เลือกตั้งและการเมือง

'พิธา' จี้ กกต.ชี้แจงคดีหุ้นไอทีวี ทำถูกสั่งหยุดหน้าที่สส. กลั่นแกล้งหรือไม่

โดย panwilai_c

15 ส.ค. 2566

160 views

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เรียกร้อง กกต.ชี้แจงมติของคณะกรรมการสืบสวนไต่สวนให้ยกคำร้องคดีหุ้นไอทีวีตามความผิดมาตรา 151 เนื่องจากในวันสมัครรับเลือกตั้ง สส.ไม่พบไอทีวีดำเนินกิจการสื่อ ซึ่งนายพิธา เชื่อมั่นว่ามีกระบวนการฟื้นคืนชีพไอทีวีเพื่อกลั่นแกล้งทางการเมือง จึงขอทวงคืนความยุติธรรมจากคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ สส.ขณะที่ข่าว 3 มิติ ตรวจสอบรายงานงบการเงินของบริษัทอินทัช ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทไอทีวี รายงานล่าสุด ระบุว่าบริษัทไอทีวี หยุดดำเนินธรุกิจ ในช่วงที่มีการสมัครรับเลือกตั้ง สส.ด้วย



นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ยืนยันคำเดิมว่ามีกระบวนการจะฟื้นคืนชีพบริษัทไอทีวี เพื่อหวังผลทางการเมือง จึงขอทวงคืนความยุติธรรมให้กับตนเอง หลังจากมีรายงานว่า คณะกรรมการสืบสวนไต่สวนของ กกต. มีมติให้ยกคำร้องตรวจสอบ การถือหุ้นไอทีวี ตามความผิดมาตรา 151 ว่ารู้อยู่แล้วว่าไม่มีคุณสมบัติสมัครรับเลือกตั้ง แต่ยังลงสมัคร โดยคณะกรรมการสืบสวนให้เหตุผลว่า บริษัทไอทีวีไม่มีการดำเนินกิจการอยู่และไม่มีรายได้จากการเป็นสื่อ จึงไม่ถือว่านายพิธา มีความผิด



จึงเรียกร้องให้ กกต.ชี้แจงว่า คณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนของ กกต.มีมตินี้ก่อนส่งคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ แม้จะเป็นคนละกระบวนการ แต่หากกรรมการสืบสวนได้เห็นข้อเท็จจริงว่าในวันที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง กกต.มิได้ประกอบกิจการสื่และมีรายได้จากกิจการสื่อ แต่กกต.กลับยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ โดยละเลยเรื่องนี้ได้อย่างไร ดังนั้นการมีคำสั่งให้นายพิธา ยุติปฏิบัติหน้าที่ สส.มีความเป็นธรรมหรือไม่



นายพิธา เรียกร้องขอคืนความเป็นธรรม เพื่อจะได้กลับมาปฏิบัติหน้าที่ สส.ได้โดยเร็วที่สุด



จากข้อมูลในเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รายงานงบการเงินล่าสุดของบริษัทอินทัชโฮลดิ้งส์ ซึ่งมีบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 และ ณ.วันที่ 31 ธันวาคม 2565 ระบุถึง บรษัท ไอทีวี จำกัดหมาชนและกลุ่มบริษัทไอทีวี ระบุลักษณะธุรกิจ ว่าปัจจุบันไอทีวีหยุดดำเนินธุรกิจ ตามหมายเหตุ 11.1 ที่ระบุว่าบริษัทไอทีวียังมีภาระผูกพันจากสัญญาอนุญาตให้ดำเนินการก่อนถูกบิกเลิกสัญญาดำเนินการของบริษัทไอทีวี



และตามหมายเหตุ 2.2ที่ระบุฐานะการเงินของไอทีวี ณ.วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ยังคงมีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียน ตามรายละเอียดที่ระบุ และมีการระบุถึงเหตุการณ์สำคัญ ข้อพิพาททางการค้าและคดีความที่สำคัญของกลุ่มอินทัช ในระหว่างงดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เกี่ยวกับคดีความทางกฏหมายข้อพิพาทระหว่าง ไอทีวี กับ สปน. ซึ่งศาลปกครองมีคำสั่งกำหนดให้วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เป็นวันสิ้นสุดแสวงหาข้อเท็จจริง และ ปัจจุบันคดีอยู่ในกระบวนการทางศาลปกครองสุงสุด ซึ่งรายงานนี้ประกาศเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2566



ตรงกับข้อมูลล่าสุดที่ นางสาวสฤนี อาชวานันทกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ระบุว่างบการเงินที่รายงานล่าสุดบริษัทไอทวีหยุดดำเนินธุรกิจ สถานะของไอทีวีก็คือ "หยุดดำเนินธุรกิจ" ตลอดมาสิบกว่าปี นับตั้งแต่ถูกยึดคืนสัมปทาน



การวินิจฉัยว่านายพิธา จะมีความผิดในการถือหุ้นสื่อ ทั้งด้วยการขาดคุณสมบัติการเป็นผุ้สมัคร สส.ตามรัฐธรรมนูญ หรือความผิดอาญาที่ว่ารู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติ แต่ยังลงสมัคร สส.ก็คงพิสูจน์ได้ไม่ยาก เพราะ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ลงสมัครรับเลือกตั้ง สส.ในวันที่ 4 เมษายน 2566 ซึ่งอยู่ในช่วงรายงานงบการเงินไตรมาสที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566-30 มิถุนายน 2566 ที่ระบุว่า บริษัทไอทวี หยุดดำเนินธุรกิจ และในรายงาน สบช.3 ของบริษัทไอทีวี ที่ส่งช่วงกลางเดือนมิถุนายน ก็ระบุไม่ได้ดำเนินการเนื่องจากรอผลคดี และมีรายได้จากผลตอบแทนการลงทุนและดอกเบี้ยรับ ซึ่งเป็นการแก้ไขจากงบการเงินในเดือนพฤษภาคม 2566 ด้วย

คุณอาจสนใจ

Related News