สังคม

เปิดใจ 'ครูตี๋' คว้ารางวัลสิ่งแวดล้อมโลก หลังสู้ 20 ปี ต้านระเบิดเกาะแก่งน้ำโขง

โดย panwilai_c

26 พ.ค. 2565

67 views

มูลนิธิ Goldman Enviornmental Foundation มอบรางวัลเชิดชูเกียรติ 7 นักกิจกรรมสิ่งแวดล้อม รวมถึง "ครูตี๋ นิวัฒน์ ร้อยแก้ว" จากกลุ่มรักษ์เชียงของ จังหวัดเชียงราย ประเทศไทยเป็นตัวแทนเอเชีย จากผลงานการต่อสู้ต้านระเบิดแก่งแม่น้ำโขง มากว่า 20 ปี จนรัฐบาลไทยยกเลิกมติครม.เมื่อปีที่แล้ว



ครูตี๋ นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว จากประเทศไทย เป็น 1 ใน 7 นักกิจกรรมสิ่งแวดล้อม ที่มูลนิธิ Goldman Environmental Foundation ประกาศผู้รับรางวัล Goldman Environmental Prize ประจำปี 2022 ซึ่งเป็นรางวัลที่สำคัญที่สุดสำหรับนักกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมระดับรากหญ้า จากผลงานร่วมกับกลุ่มรักษ์เชียงของ และประชาชนลุ่มน้ำโขง ต่อสู้ต้านการระเบิดแก่งแม่น้ำโขง ร่วมกับชาวบ้านนำเรือประมงไปปิดล้อมเรือสำรวจแก่งของจีน จนเป็นที่มาของการยื่นเรื่องไปยังหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องใช้เวลาถึง 20 ปี ในการณรงค์ ส่งผลให้รัฐบาลไทยยุติโครงการระเบิดแก่งแม่น้ำโขง ด้วยการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อปี 2563 ถือเป็นการยุติโครงการข้ามแดนโครงการหนึ่งที่จะทำลายสิ่งแวดล้อมของแม่น้ำโขง และครูตี๋ ยังต่อสู้เพื่อนุรักษ์แม่น้ำโขง จากโครงการขนาดใหญ่เช่นเขื่อนในแม่น้ำโขง และการสร้างการเรียนรู้ผ่านโฮงเฮียนแม่น้ำของ



รางวัลนี้ได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี 1989 โดยนักการกุศลและผู้นำพลเมือง Rhoda และ Richard Goldman ตลอดช่วงเวลา 33 ปี รางวัล Goldman Environmental Prize ได้สร้างผลกระทบอย่างไม่อาจนับได้ต่อโลก มอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะรวมทั้งสิ้น 213 คน จาก 93 ประเทศรวมถึงผู้หญิง 95 สำหรับประเทศไทย นางเตือนใจ ดีเทศน์ เป๊นคนไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้เมื่อปี 2537 จากการร่วมกับชุมชนอนุรักษ์ต้นน้ำแม่จัน แม่สลอง และในปี 2545 นายพิสิทธิ์ ชาญเสนาะ ได้รับคนที่สอง ก่อนจะทิ้งเวลาถึงื 20 ปี ครูตี๊มาได้รางวัลเป็นคนที่ 3 และนับจากมีการก่อตั้งในปี 1989 ตลอดช่วงเวลา 33 ปี มีผู้ได้รับรางวัลไปแล้ว 213 คนจาก 93 ประเทศ



สำหรับผู้ได้รับรางวัลอีก 6 คน จากทวีปแอฟริกา เป็น Chima Williams นักกฏหมายสิ่งแวดล้อมจากประเทศไนจีเรีย เที่ทำงานร่วมกับสองชุมชนเพื่อให้บริษัท Royal Dutch Shell ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากน้ำมันรั่วไหลในปี 2564



ทวีปยุโรป ผู้ได้รับรางวัล Marjan Minnesma จากประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้สร้างชัยชนะอย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เธอได้ใช้ความคิดเห็นของประชาชน ร่วมกับกลยุทธ์ด้านกฎหมายที่แตกต่างไม่เหมือนใคร เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตัดสินต่อรัฐบาลเนเธอร์แลนด์ต้องออกกฎหมายด้านมาตรการป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างเฉพาะเจาะจง และสั่งให้รัฐบาลลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระดับที่พบในปี 1990 ลง 25% ภายในสิ้นปี 2020



ขณะที่ Julien Vincent จากประเทศออสเตรเลีย เป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลจากตัวแทนหมู่เกาะและประเทศเกาะ จากการรณรงค์ให้มีการตัดงบที่ให้กับอุตสาหกรรมถ่านหินในประเทศออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศส่งออกถ่านหินรายใหญ่ประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ส่งผลให้เกิดคำมั่นสัญญาจากธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดสี่แห่งของประเทศว่าจะหยุดให้เงินทุนกับโครงการถ่านหินภายในปี 2030



Nalleli Cobo จากประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยวัยเพียง 19 ปี Nalleli Cobo นำพันธมิตรในชุมชนให้เคลื่อนไหวเพื่อปิดสถานที่ขุดเจาะน้ำมันที่เป็นพิษในชุมชนของเธอได้อย่างถาวรในเดือนมีนาคม 2020 ซึ่งเป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอย่างร้ายแรงกับเธอและคนอื่น ๆ



ขณะที่ Alex Lucitante และ Alexandra Narvaez จากประเทศเอกวาดอร์ ตัวแทนอเมริกาใต้และอเมริกากลาง เป็นผู้นำการเคลื่อนไหวของชนพื้นเมืองเพื่อปกป้องดินแดนจากบรรพบุรุษของผู้คนจากการทำเหมืองทอง ความเป็นผู้นำของพวกเขาส่งผลให้ได้ชัยชนะทางกฎหมายที่จะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ในเดือนตุลาคม 2018 โดยศาลของประเทศเอกวาดอร์ได้ยกเลิกการให้สัมปทานการทำเหมืองทองที่ผิดกฎหมาย 52 สัมปทาน รางวัล Goldman Environmental Prize จึงมีความสำคัญต่อนักกิจกรรมรากหญ้าทั่วโลกต่อการปกป้องสิ่งแวดล้อม

คุณอาจสนใจ

Related News