เลือกตั้งและการเมือง

เลือก(สัก)ตั้ง Ep 50 : โซเชียลมีเดีย ช่องทางใหม่หาเสียง

โดย paweena_c

18 พ.ค. 2566

11 views

โซเชียลมีเดีย ที่ปัจจุบันกลายเป็นวิถีชีวิตของคนไปแล้ว เรามาดูกันว่า แต่ละพรรคมีช่องทางในการหาเสียงผ่านโซเชียลมีเดียอย่างไร

นักการเมืองหากอยากได้คะแนนก็ต้องหาเสียง และการหาเสียงนั้นมีหลายรูปแบบทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์

ออฟไลน์ก็มีทั้งการติดป้ายหาเสียง บิลบอร์ด ใช้รถประกาศ หรือหากใครอยู่ริมคลองก็จะเห็นการใช้เรือติดเครื่องขยายเสียงประกาศก็ม แต่โลกสมัยนี้จะออฟไลน์อย่างเดียวก็ไม่ได้นะคะ เพราะจากสถิติพบว่าเราอยู่บนโลกออนไลน์ค่อนข้างมาก

จากการสำรวจพบว่าคนไทยใช้อินเตอร์เน็ต 61 ล้านคน และใช้เฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมง  6  นาที และมี Users  ที่ใช้โซเชียลมีเดีย 52 ล้าน users  ที่สำคัญอยู่บนโซเชียลมีเดีย 2 ชั่วโมง 44 นาทีต่อวัน  ซึ่งนักการเมืองเองไม่อาจทิ้งโอกาสตรงนี้ได้หากต้องการคะแนนเสียง

คนที่ใช้โซเชียลมีเดียเป็นและประสบความสำเร็จอย่างมากก็มีตัวอย่างให้เห็นแล้วนะคะก็คือคุณชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ซึ่งวิธีคิดของนักการเมืองก็เหมือนการโฆษณานะคะคือ  ต้องสอดประสานทั้งออฟนไลน์และออนไลน์ อะไรที่อยู่ในแพลตฟอร์มออฟไลน์ ก็จะไปอยู่ในออนไลน์

เราจึงจะเห็นการนำคอนเทนท์ต่างๆ ทั้งในรูปแบบ ภาพนิ่ง โปสเตอร์ หรือภาพการลงพื้นที่ ไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียของพรรค หรือของตัวผู้สมัคร การปราศรัย หรือการไปดีเบตก็มีการนำมาลงแพลตฟอร์มออนไลน์ มีทั้งการลงแบบฉบับเต็ม หรือตัดไฮไลต์ช่วงสำคัญๆ

นอกจากนี้แต่ละพรรคยังมีการปรับลุกเพื่อให้รองรับกับโลกโซเชียลมีเดียมากขึ้น  ไม่ว่าจะเป็นพรรคพลังประชารัฐ ที่สลัดภาพคนแก่ทิ้ง มาเสริมลุกวัยรุ่น ใส่แจ็กเก็ต กางเกงยีนส์ หรือ พล.อ.ประยุทธ์ ก็ทิ้งสูทมาดขรึมมาสู่ลุกสบายๆมากขึ้น    

ขณะที่พรรคที่เป็นวัยรุ่นอย่างพรรคก้าวไกล็จะใช้ภาพการ์ตูนที่ดูจะโดนใจกลุ่มเป้าหมาย หรือเพื่อไทย ก็ผลิตสื่อที่ดึงดูดเช่น ตารางนโยบายเรียงอักษรตั้งแต่ ก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูก

ส่วนแพลตฟอร์มก็ปฏิเสธไม่ได้นะคะว่า ถึงตอนนี้มีความเปลี่ยนแปลงไป  ในอดีตโซเชียลมีเดียที่ได้รับการยอมรับคือ เฟซบุ๊ก  รวมถึง การดูวีดีโอผ่านยูทูป

แต่ปัจจุบัน แพลตฟอร์มที่มาแรงคือติ๊กต็อก  ที่เป็นการนำเสนอแบบวีดีโอสั้น ซึ่งโดนใจผู้ใช้ ที่จะใช้เวลาดูไม่มาก ซึ่งแต่ละพรรค รวมถึงผู้สมัครจำนวนมากก็มีบัญชีติ๊กต็อกเป็นของตัวเอง และต่างก็โพสต์คอนเทนท์ทีน่าจะโดนในกองเชียร์ และหากจะโดนใจหรือจดจำก็ต้องแทรกความสนุกสนานเข้าไปเพราะนี่คือจุดเด่นของแพลตฟอร์มนี้

ไม่เพียงแต่พรรคการเมืองเท่านั้น ที่หาเสียงบนโลกออนไลน์ แต่กองเชียร์ก็เช่นกัน ที่มีกลยุทธ์ในการหาเสียงที่แต่ละคนเห็นกันมากขึ้น  โดยกองเชียร์จะเข้าไปคอมเมนท์ตามแฟนเพจต่างๆ ไม่เฉพาะคอนเทนท์ที่เกี่ยวกับการเมืองเท่านั้น   โดยจะคอมเมนท์เป็นหมายเลขปรระจำตัวของพรรคที่ตัวเองเชียร์​ โดยการคอมเมนท์ลักษณะนี้จะมีทุกแพลตฟอร์ม

หลายคนอาจจะคิดว่าโซเชียลมีเดีย มีแต่เฟซบุ๊ก ติ๊กต็อก ทวิตเตอร์  ซึ่งเป็นวัยรุ่น คนทำงานเล่น แต่อย่าลืมนะคะมีคนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่เล่ยโซเชียลมีเดีย หรือโซเชียลเน็ตเวิร์ก อีกรูปแบบ นั่นก็คือ “ไลน์”  แมสเสจหาเสียงเหล่านี้ก็มักจะมาในรูปของข้อความที่ส่งมาในไลน์กรุ๊ป และคนที่เสพมากที่สุดของกลุ่มนี้ก็คือกลุ่มผู้สูงอายุนั่นเองค่ะ

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าจะมีแต่การหาเสียงให้กับพรรคที่ตัวเองเชียร์เท่านั้น แต่กองเชียร์ก็จะมีปฏิบัติการจับผิดพรรคที่เป็นคู่แข่งด้วยนะคะ   ต้องจับตานะคะว่า ถึงช่วงสัปดาห์สุดท้ายของการหาเสียง แต่ละพรรคจะงัดกลยุทธ์อะไรมาออกมาต่อสู้เพื่อชิงฐานคะแนนในช่วงก่อนเข้าคูหา



คุณอาจสนใจ

Related News