สังคม

เปิดโปงนิติกรรมอำพราง รถบรรทุกวิ่งแบกน้ำหนัก ผู้ประกอบการร่วมมือจนท. เลี่ยงถูกริบรถ

โดย panwilai_c

1 พ.ย. 2566

192 views

หลังจากเมื่อวานนี้ มีผู้ประกอบการรถบรรทุกรายย่อย ร้องเรียนกับข่าว 3 มิติ ว่า กระบวนการริบรถบรรทุกที่บรรทุกน้ำหนักเกิน ได้เกิดเป็น สองมาตรฐาน คือ รายย่อยที่ไม่ได้เจตนาบรรทุกเกิน เพราะเกินเพียงหลักร้อยกิโลกรัม สุดท้ายเจ้าหน้าที่ในชั้นสอบสวน ได้เสนอให้ศาลสั่งริบรถเข้าหลวง ขณะที่กลุ่มที่ตั้งใจเกิน หลายๆสิบตัน กลับไม่ถูกริบรถ เพราะมีเจ้าหน้าที่บางกลุ่ม ช่วยให้ใช้วิธีทำนิติกรรมอำพราง ติดตามจากคุณปัญญา นานกระโทก



เจ้าของรถบรรทุกคันนี้ พยายามเจรจาต่อกับเจ้าหน้าที่ชุดสปอตเช็กหรือด่านตาช่างลอย ของกรมทางหลวง เพื่อไม่ต้องนำรถขึ้นช่าง แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมตามคำขอ ผลปรากฏว่า รถบรรทุกคันนี้แบกน้ำถึง 17,500 กิโลกรัม หรือ 17.30ตัน เหตุการณ์นี้เกิดเมื่อ 26 สิงหาคม 2566 และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่รถบรรทุกคันนี้แบกน้ำหนัก



การบรรทุกเกินกว่าที่กฏหมายกำหนดยังคงมีอยู่ แม้ว่าวันนี้ จะไม่มีสติกเกอร์ส่วยติกหน้ารถเหมือนที่ผ่านมา แต่ก็มีคำถามที่เกิดขึ้น ว่าเมื่อจับกุมแล้วรถบรรทุกที่ถูกใช้กระทำความผิด จะถูกสั่งริบเป็นของหลวง หรือ คืนเจ้าของ



นายศุภศักดิ์ รุ่งเจิดฟ้า ประธานที่ปรึกษาสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การเรียกรับผลประโยชน์ยังคงเกิดตลอดเวลาเพราะเจ้าหน้าที่รัฐบางหน่วยหรือ บางคน อาศัยช่องว่างเรียกเงิน หรือ ที่เรียกกันว่า การทำนิติกรรมอำพราง โดยไม่มีการดูบริบทของการกระทำความผิดที่แท้จริง



นี่เป็นชุดข้อมูลที่สายข่าวคนหนึ่ง เปิดเผยกับทีมข่าว 3มิติ ถึงขบวนการสมคบคิด ที่ประธานที่ปรึกษาสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยพูดถึง สมคบคิดแรก คือเมื่อชุดจับกุมที่ด่านช่างจับ ส่งร้อยเวรพื้นที่ ก็จะรับไม้ต่อเพื่อเจรจาจำนวนเงินแลกกับรถบรรทุกไม่ต้องถูกริบเมื่อส่งฟ้อง หรือ สามารถเอาออกไปใช้งานต่อได้ทันที ซึ่งขบวนการสมคบคิดแรกนี้ มีทั้งการทำนิติกรรมอำพรางด้วยการทำสัญญาเช่าซื้ อ หรือ สัญญาเช่าช่วง จากนั้นเปลี่ยนให้คนขับหรือเจ้าของรถ เป็นเพียงคนเช่าเพื่อตัดตอนไม่ให้รถที่ใช้กระทำความผิด กับ เจ้าของรถเชื่อมโยงกัน ทั้งนี้เป็นการเลี่ยงถูกริบรถตามกฏหมาย แต่ที่ร้ายไปกว่านั้น คือ การเปลี่ยนตัวคนขับ หรือ เปลี่ยนตัวผู้ต้องหา



สมคบคิดแบบที่สอง คือ ชุดจับกุมที่ด่านช่าง ส่งต่อร้องเวรพื้นที่ จากนั้นร้อยเวร จะทำนิติกรรมอำพางเองทั้งหมด ทั้งดำเนินการเองทั้งหมด ทั้งการเปลี่ยนเจ้าของรถ คนขับ น้ำหนักที่บรรทุก รวมไปถึงการลงลายมือชื่อ แทนผู้ที่เกี่ยวข้องหน่วยงานอื่น



ขบวนการสมคบคิดนี้ มีราคาที่ต้องจ่ายตามน้ำหนัก รถบรรทุกที่แบกน้ำหนักเกิน 200 กิโลกรัม แต่ ไม่เกิน 1,000 กิโลกรัม ราคาที่ต้องจ่าย 40,000 ถึง 60,000 บาท



หากแบกน้ำหนักเกิน 1 ตันขึ้นไป ราคาจะเพิ่มขั้น ไปถึง 80,000 บาท หรือ หลักแสน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ และพาวเวอร์ของเจ้าของรถ นี่เป็นจึงอาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่า ทำไมรถที่บรรทุกน้ำหนักเกินในจำนวนมากๆ บางส่วนจึงไม่ถูกริบรถที่ใช้กระทำความผิด



ตารางของด่านแห่งหนึ่งที่เห็นนี้ คือ รถบรรทุกที่ไม่มีการริบรถหลังคดีสิ้นสุด จะเห็นว่ามีสินค้าที่บรรทุกทั้งถ่านหิน ดิน ทรายหยาบ ข้าวสาร ไปจนถึงขยะ ปริมาณที่บรรทุกน้ำหนักเกินตั้งแต่ 8,000 กิโลกรัม หรือ 8 ตัน จนถึง 29,500 ตันหรือ เกือบ 30 ตัน



นายอนุชิต เพชรกำแพง คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฏหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งทางบกและป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐ สภาผู้แทนราษฎร ระบุว่า ปัจจับเร่งด่วน คือ แก้ไขปรับปรุงกฏระเบียบเพื่อให้สอดคล้องกับปัจจุบันการโดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายที่ยังมีความเหลื่อมล้ำอยู่ และเป็นช่วงว่างในการเรียกรับผลประยชน์



คณะอนุกรรมาธิการการพิจารณาศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฏหมายที่เกี่ยวกับการขนส่งทางบกและป้องกันการเรียกรับผลประโยชน์โดยเจ้าหน้าที่รัฐ สภาผู้แทนราษฎร



ในวันพฤหัสบดีที่จะถึงนี้ซึ่งเป็นการประชุมครั้งแรกของคณะอนุกรรมาธิการ ฯ จะมีการหยิบยกปัญหานี้ขึ้นหารือในที่ประชุม

คุณอาจสนใจ

Related News