวณเดียวกัน จะเห็นว่าเครื่องจักรและการติดตั้งยังไม่คืบหน้า และในความเป็นจริง เมื่อมีคำสั่งปิดตั้งแต่ตอนนั้น ทุกอย่างก็ควรจะยุติเท่านั้น แต่กลายเป็นว่าการนำหมายศาลเข้าค้นอีกเมื่อวันศุกร์ที่ 1 ที่ผ่านมา เครื่องจักรนี้ กลับถูกติดต่อจนเกือบจะแล้วเสร็จ
ที่จริง ไม่ใช่เฉพาะส่วนที่เป็นอาคารและเครื่องจักรเท่านั้น ที่พบการสร้างใหม่ หรือต่อเติม ทั้งที่มีคำสั่งปิดไปแล้ว แต่ผู้อำนวยการบริหารจัดการกาก กรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้สรุปผลการตรวจสอบซ้ำเบื้องต้นของโรงงาน ทีแอนด์ที เวสท์แมนเนจเม้นท์ พบว่า มีการเคลื่อนย้ายกากอุุตสาหกรรม ส่วนที่เป็นวัตถุดิบ และส่วนที่เป็นผลิตภัณฑ์ ที่อายัดไวั ก่อนไปนอกโรงงาน ซึ่งเป็นการฝ่าฝืน เช่นเดียวกับติดตั้งต่อเติม อาคารเครื่องจักร ก็ผิดทั้ง พรบ.โรงงานและพรบ.อาคาร หรือแม้แต่กากอุตสาหกรรมบางชนิด ก็หลักฐานนำเข้าจากต่างประเทศชัดเจน
ข่าว 3 มิติ ตั้งข้อสังเกตุว่า นี่เป็นการตรวจค้นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือน และพบว่าเมื่อมีคำสั่งปิดแต่ไม่ปิด ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่ง และนอกจากไม่หยุด หรือปิดในสิ่งที่กระทำเดิมแล้ว แต่ยังกระทำเพิ่มในส่วนอื่น ถือว่ามีความผิดเพิ่มจากการตั้งหรือประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาต / พฤติกรรมดังกล่าว จึงเป็นที่น่าสังเกตุว่าเหตุใดยังกล้าฝ่าฝืน หรือและเหตุใดยังกล้าลงทุนเพิ่มทั้งที่ คำร้องอุทธรณ์ต่อคำสั่งปิดนั้นยังไม่มีผล นอกจากนี้ข่าว 3 มิติยังพบว่าอุตสาหกรรมจังหวัด ได้ไปแจ้งความร้องทุกข์กับ โรงงานนี้กับสภ.ระเบาะไผ่ อ.ศรีมหาโพธิ์ มากกว่า 20 คดีมาแล้ว แต่ก็ยังพบการฝ่าฝืนเรื่อยมา
นายอำเภอศรีมหาโพธิ ในฐานะฝ่ายปกครองที่ไปตรวจสอบ ก็ระบุว่าเดิมในพื้นที่ดังกล่าว มีแรงงานมากกว่า 500 คน แต่หลังมีคำสั่งปิด ยังเหลืออยู่ประมาณ 200 คน โดยมี 150 คน ที่ได้รับการสนับจากนายจ้างวันละ 100 บาท และอีก 50 คน ที่ไม่ได้รับการดูแลจากนายจ้าง ในจำนวนนี้ มี 4 คน ที่ทำผิดเงื่อนไขคือทำงานผิดนายจ้าง อย่างไรก็ตาม นายอำเภอหญิงของอำเภอศรีมหาโพธิ ยอมรับว่า เรื่องนี้หลายหน่วยงานจะต้องหารือร่วมกัน เพราะมีเรื่องท้องถิ่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
หัวหน้าคณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ก็ระบุว่ากรณีจะเร่งประสานทั้งกรมศุลกากร กรณีพบกากอุตสาหกรรมที่เชื่อว่านำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึง กระทรวงคมนาคม และกระทรวงมหาดไทย กรณีเรื่องการอนุญาตของท้องถิ่นด้วย เพื่อร่วมแก้ปัญหา
ข่าว 3 มิติ มีข้อมูลว่ากรณีความผิดของบริษัท ทีแอนด์ทีเวสต์ แมเนจเม้นท มีบางกรณีที่ถูกเสนอ เพื่อให้เข้าสู่กระบวนการเปรียบเทียบปรับ ซึ่งกรณีเช่นนี้เท่ากับเมื่อจ่ายป่าปรับ แล้วก็จะกลับมาดำเนินกิจการได้ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยืนยันว่ากรณีการฝ่าฝืนชัดเจนเช่นกรณีนี้ จะไม่รับคำสู่การพิจารณาเปรียบเทียบปรับ แต่จะถูกดำเนินคดีตามขั้นตอน กระบวนการยุติธรรม
ประเด็นเรื่องเงินเปรียบเทียบปรับ โรงงานที่ทำผิด ก็เป็นหนึ่งประเด็นที่สำคัญ เพราะกระทรวงอุตสาหกรรม อยู่ระหว่างร่าง แก้ไข ร่าง พรบ.โรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเปิดช่อง ให้ตั้งกองทุนฯ นำเงินค่าปรับมาใช้แก้ปัญหากากอุตสาหกรรม แทนการรอเงินงบประมาณ หรืองบกลาง ที่มักจะไม่เพียงพอ แต่ที่ผ่านมาค่าปรับจากโรงงานที่กระทำผิด ถูกส่งเข้ารัฐ เพียงร้อยละ 40 ส่วนที่เหลือร้อยละ60 ถูกนำไปจัดสรรด้วยวิธีอื่นตามระเบียบ ซึ่งระเบียบนี้ละครับ ที่ต้องพิจารณาว่าควรแก้ไขให้ นำเงินมาเข้ากองทุนฯ
แท็กที่เกี่ยวข้อง โรงงานรีไซเคิล ,ฝ่าฝืนคำสั่ง ,คำสั่งปิดโรงงานรีไซเคิล