เลือกตั้งและการเมือง

4 ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม. ค้านต่อสัมปทานสายสีเขียว หนุนตั๋วร่วม 25 บาทตลอดสาย

โดย pattraporn_a

14 ก.พ. 2565

52 views

ยังคงเป็นประเด็นถกเถียงสำหรับโครงกาารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ที่ล่าสุด ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แสดงวิสัยทัศน์ ไม่เห็นด้วยกับการให้ กทม.ขยายสัมปทานให้เอกชนไปอีก 30 ปี และเห็นด้วยที่จะจัดทำค่าโดยสารขนส่งสาธารณะราคาถูกให้กับประชาชน ทั้งในรูปแบบตั๋วร่วมหรือการเชื่อมต่อรถไฟฟ้า 10 สายในราคาเดียว รวมทั้งไม่เห็นด้วยที่คณะรัฐมนตรีจะนำเรื่องนี้เข้าสู่การพิจารณาอีกครั้ง 


ถือเป็นครั้งแรกที่ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ต่อประเด็นร้อนทางการเมือง เรื่องการขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ มีมติให้เลื่อนการพิจารณาออกไปเพื่อให้กระทรวงมหาดไทยนำความเห็นของกระทรวงคมนาคมที่คัดค้านเรื่องนี้ไปพิจารณาอย่างรอบคอบ และเป็นประเด็นที่เชื่อมโยงไปถึงความสัมพันธ์ของพรรคร่วมรัฐบาล ที่ 7 รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทยไม่เข้าร่วมการประชุมคณะรัฐมนตรี


ซึ่งเวทีเสวนาออนไลน์โดยสภาองค์กรของผู้บริโภค สอบถามความเห็น 4 ว่าที่ผู้สมัคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทั้งนางสาวรสนา โตสิตระกูล นายชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร และ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ต่างไม่เห็นด้วยที่จะให้กรุงเทพมหานครต่อสัปทานให้เอกชนไปอีก 30 ปี จากปี 2572-2602 ที่กำหนดราคาสูงสุด 65 บาท โดยไม่ผ่านกระบวนการกฏหมาย พ.ร.บ.ร่วมทุน


นายชัชชาติ เน้นย้ำว่า ปัญหานี้เริ่มจากความไม่โปร่งใส ตั้งแต่การใช้อำนาจพิเศษ จ้างให้เอกชนเดินรถส่วนต่อขยายไปจนถึงปี 2585 โดยไม่เคยเห็นสัญญา จึงเสนอ 5 ปะเด็นสำคัญ ที่ต้องไม่มีการขยายสัมปทานให้เอกชน จึงต้องนำเข้าสู่กฏหมายร่วมทุน และกทม.ต้องเร่งเจรจาแก้ปัญหาหนี้ค่าจ้างเดินรถ และการรับโอนโครงข่ายอีก 1 แสนล้านบาท รวมถึงเร่งหาข้อสรุปค่าโดยสารส่วนตัวขยายทิศเหนือและใต้ที่วิ่งมาแล้ว 3 ปี และนำสัญญาค่าจ้างเดินรถมาหาค่าโดยสารที่ถูกต้องหลังหมดสัญญาในปี 2572 ซึ่งราคาค่าโดยสารเป็นไปได้ที่จะจัดเก็บในราคา 25-30 บาท


นางรสนา โตสิตระกูล ย้ำด้วยว่า คณะรัฐมนตรีชุดนี้ไม่มีความชอบธรรมที่จะพิจารณาเรื่องนี้ และต้องเร่งให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.เพื่อมาจัดการปัญหา ที่เสนอให้โอนรถไฟฟ้าสายสีเขียว กลับไปให้รัฐบาล โดย รฟม.ดำเนินการ เพื่อให้เกิดระบบตั๋วร่วมราคาเดียว เป็นไปได้ที่จะมีราคาไม่เกิน 40-45 บาท และหยุดประโยชน์จากค่าต๋ง 2 แสนล้านบาท ซึ่งต้องมีตัวแทนผู้ว่าฯกทม.ไปเป็นบอร์ด รฟม.ด้วย


ขณะที่นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการขยายสัมปทาน จากนี้รวมแล้ว 38 ปีที่จะเป็นภาระให้ลูกหลาน สิ่งที่ กทม.ต้องทำคือการเจรจา ไม่ไปแบกรับภาระหนี้ค่าจ้างเดินรถ และเงินลุงทันจัดหารถรวมแล้วกว่า 5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า กทม.จะมีการอุดหนุนค่ารถไฟฟ้าเท่าไหร่ ซึ่งต้องทำทั้งระบบ เชื่อว่าไม่ยากเลยที่จะมีราค่า 25-30 บาทตลอดสาย


ด้านนายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เห็นว่าปัญหามาจากกระทรวงคมนาคมไม่ได้วางแผนจัดการระบบรางให้เป็นระบบเดียว หากทำได้เชื่อว่า สามารถผลักดันค่าโดยสารรถไฟฟ้า ราคา 20 ถึง 25 บาท ให้เกิดขึ้นจริงได้ ซึ่งกรณีรถไฟฟ้าสายสีเขียว กทม. สามารถออกพันธบัตร เพื่อระดมทุนมาแก้ภาระหนี้ 30,000 ล้านบาท และค่าจ้างเดินรถในอนาคต



นางสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค มีความหวังว่ารัฐบาลจะฟังเสียงว่าที่ผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ไม่ดึงดันผ่านมติครม.ขยายสัมปทานให้เอกชน ซึ่งยังเหลืออายุสัมปทานอีก 8 ปี และความรับฟังเสียงของทุกฝ่ายที่ต้องฝากความหวังไปถึงคุณภาพชีวิตในอีก 30 ปีข้างหน้า

คุณอาจสนใจ

Related News