สังคม

กยท. แจงภาพส่งไม้ยางพาราขายโรงงานเอกชน เหตุเป็นส่วนที่ไม่ผ่านมาตรฐาน

โดย panwilai_c

28 มิ.ย. 2566

485 views

รองผู้ว่าการยางแห่งประเทศไทย ชี้แจงข่าว 3 มิติ หลังจากที่รายการข่าว 3 มิติ นำเสนอภาพจากที่ผู้ร้องเรียนว่าไม้ยางพาราในโครงการจ้างเหมาตัดโค่นและลำเลียง เข้ากองจัดการไม้ ได้ถูกนำออกไปขายในโรงงานแปรรูปไม้ของเอกชนหรือไม่ รวมถึงเหตุใดไม่มีการเปิดประมูลตัดไม้ในแปลงดังกล่าว ซึ่งคำชี้แจงอ้างอิงเหตุผลที่ว่าจ้างแบบเจาะจง โดยไม่เปิด ประมูลเพราะต้องการบริษัทที่มีมาตรฐานของ FSC หรือองค์การจัดการด้านป่าไม้ ส่วนที่พบว่ามีรถขนไม้ลำเลียงเข้าโรงงานเอกชน มีคำชี้แจงว่าเป็นไม้ที่ผ่านมาตรฐาน ซึ่งกองจัดการไม้สามารถพิจารณาขายให้เอกชนได้ตามระเบียบ อย่างไรก็ตาม ก็มีความเห็นแย้งจากฝั่งผู้ร้องทั้งสองทั้งประเด็น



-รองผู้ว่าการด้านบริหาร การยางแห่งประเทศไทย ชี้แจงกับข่าว 3 มิติ กรณีมีผู้ร้องเรียนไปหลายหน่วยงานและตั้งข้อสังเกตุว่า เหตุใดโครงการจ้างเหมาตัดโค่น ลำเลียงต้นยางพารา ที่จากกองจัดการสวนยางพารา 1 ไปที่กองจัดการโรงงานไม้ยาง อ.ทุ่งใหญ่ นครศรีธรรมชาติ จึงไม่ใช้วิธีการเปิดประมูล แต่กลับเป็นการจ้างแบบเจาะจง จนถูกตั้งคำถามเรื่องความโปร่งใส



โดยรองผู้ว่าการการฯ ระบุว่าแปลงดังกล่าวอยู่ในระหว่างกลับมาขอขึ้นทะเบียนมาตรฐาน FSC ซึ่งเป็นมาตรฐานองค์การจัดการด้านป่าไม้ ทำให้ต้องคัดเลือกว่าจ้างบริษัทที่มีคุณภาพเหมาะสม



ส่วนกรณีที่พบว่า มีรถบรรทุกลำเลียงไม้ออกจากแปลงตัดไม้ไปเข้าโรงงานเอกชน ยืนยันว่าไม้ยางพาราในแปลงส่วนที่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดในทีโออาร์ จะถูกลำเลียงเข้าโรงงานกองจัดการไม้ ของกยท. โดยมีมาตรฐานและหลักฐานการตรวจนับ แต่ไม้ที่ผ่านมาตรฐาน ตามกำหนด กองจัดการสามารถตั้งคณะกรรมการพิจารณาขายให้เอกชนได้ ส่วนเหตุผลที่ไม่เปิดประมูลซื้อไม้ที่ไม่ผ่านมาตรฐานดังกล่าว ก็เพราะที่ผ่านมาไม้แต่ละล็อต มีมูลค่าการขายไม่เกิน 5 แสนบาท ต่อวัน



ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีชี้แจงว่านอกจากไม้ที่ไม้ผ่านมาตรฐานแล้ว หากพบว่าไม้ที่ตัดโค่นลงแล้ว แม้จะเป็นไม้ที่ผ่านมาตรฐา แต่หากวันนั้นตัดลงมาแล้วเกินกว่า 70 ตัน ต่อวัน ซึ่งเกินกว่าศักยภาพการผลิตของโรงงงานของการยางฯ คณะกรรมการฯดังกล่าว ก็มีสิทธิ์พิจารณาขายให้เอกชนได้ เพื่อไม่ให้ไม้ที่ตัดแล้วเสื่อมคุณภาพ



อีกด้านหนึ่ง ข่าว 3 มิติตรวจสอบจากผู้ร้อง ถึงคำชี้แจงดังกล่าว ที่ยืนยันว่าการที่มีคณะกรรมการคัดเลือกไม้ ณ แปลงที่ตัด เพื่อพิจารณาขายไม้ที่คุณภาพไม่ผ่านให้เอกชน รวมถึงไม้ที่ต่อให้คุณภาพผ่าน แต่หากตัดโค่นเกินกว่า 70 ตันต่อวัน ซึ่งเกินศักยภาพของโรงแปรรูปของการยางนั้น ผู้ร้องตั้งข้อเป็นไปได้หรือไม่ที่จะจงใจใช้ดุลพินิจผิดพลาดทั้งการประเมินไม้ และการตัดโค่นทีเกินกำลังผลิตต่อวัน



ขณะที่รองผุ้ว่าการฯ กยท. ยืนยันว่าข้อสังเกตของผู้ร้อง มีหลักฐานที่พร้อมให้ตรวจสอบได้ทุกเมื่อ สำหรับไม้ยางพารา 1300 ไร่นี้ เป็นส่วนหนึ่งของไม้กว่า 3 หมื่นไร่ ของ กยท. ที่อยู่ในนครศรีธรรมราช และอยู่ในแผนที่ตัดโค่น เพื่อแปรรูป โดยเริ่มที่แปลงนี้ก่อน กระทั่งมีผู้ร้องเรียนความโปร่งใสดังกล่าว

คุณอาจสนใจ