สังคม

เจาะปัญหาทุจริตใน อปท. หลายแห่ง สร้างความเสียหายเกือบ 200 ล้าน

โดย panwilai_c

20 ม.ค. 2566

128 views

หลังจากเมื่อวานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินเทศบาลตำบลลาดยาว จังหวัดนครสวรรค ถูกจับฐานยักยอกเงินกว่า 15 ล้าน ซึ่งผู้ต้องหาสารภาพว่ายักยอกไปใช้หนี้พนันออนไลน์ ซึ่งทางคดีอยู่ระหว่างทำสำนวนส่งฟ้อง ขณะที่เลขาธิการ ปปท.เปิดเผยกับข่าว 3 มิติ ว่า ยังมีช่องว่างอีกมาก ที่ก่อให้เกิดการทุจริตที่เรียกว่าไซเบอร์ คอร์รัปชัน โดยเบาะแสตอนนี้พบความเสียหายที่อยู่ระหว่างติดตามอีกว่า 100 ล้าน โดยก่อนหน้านี้มีองค์กรท้องถิ่นหลายแห่งสูญเงินไปเกือบ 200 ล้านบาท



ช่องว่างที่เจ้าหน้าที่ตรวจพบ จากการจับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินเทศบาลตำบลลาดยาว จ.นครสวรรค์ ยักยอกเงินกว่า 15 ล้านบาทเมื่อวานนี้ คือการที่หัวหน้าหน่วย ซึ่งมีหน้ามีตรวจสอบรายละเอียดค่าใช้จ่าย ก่อนใช้รหัสอนุมัติโอนเงิน แต่กลับไว้ใจให้รหัสนั้นแก่เจ้าหน้าที่ระดับปฎิบัติการ ทำให้เจ้าหน้าที่ คนนั้น มีทั้งรหัสตั้งงบประมาณ และรหัสอนุมัติโอนเงินด้วยตัวเอง และเมื่อยักยอกแล้ว ก็ยังทำสลิปรายการใช้จ่ายปลอม จนหน่วยงานต้นสังกัดตรวจไม่พบ



ขณะเดียวกัน ข่าว 3 มิติก็ได้ข้อมูลว่ามีหนึ่งในช่องว่างของปัญหานี้คือ ในระบบเบิกจ่ายปัจจุบันเอกสารของหน่วยงาน จะตั้งชื่อบุคคล พร้อมแนบเลขบัญชีธนาคารกำกับไว้แล้ว แต่ในขั้นตอนที่จะโอนพร้อมกันหลายรายการ พนักงานที่ตั้งใจทุจริต จะสอดแทรกเลขบัญชีตนเอง หรือบัญชีอื่น ที่ต้อการโอนไป ลงในบัญชีที่ควรจะได้รับจริง



ซึ่งตรงนี้มีช่องโหว่ตรงนี้ ธนาคารจะอนุมัติโอนเงินตามเลขบัญชีที่หน่วยงานตั้งมา โดยไม่ได้ยึดหรือผูกกับชื่อในเอกสารที่กำกับมา ดังนั้นเมื่อมีการโอนเงินครั้งละหลายร้อยรายการ จึงเกิดการสอดแทรกเลขบัญชีคนอื่น ลงในชื่อคนหรือบริษัทที่ควรจะได้รับเงินจริง และกลายเป็นการยักยอกไปในที่สุด วิธีการนี้เป็นเพียงหนึ่งในหลายช่องทางการยักยอกเงินผ่านระบบออนไลน์



ก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ปปท.พบการยักยอกเงินแบบนี้ และมักทำนอกเวลาราชการทำให้รัฐเสียภายกว่า 199 ล้านบาท ยกตัวอย่างที่ อบต.แม่ตะควน เสียหาย 26 ล้าน อบต.ท่าสักเสียหาย 11 ล้าน สำนักงาน สสจ.กำแพงเพชร เสี่ยหาย 8 ล้าน หรือกรณี ที่จ.อุบลราชธานี เทศบาลตำบลบุณฑทริก เสียหยา 31 ล้าน และเทศบาลนครอุบลราชธานี เสียหาย 58 ล้าน เป็นต้น



เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. ระบุว่าไซเบอร์คอร์รัปชัน หรือการทุจริตที่ซับซ้อนบนธุรกรรมออนไลน์ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องรู้เท่าทันและให้อำนาจที่มีเพื่อป้องกันให้รวดเร็ว



ขณะเดียวกัน เลขาธิการ ป.ป.ท.ชี้ให้เห็นว่า ความร่วมมือกันของภาครัฐทำให้ประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ผู้เห็นเบาะแส กล้าที่จะให้ข้อมูล และทำให้การตรวจสอบข้อมูลั้นเข้มข้นขึ้น โดยกรณีล่าสุดนี้ มีทั้งตำรวจปปป. เจ้าหน้าที่ปปช. และปปง.ที่ติดตามพฤติกรรมการฟอกเงินเข้าร่วมภารกิจตั้งแต่ต้น ทำให้เห็นข้อเท็จจริงร่วมกันตั้งแต่ต้น จะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดีและติตดามเงินภาษีของรัฐกลับคืนมาด้วย

คุณอาจสนใจ

Related News