สังคม

'พระธรรมกิตติเมธี' ชี้เคสบุกสอบ 'หลวงปู่แสง' สะท้อนปกครองสงฆ์มีปัญหา

โดย panwilai_c

13 พ.ค. 2565

1.5K views

การปกครองของคณะสงฆ์ จะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนและลำดับชั้นตั้งแต่เจ้าคณะตำบลไปจนถึง เจ้าคณะภาค หากพระสงฆ์กระทำผิด ก็จะมี พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กำหนดบทลงโทษทางพระธรรมวินัยไว้ชัดเจน



ในกรณีที่ผิดวินัยร้ายแรงถึงขั้นอาบัติปาราชิก จะต้องตั้งคณะกรรมการ หรืออธิกรณ์ขึ้นมาชี้มูล แต่หากเป็นกรณีไม่ร้ายแรงก็จะมีพระวินยาธิการ หรือตำรวจพระ เป็นผู้ตรวจสอบ ทางผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส สะท้อนว่า การตรวจสอบปัญหาพระสงฆ์อยู่ในสภาพเกียร์ว่าง โดยกรณีของหลวงปู่แสง จะสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของ 2 กลุ่ม ทั้งกลุ่มหมอปลา และกลุ่มลูกศิษย์ใกล้ชิด



หลายครั้งในอดีต มีการร้องเรียนข้อกล่าวหาพระสงฆ์ ซึ่งชื่อเสียง ในข้อหาอาบัติปารชิก เช่นอดีตพระยันตระ อัมโรภิกขุ ซึ่งมีโยมอุปฐาก หลายคนออกมาร้องเรียนและแสดงหลักฐานพฤติกรรมของอดีตพระยันตระ กล่าวหาการเสพเมถุน โดยมีมหาเถระสมาคมและพระชั้นปกครอง สอบข้อเท็จจริง นำไปสู่การให้ลาสิกขา ขาดจากการเป็นพระสงฆ์



หรือการฟ้องร้องนายจำลอง คนซื่อ หรือ อดีตพระภาวนาพุทโธ อดีตเจ้าอาวาส วัดสามพราน ถูกกล่าวหา ปาราชิกต่อเด็กชาวเขา ซึ่งคำกล่าวหาได้มีการเข้าตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบ จนนำไปสู่การฟ้องดำเนินคดีขึ้นสู่ศาล ถูกตัดสินจำคุก 50 ปี ต้องโทษจริง 26 ปี พ้นโทษเมื่อปี 2563 โดยมีเงินเก็บระหว่างต้องโทษ 14 ล้านบาท

การตรวจสอบข้อกล่าวหาร้ายแรงพระสงฆ์ หลักฐานส่วนใหญ่จะมาจากบุคคลใกล้ชิด หรือโยมอุปฐาก ที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ที่วัดร้องเรียนมายังสื่อสารมวลชนและคณะชั้นปกครองสงฆ์ จนนำไปสู่การสอบสวนของเจ้าหน้าที่



แต่ข้อครหาก็มีบางครั้ง ที่มาจากการขัดแย้งผลประโยชน์กันภายในวัด การแบล็คเมล์ หรือ หากมีการกระทำเพื่อหวังผล ถึงขั้นการเรียกรับผลประโยชน์ก็อาจมีการจัดฉาก



ตามกฎหมาย พรบ.คณะสงฆ์ 2561 บัญญัติว่า ถ้ามีการกล่าวหาพระภิกษุสงฆ์เสพเมถุน จะมีลำดับขั้นตอน โดยพระปกครองต้นสังกัดตั้งแต่เจ้าคณะตำบล อ. จังหวัด ตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือ ตั้งอธิกรณ์สอบสอบ



ถ้าคดีมีมูล ไม่ถึงขั้นเสพเมถุน ความผิดตามวินัยสงฆ์ คือ อาบัติสังฆาทิเสส บทลงโทษ คือให้อยู่กรรม หรือขังเดี่ยว กักบริเวณห้ามสมาคมพระอื่น 6 ราตรี หรือตามจำนวนวันที่ปกปิดไว้ หากถึงขั้นเสพเมถุน ความผิดจะถึงขั้นอาบัติปาราชิก บทลงโทษตามพระวินัย ต้องสึกจากการเป็นพระ และห้ามบวชใหม่



พระธรรมกิตติเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส สะท้อน มุมมองว่า ต้องยอมรับว่า การปกครองดูแลของคณะสงฆ์เองมีปัญหา หรือที่เรียกว่าเกียร์ว่าง และพระวิญญาธิการ ซึ่งมีเจ้าคณะและรองเจ้าคณะภาค ก็ไม่มีกม.รองรับ เวลาจะไปจับพระ ก็ต้องพาเจ้าหน้าที่บ้านเมืองไปด้วย



ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นกับ หลวงปู่แสงจะมองเป็น 2 ประเด็น กรณีของหมอปลา ที่นำพาสื่อมวลชนไป ก็เข้าข่ายบุกรุก รวมทั้งพยานหลักฐานมีไม่เพียงพอ



ขณะที่อีกด้าน ฝั่งลูกศิษย์ของหลวงปู่แสง ก็ทราบดีว่า หลวงปู่แสงมีอาการป่วยเป็นอัลไซเมอร์ แต่ยังมีการชวนเชื่อเกินจริงว่าเป็นพระอรหันต์ ให้ญาติโยมเข้ารักษาโรคต่างๆ ซึ่งตามหลักแล้วลูกศิษย์ไม่สมควรทำ และต่อจากนี้พระสังฆาธิการ เจ้าคณะภาค 10 ธรรมยุต ซึ่งดูแล 6 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องเข้าไปตรวจสอบ



ขณะที่การกล่าวหา หลวงปู่แสง ถ้าสืบความ คำยืนยันจากแพทย์ได้ว่า หลวงปู่แสงมีอาการป่วยเป็นอัลไซเมอร์ จึงไม่จำเป็นต้องตั้งคณะกรรมการสอบสวน ไม่ถือว่าผิด ไม่มีสติครองตัวเองไม่ได้

คุณอาจสนใจ

Related News