อาชญากรรม

ตำรวจจับแก๊งคอลฯ ภาคใต้รายใหม่ ใช้เครื่องแปลงสัญญาณหลอกคนไทย

โดย kanyapak_w

27 ม.ค. 2567

666 views

บช.ก.จับแก๊งคอลฯ ภาคใต้รายใหม่ใช้เครื่องแปลงสัญญาญหลอกคนไทย พบ 7 เดือน เสียหายไม่ต่ำกว่า 100 ล้าน เตรียมนำระบบ AI มาใช้คัดกรองป้องกัน


พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.แถลงจับกุม น.ส.ซารีนา (สงวนนามสกุล)​ อายุ 24 ปี, Mr. KIANG อายุ 25 ปี และ Mr.KUOK ผู้ต้องหาชาวมาเลเชียรวม 3 ราย พร้อมของอุปกรณ์ SIMBOX หรือ GSM Gateway สำหรับ 32 ซิม จำนวน 15 เครื่อง และเครื่องกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตหรือ เร้าเตอร์ Wifi จำนวน 3 เครื่อง ได้ที่บ้านเช่าสุไหงโกลก จว.นราธิวาส


โดยตำรวจ บช.ก.พบว่าคนร้าย มีการทำมีการเปลี่ยนรูปแบบอุปกรณ์ที่ใช้โทรศัพท์หาผู้เสียหาย โดยมีการแยกเครื่อง SIM BANK สำหรับ​เสียบซิมการ์ดที่เป็นเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศไทยไว้ที่หนึ่งที่ตั้งอยู่ภายในประเทศหรือต่างประเทศก็ได้ และจำเป็นต้องมีเครื่อง SIM BOX หรือ GSM Gateway สำหรับ 32 ซิม ซึ่งเป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณอินเตอร์เน็ตมือถือแต่ละเครื่องที่มีช่องซิมการ์ดโทรศัพท์จำนวน 32 ซิม แต่คนร้ายไม่ได้เสียบซิมการ์ดไว้ โดยตัวแปลงสัญญาญอินเตอร์เน็ตจะถูกติดตั้งไว้ในประเทศไทย โดยจะเชื่อมต่อกับเร้าเตอร์ โดยมี Cloud SIP Server เป็นตัวกลาง


เมื่อแก๊ง​คนร้ายโทรจากต่างประเทศเข้ามาหลอกคนไทยผ่านอุปกรณ์ดังกล่าว ก็จะทำให้เห็นเป็นหมายเลขของโทรศัพท์ในประเทศไทย ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ โดยคนร้ายจะสุ่มโทรวันละแสนครั้ง


จนแน่ชัดว่าคนร้ายติดตั้งอุปกรณ์ไว้ในห้องเช่าพื้นที่สุโหงโกลก ตำรวจจึงนำกำลังเข้าจับกุมผู้ต้องหา 3 ราย ได้ที่ห้องเช่า 3 แห่ง


เบ​ื้องต้น น.ส.ซารีนา และ Mr.Kiang รับสารภาพว่าถูกว่าจ้างจากนายทุนชาวมาเลเซียให้ดูแลสถานที่ ที่มีการติดตั้ง SIM BOX ในบ้านเช่า โดยจะมีฝ่ายเทคนิคเข้ามาติดตั้งอุปกรณ์ให้ผู้ต้องหาและจะได้ค่าจ้างดูแลอุปกรณ์ 5,000 บาทต่อจุด


ส่วน Mr.Kuok ให้การภาคเสธอ้างว่าเป็นเพียงผู้โอนเงินตามคำสั่งของนายทุนมาเลเซียให้กับผู้ต้องหารายอื่นเท่านั้น ส่วนความผิดอย่างอื่นปฎิเสธข้อกล่าวหา


พล.ต.ท.จิรภพ ระบุว่า จากการตรวจค้น 3 จุด จุดละ 5 เครื่องรวม 15 เครื่อง มีคู่สาย 480 คู่สาย สามารถโทรได้หลายพันเบอร์ โดย 1 เครื่อง มีมูลค่าประมาณ 5 แสนบาท ส่วนที่เลือกพื้นที่ภาคใต้ ขณะนี้ยอมรับว่าเป็นกลุ่มแก๊งใหม่ของคอลเซ็นเตอร์ ที่อยู่ระหว่างการขยายผลว่าเชื่อมโยงกับพื้นที่ตะวันออกหรือภาคเหนือหรือไม่


ส่วนอุปกรณ์ทราบว่ามีการซื้อมาจากต่างประเทศ และนำมาติดตั้งที่ไทยโดยผู้เชี่ยวชาญ และมีการดำเนินการมาตั้งแต่เดือน ก.ค.- ส.ค.66 มีผู้เสียหายจำนวนมาก โดยบางรายถูกหลอกสูญเงินกว่า 900,000 บาท รวมระยะเวลาเวลา 7 เดือนเสียหายไปไม่ต่ำ 100 ล้านบาท จากนี้มีแนวคิดในการป้องกันแก๊งคอลฯโดยการนำระบบ AI เข้ามาคัดกรองเบอร์แก๊งคอลเซนเตอร์ ซ​ึ่งในต่างประเทศพบว่ามีการนำระบบนี้มาแก้ไขปัญหาได้

คุณอาจสนใจ

Related News