ข่าวโซเชียล

หน่วยงานจัดรวมมิตรเมืองไทยตั้งในสนามหลวง ติดป้าย ‘Soft Power’ ชาวเน็ตถกสนั่น ซอฟต์พาวเวอร์แบบใด

โดย JitrarutP

15 เม.ย. 2567

243 views

“ซอฟต์พาวเวอร์” แบบใด? ถกสนั่น หน่วยงานจัดแบ็คดรอป อาหาร - เสาชิงช้า - นวม - รถตุ๊กๆ - ว่าว ตั้งอยู่กลางสนามหลวงรับนักท่องเที่ยว พร้อมคำว่า “Soft Power” ชาวเน็ตตั้งคำถาม นำเสนอ Soft Power อย่างไรให้เหมือน Hard Power

กลายเป็นประเด็นที่พูดถึงในโลกออนไลน์ หลังจากที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ภาพ อาหาร เสาชิงช้า นวม รถตุ๊กๆ ว่าว ตั้งอยู่กลางท้องสนามหลวง พร้อมข้อความว่า “SOFT POWER” เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งได้โพสต์แคปชั่นว่า “ได้เหรอวะ”



ซึ่งหลังจากโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ไปในโลกออนไลน์ ก็มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก เช่น

“แล้วมันจะซอฟต์ไหม ตั้งใจขนาดนี้”

“ถ้านึกไม่ออกว่า Soft Power คืออะไรให้นึกถึงตอนเด็กๆ ดูโดราเอมอน แล้วรู้จักขนมโดรายากิอะ อันนั้นแหละ Soft Power”

“วิธีนำเสนอ soft power ให้เหมือน hard power”

“คือเข้าใจว่า soft power มันคือสิ่งที่เป็นจุดขายของประเทศโดยที่ไม่ต้องโฆษณาเปล่า”

“ทำแบรนด์ที่ตั้งชื่อว่า "Thailand Soft Power" ขาย product เป็นของฝากให้ชาวต่างชาติเลยก็ได้นะ ถ้าจะให้มันจับต้องได้ขนาดนี้ ขายตรงไปเลย”

“ยัดเยียดแบบนี้ ไม่มีทาง Soft power”

“Soft power แบบตะโกน”


อย่างไรก็ตาม คำว่า Soft Power (ซอฟต์พาวเวอร์) Joseph S. Nye (โจเซฟ ไนย์) อดีตคณบดีสถาบันเคเนดี้ สคูล ออฟ กอฟเวิร์นเมนท์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ให้คำนิยามคำนี้ในบทความที่เผยแพร่ในวารสาร Foreign Policy ในปี 1990 ว่า  “ซอฟต์พาวเวอร์” ถือเป็นอำนาจอย่างหนึ่งได้รับการยอมรับจากบุคคลต่างๆ จากการชักจูง โน้มน้าว สร้างการชวนเชื่อ ที่ผู้รับรู้สึกสัมผัสได้เองโดยที่ไม่ออกคำสั่งหรือบังคับ ซึ่งจะตรงกันข้ามกับคำว่า Hard Power (ฮาร์ดพาวเวอร์) ที่เป็นอำนาจเชิงบังคับ



คุณอาจสนใจ

Related News