สังคม

แกะรอยคดีหมูเถื่อน แฉพิรุธตับจากตู้เดียวกัน แต่สำแดงสินค้าเป็น 3 ประเภท

โดย panwilai_c

19 พ.ย. 2566

242 views

3 มิติ ยังคงเกาะติดเรื่องหมูเถื่อน พรุ่งนี้ นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมเหยื่ออาชญากรรม จะไปแจ้งความเอาผิดกับข้าราชการในหลายหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนนำเข้าหมูเถื่อน ทั้งกรณีสำแดงเท็จ การปลอมแปลงใบอินวอย หรือเอกสารนำเข้า รวมถึงกรณีที่ตรวจพบตับหมูติดเชื้อโรคแล้วไม่ได้นำไปทำลายทั้งหมด แต่นำไปทำลายบางส่วน



ขณะที่ข่าว 3 มิติ ยังได้รับเบาะแส เป็นหลักฐานการนำเข้าสินค้าคือตับหมูจากเยอรมัน แต่เป็นที่น่าสงสัยว่า เหตุใดสินค้าชุดเดียวกันนี้ เตรียมเอกสารไว้สำแดง ถึง 3 ชุด ทั้งอ้างว่าเป็นตับหมู และเป็นหัวปลาและบ้างก็ระบุว่า มาจากเยอรมัน บ้างก็ระบุว่ามาจากเนเธอแลนด์



เอกสารชุดนี้มีเบาะแสพบว่าเป็นเอกสารยื่นสำแดงเท็จที่ผ่านศุลกากรมาแล้ว กำลังจะเข้าสู่ขั้นตอนการนำสินค้าออก เพื่อนำไปส่งลูกค้า เฉพาะลอตนี้พบว่ามี 3 ชุด ชุดแรก เป็นเอกสารสำแดงแบบตรงไปตรงมา ระบุว่าเป็นตับหมูแช่แข็งจากเยอรมัน 25,020 กิโลกรัม มีมูลค่า 36,279 เหรียญดอลล่าร์ สหรัฐ หากคิดอัตราแลกเปลี่น 1 เหรียญ ต่อ 33 บาท จะมีมูลค่า 1,197,207 บาท หากคิดภาษีศุลกากรร้อยละ 30 ของสินค้านำเข้า ต้องจ่ายภาษี 359,168 บาท จะเห็นว่าสินค้าชุดนี้นำเข้ามากับคอนเทนเนอร์เลขที่ HDMU 552310-9



เป็นที่น่าสงสัยว่าเอกสารชุดที่ 2 สินค้าในคอนเทนเนอร์ ก็เลขเดียวกัน คือ HDMU5523109 แต่สินค้าไม่ได้ระบุว่าตับหมู ระบุเพียงว่า Frozen Food Product หรือผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง คราวนี้ประเทศต้นทางกลายเป็นเนเธอร์แลนด์ น้ำหนักสินค้าเท่าเดิมคือ 25020 กิโลกรัม มูลค่ากิโลละ 1 เหรียญ หรือ 25,020 เหรียญสหรัฐ เมื่อเทียบอัตราแลกเปลี่ยนและภาษีศุลกากรร้อยละ 30 ของสินค้า ตู้นี้จะจ่าย 247,698 บาท



อย่างไรก็ตาม สินค้าในคอนเทนเนอร์เดียวกันนี้ ในเอกสารชุดที่ 3 ระบุว่าสินค้าคือ Frozen salman head หรือหัวปลาแซลมอลแช่แข็ง ถือเป็นสินค้าแบบที่สาม ทั้งที่มาจาก ตู้เลขเดียวกัน มูลค่าสินค้า 25,020 เหรียญดอลล่าสหรัฐ คราวนี้ตู้นี้ ไม่ต้องเสียภาษีศุลกากร เพราะเป็นสินค้าประมง



ข่าว 3 มิติ ได้รับการยืนยันว่า สินค้า 25 ตันนี้ หากนำไปส่งให้บุคคลทั่วไป จะใช้ใบที่ระบุว่าเป็นแซลมอน แต่เนื่องจากสินค้านี้นำส่งไปให้ห้างใหญ่ ที่เป็นข่าว จึงต้องสำแดงว่า มาจากเนเธอแลนด์ เหตุที่ต้องระบุว่าเป็นเนเธอแลนด์ ส่วนหนึ่งเพราะได้ปรับอัตราภาษีลงแล้ว และเหตุผลสำคัญคือหากสำแดงว่าเป็นเยอรมัน อย่างตรงไปตรงมานั้น ห้างใหญ่ ดังกล่าวก็จะปฎิเสธไม่รับเพราะขณะนั้นเยอรมันอยู่ในระหว่างมีโรคระบาดจึงถูกห้ามนำเข้าสุกร



อย่างไรก็ตาม มาตรา 31 ข้อ 4 ระบุว่าการจะนำอาหารโดยเฉพาะปศุสัตว์จากประเทศใดเข้ามานัน้ ผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบค่าดำเนินการให้กรมศุลกากร ไปตรวจสอบถึงประเทศต้นทาง เพื่อดูว่ามีโรค ระบาดหรือไม่ ได้มาตรฐานหรือไม่ซึ่งแน่นอนว่ามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างมาก จึงมีคนกลุ่มหนึ่งเสนอให้ หรือไม่ก็อีกกลุ่มหนึ่งเรียกรับ อย่างน้อย 3 หมื่นบาทต่อตู้ แลกกับการออกใบ อนุญาตให้โดยไม่ได้เดินทางไปตรวจสอบจริง จึงเป็นที่มาของสินบน 3 หมื่นบาทต่อตู้ โดยไม่รวมค่าใช้จ่ายส่วยอื่นๆ



สำหรับสินค้าชุดนี้ นำเข้าโดยบริษัท มายเฮาส์ เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็น 1 ใน 10 บริษัทชิปปิ้ง ที่นำเข้า 161 ตู้คอนเทนเนอร์ และผู้บริษัทที่สั่งซื้อจากมายเฮารส์ หรือที่ถูกต้องคือบริษัทที่อยู่เบื้องหลังให้มายเฮาส์นำเข้า คือบริษัทเวล้ที่ แอนด์ เฮลซี่ฟู้ด จำกัด ที่กรรมการลงนาม และบุตรชายถูกดำเนินคดีไปแล้ว ซึ่งเบาะแสค่อนข้างชัดเจนว่า บริษัทนี้ตั้งขึ้นมาแล้ว มีบริษัทคู่ค้าเพียงรายเดียว ก็คือห้างค้าปลีกรายใหญ่ดังกล่าว นอกเหนือจากนั้นไม่ปรากฎว่าได้ส่งสินค้าให้เจ้าอื่น



หลักฐานการโอนเงิน เป็นเบาะแสสำคัญที่แสดงให้เห็นการเชื่อมโยง เพราะซ้ายมือสุดของจอภาพ จะเห็นเส้นทางการเงินของชาย 2 คน ที่เป็นพ่อลูกกัน และถูกควบคุมตัวไว้แล้วนั้น โอนเงินทั้งจากบัญชีส่วนตัวหลากหลายบัญชี และจากบัญชีบริษัท 2 บริษัท เฉพาะปีที่ 2556 รวม 81 ล้านบาท โอนเข้าบัญชี บ.มายเฮาส์ เทรดดิ้ง จำกัด



จากนั้น บ.มายเฮาส์ เทรดดิ้ง โอนเงินไปเพื่อซื้อสินค้าคือชิ้นส่วนหมู สว่นใหญ่เป็นตับหมู เอกสารบ่งบอกว่า บริษัทปลายทาง อยู่ที่เดนมาร์ค และเชื่อว่าเป็นบริษัท แต่บริษัทที่ ส่งสินค้าอยู่ที่บราซิล จึงเชื่อได้ว่าคู่สัญญาที่แท้จริงคือบริษัทที่เดินมาค์ แต่ให้บ.ลูกๆ ที่ผลิตสินค้าตามประเทศต่างๆเช่น กรณีนี้คือบราซิล ที่ส่งสินค้าให้



และเป็นที่ชัดเจนว่า มายเฮาส์ได้ส่งสินค้าให้ บ.เวลท์ธี่ แอนเฮลท์ที่ฟู้ด จำกัด ซึ่งตับหมูก็ส่งให้ห้างแมคโคร และแมคโครก็ออกเอกสารยืนยันว่า เคยรับซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทนี้จริง แต่ยกเลิกไปหลังจากพบว่าสินค้าไม่ได้มาตรฐาน และยืนยันว่าขณะนั้นสินค้าที่นำเข้าจากบริษัทนี้มีเอกสารหลักฐานที่ถูกต้องชัดเจน



อยางไรก็ตาม ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ไปยื่นดีเอสไอ โดยเขาอ้างว่าไปเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดีเอสไอ เอาผิดบริษัท และกรรมการผู้จัดการ ที่รับซื้อ ตามพรบ.ศุลกากร และความผิด ตามกฎหมายฟอกเงิน ในกรณีรับซื้อวัตถุดิบดังกล่าวจากบริษัทที่ถูกดีเอสไอ ดำเนินคดี



สำหรับการร้องทุกข์ของนายอัจฉริย เป็นคนละกรณีกับการดำเนินคดีของดีเอสไอ ที่เป็นคดีพิเศษเฉพาะกรณี 161 ตู้ ซึ่งเป็นควมผิดตามพรบ.ศุลกากรและพรบ.ปศุสัตว์เป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตาม หากผู้ต้องหาเป็นกลุ่มเดียวกัน กรณีที่ดีเอสไอขยายเลขคดีมาเพิ่ม ก็จะขยายผลไปยังกลุ่มนี้ดว้ยเช่นกัน

คุณอาจสนใจ