ประชาสัมพันธ์

"SU Smart Plus" พลิกโฉม ม.ศิลปากร สู่ Digital University ตอบโจทย์นักศึกษาง่าย ๆ ด้วยแอปเดียว

โดย paweena_c

14 ธ.ค. 2566

921 views

"SU Smart Plus" พลิกโฉมมหาวิทยาลัยศิลปากร สู่ Digital University ตอบโจทย์ Digital Lifestyle ของนักศึกษาง่าย ๆ ด้วยแอปเดียว


ตามที่มหาวิทยาลัยศิลปากรได้เปิดให้นักศึกษา Download Application SU Smart Plus เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 โดยมุ่งเน้นให้เป็นเพื่อนร่วมทางไปกับนักศึกษา ตลอดช่วงเวลาที่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยศิลปากร  ซึ่งในปัจจุบันมีนักศึกษาเข้าใช้งานมากกว่า 76% ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมดประมาณ 29,000 คน

SU Smart Plus Application ได้รับการสนับสนุนจาก KBank และมหาวิทยาลัยศิลปากรได้ร่วมพัฒนากับ บริษัทออด-อี ประเทศไทย (จำกัด) แบบ Co-creation ซึ่งมีนักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยที่สหกิจกับบริษัทร่วมกันพัฒนา โดยใช้แนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ Agile เพื่อมุ่งเน้นให้เป็นเพื่อนร่วมทางของกับนักศึกษาอย่างแท้จริง

จนถึงปัจจุบันได้มีการเปิดตัวฟีเจอร์หลัก ๆ ที่จำเป็นสำหรับนักศึกษาแล้ว 10 ฟีเจอร์ รวมฟีเจอร์ e-Academic Form การยื่นคำร้องออนไลน์ ผ่าน SU Smart Plus ที่จะช่วยให้การยื่นคำร้องต่าง ๆ ของนักศึกษาเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว จบภายในแอปเดียว โดยนักศึกษาไม่ต้องเข้า Form อื่น หรือ Print กระดาษไปยื่นให้อาจารย์เซ็นด้วยตนเองอีกต่อไป

โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ภก.ธนะเศรษฐ์ ง้าวหิรัญพัฒน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ ดร.สุภาพ เกิดแสง ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศิลปากร และคุณชนิตา อนุวงศ์ Agile coach  บริษัท ออด-อี (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมให้สัมภาษณ์


ทำความรู้จักกับเบื้องหลังที่ปลุกปั้น SU Smart Plus เริ่มตั้งแต่ Product Owner หรือเรียกว่าเป็น Policy Maker ที่วางแผนการเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ Digital University อย่างเต็มรูปแบบ โดยมี SU Smart Plus มาช่วย และในส่วนของ Implementer ที่นำ Policy มาดำเนินการ และทางฝั่งของ Developer ที่ร่วม Co-Creation โดยปัจจุบัน SU Smart Plus มียอดดาวน์โหลดอยู่ที่ 51K รวมทั้ง 2 แพลตฟอร์ม (IOS และ Android) และยอดนักศึกษาที่เข้ามาใช้งานตอนนี้อยู่ที่ 2 หมื่นกว่าคน คิดเป็น 76% ของนักศึกษาทั้งหมดในมหาวิทยาลัย และ Rating ของ Application อยู่ที่ 4.8 ทั้ง 2 แพลตฟอร์ม แสดงถึงการตอบรับที่ดี

และเพื่อก้าวสู่ Digital University ภายในปี 2570 มหาวิทยาลัยมีแนวทางหรือกลยุทธ์ในการบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับการศึกษา และการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างนวัตกรรมและปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้ กล่าวคือ

Digital University เป็นเป้าหมายหนึ่งที่มหาวิทยาลัยต้องการไป เพื่อที่จะทำให้นักศึกษาทุกคนได้ใช้ประโยชน์จากความเป็นดิจิทัล โดยมีเป้าหมายที่แท้จริงคือทุกระบบเชื่อมต่อกันโดยสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามช่วงนี้ได้มีการพัฒนาในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ สื่อการเรียนการสอน ที่มีการตอบโต้ได้ แม้กระทั่งแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ เช่น SU Smart Plus ที่มีฟีเจอร์เพื่อช่วยให้นักศึกษาทำงานได้สะดวกขึ้นในการประสานงานติดต่อกับมหาวิทยาลัย โดยมีสำนักดิจิทัลฯ และหน่วยงานต่าง ๆ ร่วมมือกัน นอกจากนี้มหาวิทยาลัยก็จะมีการพัฒนาระบบ ERP เพื่อเชื่อมต่อการทำงานในระบบต่าง ๆ และ เชื่อม Big Data เข้าด้วยกัน ให้เป็นวงจรที่สมบูรณ์ โดยผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถดูข้อมูลได้แบบ Real Time ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่ทางมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการเป็น Digital University ต่อไป


จุดสำคัญในส่วนของนักศึกษา คือการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย ในลักษณะ Digital Lifestyle ภาพของการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยในยุคดิจิทัลคือ นักศึกษาควรได้ใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันเราควรลดการใช้กระดาษลง ถ้าเราสามารถเชื่อมกับระบบ REG ได้ทั้งหมด และให้นักศึกษาเข้ามาใช้บนระบบนี้ ซึ่งนักศึกษารุ่นใหม่ ๆ ก็จะถนัดใช้งานดิจิทัลแพลตฟอร์มอยู่แล้ว หรือแม้กระทั่งการประยุกต์การใช้งานออนไลน์กับออฟไลน์เข้าด้วยกัน เช่น ระบบการเรียนการสอนก็ตาม คิดว่าในอนาคตมหาวิทยาลัยอาจจะต้องมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปในการพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นภาพที่อยากให้มหาวิทยาลัยมีความก้าวหน้าทางด้านดิจิทัลมากขึ้นไปเรื่อย ๆ

ตอนนี้ไม่เพียงแค่นักศึกษา แต่ทุกคนนั้นมีมือถือกัน, Mobile ก็เป็นเหมือนปัจจัยที่ 5 ของเราไปแล้ว เดี๋ยวนี้เราก็แทบจะไม่ต้องเดินทางไปธนาคารเองแล้ว ก็ใช้อยู่บนมือถือกันหมด นักศึกษาก็เช่นเดียวกัน ก็ใช้มือถือ หรือแท็บเล็ต ในการทำงาน เนื่องจากว่าทำให้ทำงานได้ไว สะดวก สามารถที่จะเชื่อมต่อการทำงานกับคนอื่น ๆ ได้ ลดระยะเวลาในการทำงาน และทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น เพราะฉะนั้นการที่เรามุ่งสู่ Mobile หรือการพัฒนา SU Smart Plus เป็นเรื่องที่มาถูกทาง


ในส่วนของฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดงานในวันนี้ เป็นเหมือนการกดปุ่ม START ให้กับฟีเจอร์นี้ จากที่ได้ขับเคลื่อนบุคลากรด้วยการใช้ระบบ d-Saraban โดยเปลี่ยนวิถีการทำงานจากกระดาษสู่ระบบดิจิทัล ในส่วนของคำร้องออนไลน์ของนักศึกษา ทำให้เราจะสามารถลดการใช้กระดาษ ทำให้ระยะเวลาในการติดต่อประสานงานเร็วขึ้น นักศึกษาก็ไม่ต้องมาที่สถานที่ สามารถเช็คขั้นตอนต่าง ๆ ผ่านมือถือว่าการส่งคำร้องนี้ไปถึงไหนแล้ว และมี Notify แจ้งเตือน ทำให้ทราบว่าอาจารย์ได้เซ็นหรือยัง ซึ่งทำให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และเอกสารก็ไม่สูญหาย เพราะทุกอย่างอยู่บนระบบทั้งหมด

ในเรื่องของแนวทางการพัฒนา SU Smart Plus Version ใหม่ ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลเทคโนโลยี เสนอว่า แนวทางที่พูดถึงกันอยู่บ่อยๆ คือ แอปธนาคาร ที่ทุกวันนี้ทุกอย่างแทบจะทำได้บนแอปแอปเดียว โดยไม่ต้องไปที่ธนาคารอีกแล้ว ซึ่งเป็นเป้าหมายของสิ่งที่เราพูดถึงกันว่าเป็น Digital Transformation ถ้าเราสามารถที่จะลดความจำเป็นที่จะต้องมาติดต่อที่เคาน์เตอร์ได้ อันนี้ก็คือความเป็นดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งท่านอธิการบดีมีนโยบายที่มุ่งมั่นในการที่จะทำ Transformation

สำหรับวันนี้เป็นเรื่องระบบคำร้องของนักศึกษา ก็เป็นหมุดหมายที่สำคัญอีกอันหนึ่ง ซึ่งเมื่อก่อนนักศึกษาอาจจะยังต้องมีการยื่นฟอร์มกระดาษ พอท่านอธิการบดีเปิดงานในวันนี้ ก็จะไม่มีกระบวนการที่เป็นกระดาษอีกเลย จึงเป็นมายสโตนที่สำคัญของมหาวิทยาลัย และคิดว่าจะเป็นจุดที่มหาวิทาลัยศิลปากรเริ่มเข้าสู่มหาวิทยาลัยดิจทัลแล้ว



วันนี้เป็นการเฉลิมฉลองยอดดาวน์โหลดมากกว่า 50k ซึ่งเป็นยอดที่สูง และเรทติ้งที่สูง ซึ่งเราได้รับความร่วมมือจากทั้งมหาวิทยาลัย และบริษัท KBank ที่สนับสนุนงบประมาณ และบริษัทออด-อี ที่เป็นพาร์ทเนอร์ในการทำตัวแอปพลิเคชัน รวมถึงนักศึกษาสหกิจจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เข้ามาร่วม Co-Creation ในแอปพลิเคชันนี้ด้วย ซึ่งการพัฒนาแอปฯ นี้จนสำเร็จก็เป็นเรื่องหนึ่ง

แต่สิ่งที่สำคัญคือจะทำอย่างไรให้มีผู้ใช้งาน อันนี้ใช้พละกำลังเป็นอย่างยิ่ง โดยเราได้รับความร่วมมือจากทุกคณะทุกหน่วยงานเป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องของหลังบ้านที่จะต้องมีแอดมินในการดูแลแอปพลิเคชัน และในเรื่องของการช่วยโปรโมทแอปพลิเคชันกับนักศึกษา ในการสร้างแพลตฟอร์มต่าง ๆ เป้าหมายแรกคือ ทำให้มีคนมาอยู่ในแพลตฟอร์ม และเป้าหมายถัดไป คือการใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มให้มากขึ้น ซึ่งตอนนี้เรากำลังเข้าสู่สเต็ปที่ 2 คือ การใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มให้มากขึ้น

สำหรับแผนการพัฒนาในนาคต ในส่วนของฟีเจอร์ ที่จะสร้างมาให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้งานจริง ๆ เราก็จะต้องถามจากนักศึกษา โดยในฟีเจอร์ที่ได้ปล่อยออกมาแล้วนั้นก็ได้รับฟังความคิดเห็นมาจากนักศึกษา และผู้ที่ให้บริการแก่นักศึกษา จนได้เป็น Road Map ที่จะพัฒนาฟีเจอร์ต่าง ๆ ออกมา เกือบทุกเดือน เรายังมีการพัฒนาฟีเจอร์ที่สำคัญ ๆ ตามออกมาเรื่อย ๆ และก็ถึงแม้วันนี้เราจะมี Road Map ตามภาพที่เห็น

แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็น 1 2 3 ตามนี้ที่จะเกิดขึ้นเท่านั้น เพราะว่าความต้องการในอนาคต วันนี้เรายังไม่เห็น อันนี้คือส่วนสำคัญที่ทำให้เราพัฒนาร่วมกับบริษัทมีมรรคผลอย่างยิ่ง ก็คือว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่มหาวิทยาลัยหรือตัวนักศึกษาเองมีความต้องการอะไรบางอย่าง ซึ่ง ณ วันนี้ยังไม่เห็น แต่ในอนาคตเรารู้ สิ่งนี้คือสิ่งที่เราปรับแก้เพิ่มเติมได้ และที่สำคัญคือนักศึกษาศิลปากรมีส่วนร่วมในการพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย ดังนั้นในอนาคตก็จะมีผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับแอปพลิเคชันช่วยดูแลแอปพลิเคชันกับเราได้ด้วย

แต่การ Implement ที่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องอาศัย Developer ที่มีประสบการณ์สูง และมีคุณภาพสูงมาก คือ บริษัท ออด-อี (ประเทศไทย) จำกัด อยากให้ และสำหรับการพัฒนาแบบ Agile และการใช้ Tech Stack ที่ทันสมัย รวมทั้งการพัฒนาแบบ Microservices มีการใช้วิธีการทำงานแบบ Agile คณะทำงานทั้งทีมงาน Developer และผู้ให้ Requirement ทำงานอย่างใกล้ชิดกัน พบปะหารือกันบ่อยครั้งมาก พุ่งเป้าไปที่การตอบโจทย์ Users การใช้งานจริง ๆ มากกว่าการรับ Spec/Requirements ไปทำ สำหรับรูปแบบ Architecture ที่เลือกใช้ จะเป็น Microservices ซึ่งใช้ Container Orchestration ทำให้เกิด High Availability ทำให้ระบบเกิดความแข็งแกร่ง

ซึ่งทางบริษัทฯ มีประสบการณ์ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่มียอดใช้สูงมาก ๆ และติดอันดับแอปที่มีคนใช้มากที่สุด คือ แอปเป๋าตัง จะเห็นว่าถ้าจะทำของพวกนี้ คงต้องมีความแข็งแกร่งในระบบมาก ๆ ทีมพัฒนามีวิธีการรับมือกับปัญหาฉุกเฉิน และมีเทคนิคพิเศษ ในการจัดการผู้ใช้งานจำนวนมากภายใต้ทรัพยากรที่จำกัดได้

อย่างลักษณะ Microservices Architecture จะใช้ลักษณะการหั่นแบ่งงาน หรือกำหนดขอบเขตการทำงานให้ความรับผิดชอบงวดลง เล็กลง เฉพาะเจาะลงในเนื้องานที่เล็ก ตรงนี้บวกกับ Container Orchestration เมื่อสักครู่ ทำให้เอาไปรวมกับระบบ Monitoring ที่แข็งแกร่ง รับ Feedback จากระบบว่าตอนนี้ Resource รับภาระการใช้งานหนักหน่วงหรือยัง ปริมาณ Users ที่เข้ามามากน้อยเพียงใด ถ้ามันมากแล้ว Heavy Load ปุ๊บ ก็จะ Auto Scale อัตโนมัติ ถ้าเกิด Users น้อยลงปุ๊บ ก็จะ Scale down อัตโนมัติ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ตรงนี้ก็จะยังมีเทคนิคอื่น ๆ ที่เข้ามาใส่ได้ เช่น Caching หรือ ระบบคิว พวกนี้ล้วนแต่ต้องทำงานใกล้ชิดกับคณะอาจารย์เพื่อให้ Requirement ว่าส่วนนี้รอได้ให้เข้าคิวก่อน เป็นต้น

Concept ของการ Co-Creation ความท้าทายที่มีการนำนักศึกษามาทำงาน และฟูมฟักให้นักศึกษาทำงานได้มาถึงขนาดนี้ เบื้องต้นเราตั้งต้นด้วย Passion น้อง ๆ มีความมุ่งมั่นในการทำงาน Co-Creation เองจะตั้งเป้าไปที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน หรือว่าผู้ที่ได้รับประโยชน์จริงๆ จากการใช้งานแอปพลิเคชัน ในที่นี้ก็จะเป็นน้อง ๆ นักศึกษาเอง พอเราตั้งเป้าแบบนี้แล้ว เวลาเรา Discuss กันก็จะลงไปถึงปัญหาอะไรที่เรากำลังจะแก้ให้เขา น้อง ๆ เอง สามารถเข้าถึง User หรือว่าสัมภาษณ์ได้ตรงเลย เพราะฉะนั้นเขาจะมีไอเดีย มีประสบการณ์ตรง แล้วก็ยังได้รับการสนับสนุนจากคณะอาจารย์อีกด้วย เรียกได้ว่าเราได้รับการ Support เต็มที่ ในส่วนของการทำงานจากหลายองค์กร หลายสถาบัน พื้นที่ทำงานก็จะไม่เหมือนพื้นที่ Workshop ทั่วไป เพราะฉะนั้น น้องก็จะปรับตัว ต้องเคารพ Diversity เคารพการทำงาน พอไปบวกกับ Passion ทำให้น้อง ๆ ปรับตัวได้

นี้ก็จะเป็นแนวทางการทำ Co-Creation ซึ่งเรียกได้ว่านักศึกษาศิลปากรก็เป็นส่วนหนึ่งกับทางบริษัทด้วย ที่ได้พัฒนาแอปพลิเคชันนี้ร่วมกัน ก็น่าภูมิใจนะครับ ซึ่งสัมผัสได้เลยว่าหลังจากการไปสหกิจแล้ว สิ่งที่ได้กลับมาจากทางบริษัท ก็คือประสบการณ์ นักศึกษาของเราพูดจาฉะฉานเก่งกาจ พูดคล่องแคล่วมากขึ้นจากตอนที่เป็นนักศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย ขอบคุณบริษัทที่มีโครงการดีดีแบบนี้

“One Silpakorn” คือ เรามีความเป็นหนึ่งเดียวกันตั้งแต่ระดับผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร รวมถึงนักศึกษา ที่จะมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่นโยบายลงมาสู่การปฏิบัติ ที่จะมุ่งไปในทิศทางมหาวิทยาลัยเดียวกัน เป็นหนึ่งเดียว คือสโลแกนที่แสดงถึงความสมัครสมานสามัคคี คิดพัฒนามหาวิทยาลัยไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนในตัว “One Mobile Platform for the Diversity” ก็มาจากความต้องการที่หลากหลายของนักศึกษา และการพัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ใช้บริการมากที่สุด ซึ่งก็ต้องขอบคุณทีมพัฒนาทุกคน ที่มีส่วนร่วมที่ทำให้เกิดแอปพลิเคชันนี้    



แท็กที่เกี่ยวข้อง  ม.ศิลปากร ,SU Smart Plus

คุณอาจสนใจ