สังคม

พาดูโมเดลปลูกป่า ฟื้นฟูเขาหัวโล้นในเชียงใหม่ พลิกสู่ป่าต้นน้ำใน 20 ปี

โดย panwilai_c

19 ต.ค. 2567

238 views

การจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ หรือ Payment for Ecosystem Service กำลังถูกพัฒนาในประเทศไทย โดยเฉพาะที่จังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่เรียนรู้ ศึกษาดูงาน



นี่เป็นภาพชินตา ที่ผู้นำชุมชนและนักวิจัยจากหน่วยวิจัยการฟื้นฟูป่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่เล่าที่มาของโครงการฟื้นฟูป่าต้นน้ำในพื้นที่



ตัวแทนชาวบ้านเล่าในอดีตพื้นที่ส่วนใหญ่ถูกแผ้วถางเพื่อปลูกฝิ่น และทำไร่จนกลายเป็นภูเขาหัวโล้น



ปี 2543 ชาวบ้านร่วมกับนักวิจัยจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เริ่มวางแผนฟื้นฟูป่าภายใต้โครงการปลูกป่าเพื่อพ่อหลวง โดยใช้พรรณไม้ท้องถิ่น



และนี่คือภาพปัจจุบันของป่าแปลงที่ชุมชนและนักวิจัยร่วมกันฟื้นฟู ป่ากลับมาสมบูรณ์ด้วยพรรณไม้พื้นถิ่น หลังผ่านมากว่า 20 ปี



สำหรับผู้มาเรียนรู้จากชุมชนในครั้งนี้เป็นผู้เข้าร่วมหลักสูตร RoLD Xcelerate จากสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย ภายใต้หัวข้อการจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ Payment for Ecosystem Services หรือ PES



นอกจากการฟื้นฟู รักษาป่าต้นน้ำ ปัจจุบันเครือข่ายชุมชนบนพื้นที่สูงได้พยายามป้องกันไฟป่าในฤดูแล้ง และได้มาเล่าปัญหาการจัดการไฟป่าของแต่ละพื้นที่ตามข้อเท็จจริงให้คณะศึกษาเรียนรู้ได้รับฟังด้วย



ชาวบ้านแม่สาน้อย เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ม้ง ที่อาศัยอยู่บนพื้นที่สูงก่อนการประกาศเขตอุทยานดอยสุเทพ-ปุย ในอดีตการพัฒนาเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่ปัจจุบันหลังจากชุมชนร่วมจัดการฟื้นฟูป่า กันเขตพื้นที่ทำกินอย่างชัดเจนแล้ว ที่เหลือคือการจัดการให้ชุมชน ผู้คนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน



สำหรับการดำเนินการต่อจากนี้ ผู้มาเรียนรู้จากจากหลักสูตร RoLD Xcelerate จากสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย จะนำแนวคิด การจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ Payment for Ecosystem Services หรือ PES มาทำงานร่วมกับชุมชนภายใต้แนวคิดความเป็นธรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และนิติธรรมเพื่อการพัฒนาต่อไป กิตติ สิงหาปัดรายงาน

คุณอาจสนใจ

Related News