สังคม

เอกชน-รัฐบาล สปป.ลาว เปิดศึดชิง ไม้พะยูง' 11 ตู้คอนเทนเนอร์ หลังอัยการไทยชี้เป็นไม่ใช่ไม้ที่ตัดในไทย

โดย pichaya_s

10 เม.ย. 2564

218 views

กรณีคดีพิพาทไม้พะยูง 11 ตู้คอนเทนเนอร์ ที่ถูกตรวจยึดไว้ตรวจสอบตั้งแต่ปี 2549 และข่าว 3 มิติ ก็ติดตามเรื่องนี้มาตั้งแต่เริ่มต้น ถึงขณะนี้ก็ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ แม้อัยการสั่งไม่ฟ้องและสรุปว่าเป็นไม่ใช่ไม้พะยูงที่ตัดในไทย เพราะมีผู้อ้างเป็นมีสิทธิ์ขอรับไม้คืนอย่างน้อย 2 ราย รายหนึ่งคืออ้างเป็นตัวแทนบริษัทพงสะหวัน ซึ่งเป็นเอกชนจากลาว และอีกรายอ้างว่า รับมอบอำนาจมาจากทางการลาวเมาขอไม้คืนไป ข่าว 3 มิติได้พบกับตัวแทนทั้ง2 ราย เราเริ่มจากตัวแทนบริษัทพงสะหวัน


โดยปี 2549 ไม้พะยูง 11 ตู้ ถูกยึดเป็นของกลางในคดีที่ ตำรวจบก.ปทส. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ตามมาจากมุกดาหาร ซึ่งขณะนั้นสงสัยว่า ไม้ที่ข้ามแดนจากฝั่งสปป.ลาว อาจเป็นไม้สวมตอ ลักลอบตัดจากฝั่งไทย ปลอมเอกสารผ่านด่าน โดยอาศัยไทยเป็นทางผ่านรอส่งต่อประเทศจีน ไม้ทั้งหมดถูกยึดและเก็บรักษาไว้ในพื้นที่เอกชนย่านลาดกระบัง


แต่หลังจากอัยการสั่งไม่ฟ้องด้วยเหตุผลเพราะหลักฐานไม่พอฟ้อง ที่ผ่านมาจึงมีคนหลายกลุ่ม อ้างสิทธิ์เป็นเจ้าของไม้กว่า 1600 ท่อน มูลค่าหลายร้อยล้านบาท และบริษัทพงสะหวัน วู้ด อินดรัสทรี่ ก็เป็นอีกหนึ่งเอกชนจาก สปป.ลาว ที่ออกมาเคลื่อนไหว อ้างสิทธิชอบธรรมเป็นเจ้าของตัวจริง ในฐานะเอกชนที่ได้สัมปทานทำไม้และผู้ที่เคยว่าจ้างบริษัทชิปปิ้งให้ขนไม้ข้ามแดน กระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ฝั่งไทยตรวจยึดขณะรอผ่านด่านศุลกากรที่ลาดกระบัง ในเดือนสิงหาคมเมื่อ 15 ปี ที่แล้ว โดยมอบอำนาจให้นายคำสะไหว พมมะจัน ตามไม้ทั้งหมดคืนให้กับพงสะหวัน


โดยสำเนาเอกสารที่นายคำสะไหว นำมาชี้แจงเพื่อยืนยันว่า ไม้ที่ขนข้ามมาในปี 2549 ไม่ใช่ไม้เถื่อนที่ลักลอบตัด แต่มีหลักฐานที่รับรองโดยหน่วยงานของรัฐ ทั้งตราประทับ ปมล.ที่แปลว่าป่าไม้ลาว รวมทั้งใบกำกับการขนส่ง และบัญชีไม้พะยูงที่อ้างว่าได้มาจากพื้นที่สร้างเขื่อน จำนวนมหาศาล


นายคำสะไหว ตั้งข้อสังเกตถึงกระบวนการที่ล่าช้า โดยมองว่า อาจมีคนบางกลุ่มหรือบางหน่วยงานกลั่นแกล้ง ถ่วงเวลาเพื่อหวังประโยชน์จากไม้ล็อตนี้หรือไม่ จึงทำหนังสือถึง พลตำรวจตรีพิทักษ์ อุทัยธรรม ผู้บังคับการปทส. ประสานกับศุลกากรเข้าตรวจสอบไม้พะยูง ร่วมกับรองอธิบดีกรมป่าไม้ นัดหมายเข้าพิสูจน์พร้อมกันบ่ายวันนี้


แต่ในช่วงสายที่ผ่านมา ศุลกากรทำหนังสือด่วน แจ้งขอเลื่อนไม่มีกำหนด โดยอ้างถึงความจำเป็นจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19


ข่าว 3 มิติ พบว่า นอกจากบริษัทพงสะหวัน ยังมีเอกชนอีกหลายรายอ้างกรรมสิทธิ์ หนึ่งในนั้นก็คือ เอกชนผู้ที่อ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากรัฐบาลลาว ติดตามไม้ล็อตนี้ โดยมีนายสมสัก แก้วผาลี เป็นผู้ตามไม้ โดยกล่าวหาว่า ไม้และเอกสารที่นายคำสะไหวอ้าง เป็นไม้เถื่อนที่ลักลอบขนออกนอกประเทศ


ขณะที่นายท้าวสมศักดิ์ แก้วผาลี ได้แสดงตัวต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรไทยหลายครั้ง พร้อมเอกสารที่อ้างว่า รับมอบอำนาจมาจากทางการลาวให้มาเป็นผู้ประสานการรับมอบไม้ทั้งหมดกลับไป โดยยอมรับว่า ทางการลาวไม่ได้มีนโยบายให้ตัดไม้พะยูงส่งออก และทราบว่าเป็นไม้จากลาวหลังถูกทางการไทยจับไว้ เมื่อเห็นว่าเป็นไม้ที่ลักลอบนำออกโดยไม่ถูกกฎหมายจึงต้องส่งคืนให้ทางการลาวกลับไปดำเนินการตามกฎหมายต่อไป


นายท้าวสมศักดิ์ แก้วผาลี ยืนยัน เป็นตัวแทนรัฐบาลลาว เข้ามาติดตาม ไม้พะยูง 11 ตู้คอนเทนเนอร์ ที่เคยถูกยึดไว้ตรวจสอบกลับไป หลังจากที่อัยการไทย สั่งให้คืยแก้ผู้มีสิทธิที่แท้จริง หลังจากไทยไม่มีหลักฐานว่าเป็นไม้ที่ตัดในประเทศไทย


โดยมีหนังสือที่ระบุ ตัวตนเขา ข้อความที่ทางลาวประสานงานกับรัฐบาลไทยพบการลักลอบนำไม้ข้ามแดนผ่านประเทศไทยเมื่อปี2549


1 กันยายน 2549 เจ้าหน้าที่ป่าไม้ไทย นำโดยนายสุรเดช อัครา อดีตผอ.ทสจ.มุกดาหาร ขณะนั้นเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ระดับ 7 นำกำลังตรวจยึดไว้ตรวจสอบหลังสงสัยว่า อาจนำไม้พะยูงไทย สวมใบขนเป็นไม้จากสปป.ลาวหรือไม่


ตามบันทึกจับกุม ฉบับนี้


ต่ภายหลัง อัยการ ทำความเห็นไม่สั่งฟ้อง เพราะเจ้าหน้าที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นไม้ ที่ตัดในประเทศหรือไม่ จึงให้คืนไม้ทั้งแก่ ผู้มีสิทธิ์ ไปในปี 2553 แต่กลับพบว่า จากนั้นก็มีผู้มาแสดงตัวเป็นเจ้าของหลายกลุ่ม


และนี่เป็นใบเสร็จ ค่าฝากไม้ของกลางให้กับเอกชนที่เช่าลานเก็บที่ลาดกระบัง เป็นหลักฐานที่ท้าวสมศักดิ์ ยืนยันว่า ผู้ฝากไม้ไว้กับไทยเป็นใคร พร้อมตั้งข้อสงสัย ว่าเมื่อไม้สามารถพิสูจน์ได้ว่า เป็นไม้ของไทย จึงถือเป็นคดีนอกราชอาญาจักร ทำไม ไม่คืนไม้กับทางการลาว หากใครมีหลักฐานเป็นเจ้าของก็นำหลักฐานไปโต้แย้งสิทธิ์กันในประเทศลาวแทนการพยายาม รับมอบของกลาง เพื่อจะส่งออกไปอีกครั้ง


ไม้พะยูง ถูกขึ้นทะเบียนเป็นไม้หวงห้ามในประเทศไทย และขึ้นทะเบียน ในบัญชี 2 ของอนุสัญญาไซเตส ห้ามค้าระหว่างประเทศ เมื่อ12 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ทำให้ไม้พะยูงที่ตัดไม่ว่าจะแหล่งใดห้ามนำออกจากราชอาณาจักรเด็ดขาด


แต่การที่ไทยจับไม้ 11 ตู้คอนเทนเนอร์นี้ได้ในปี 2549 และมีคำสั่งคืนให้เจ้าของ ก็ถูกมองว่า เป็นเสมือนการรับรองในตัวว่า ไม้ทั้งหมดนี้ตัดมาก่อนปี2556 หรือห้ามส่งออกเพื่อการค้า หากใครไปก็สามารถนำออกขายให้แก่ผู้สนใจได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะผิดกฎหมาย หรือไม่

คุณอาจสนใจ

Related News