เลือกตั้งและการเมือง

ย้อนดู "ธนาธร" ดูงาน "ไฮเปอร์ลูป" ล่าสุดบริษัทดังกล่าวเตรียมปิดกิจการ ขายทรัพย์สิน ปิดสำนักงาน และเลิกจ้างพนักงาน

โดย kanyapak_w

22 ธ.ค. 2566

590 views

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2561 ยูทูปพรรคอนาคตใหม่ ได้โพสต์คลิป อนาคตใหม่ x ไฮเปอร์ลูป เป็นภาพขณะที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และ น.ส.พรรณิการ์ วานิช เดินไปทางไปดูงานไฮเปอร์ลูป ระบุข้อมูลว่า



[ ถ้าจะไปอนาคต อย่ามองแค่ปัจจุบัน ]



ทั้งรถไฟความเร็วปานกลาง และรถไฟความเร็วสูง อาจไม่ใช่คำตอบสำหรับระบบขนส่งมวลชนไทยอีกต่อไป ธนาธรและทีมอนาคตใหม่ได้ไปคุยกับผู้พัฒนานวัตกรรมไฮเปอร์ลูประดับโลกถึง 3 แห่ง รวมทั้ง Virgin Hyperloop One ถึงความเป็นไปได้ที่จะเอามาสร้างในไทย ในเมื่อมีเทคโนโลยีที่ประหยัดงบประมาณได้มากกว่า ทำความเร็วได้มากกว่า แถมยังกระตุ้นอุตสาหกรรมและการจ้างแรงงานไทยได้อีกมากมาย เพราะหลายๆ ส่วนสามารถผลิตได้ในประเทศ เราจะรออะไรล่ะ




จากนั้นเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 62 ก่อนเลือกตั้ง 10 วัน พรรคอนาคตใหม่จัดการแถลงข่าวในหัวข้อ “ไฮเปอร์ลูป : ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย” นำโดย นายธนาธร พร้อม ดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ผู้สมัคร ส.ส. บัญชีรายชื่อ และที่ปรึกษานโยบายคมนาคมพรรคอนาคตใหม่



ซึ่งเทคโนโลยี "ไฮเปอร์ลูป" (Hyperloop) ถือเป็นหนึ่งในหลายความเป็นไปได้ที่ทำให้เรามุ่งสู่เส้นทางใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย




ดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ กล่าวแนะนำไฮเปอร์ลูปว่า เป็นระบบขนส่งมวลชนรูปแบบใหม่ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาพัฒนา มีระบบการทำงานลักษณะคล้ายตู้ทรงกระบอกความยาวประมาณ 25 เมตร ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังแม่เหล็กไฟฟ้าภายในท่อที่มีแรงกดอากาศต่ำใกล้เคียงสุญญากาศ เพื่อลดแรงเสียดทานจากปัจจัยต่างๆ โดยหวังว่าในอนาคตจะสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วถึง 1,100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ใช้พลังงานและปล่อยมลพิษน้อยกว่าการเดินทางแบบอื่นๆ



หากได้เริ่มทำตั้งแต่ตอนนี้ (ปี 2019) ตามโรดแมปของพรรคอนาคตใหม่ จะทำให้เกิดการใช้งานได้จริงภายในปี 2030 และที่สำคัญคนไทยทำได้เอง เป็นการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ เกิดการจ้างงาน 1 แสน 8 หมื่น ตำแหน่ง สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 9 แสน 7 หมื่นล้านบาท




และเมื่อ 31 มีนาคม ธนาธรได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก เผยแพร่รายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อการพัฒนาและก่อสร้างเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปในประเทศไทย ให้ผู้ที่สนใจได้อ่าน พร้อมระบุว่า แม้จะถูกจัดทำขึ้นโดยการสนับสนุนของตนเอง แต่ขอมอบผลการศึกษานี้ไว้ให้สาธารณะ ประชาชนมีสิทธิสามารถนำไปศึกษา พัฒนา อ้างอิง ทำซ้ำ ดัดแปลงได้เต็มที่ มีเนื้อหาคือ



“มาตามสัญญา รายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อการพัฒนาและก่อสร้างเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปในประเทศไทยฉบับนี้ถูกจัดทำขึ้นโดยการสนับสนุนส่วนตัวจากผม




ทั้งนี้ ล่าสุด นักข่าวต่างประเทศรายงานอ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดว่า Hyperloop One (ไฮเปอร์ลูป วัน) ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาการเดินทางและการขนส่งความเร็วสูงผ่านท่อสุญญากาศ เตรียมปิดกิจการ ขายทรัพย์สิน ปิดสำนักงาน และเลิกจ้างพนักงานที่มีอยู่ทั้งหมดภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ อย่างไรก็ตาม ตัวแทนของ Hyperloop One ยังไม่ออกมาแสดงความเห็นต่อรายงานดังกล่าว



Hyperloop One ก่อตั้งขึ้นในปี 2557 และระดมเงินทุนได้กว่า 400 ล้านดอลลาร์ (หรือ กว่า 13,800 ล้านบาท) ซึ่งส่วนใหญ่มาจาก DP World บริษัทชิปปิงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) และกลุ่มบริษัท Virgin ของ “ริชาร์ด แบรนสัน” มหาเศรษฐีชาวอังกฤษ ด้วยความหวังที่จะพัฒนาการเดินทางผ่านท่อสุญญากาศแห่งอนาคต



เมื่อปี 2563 บริษัทซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในลอสแอนเจลิสของสหรัฐรายนี้ เคยประสบความสำเร็จในการขนส่งผู้โดยสารด้วยแคปซูลผ่านท่อสุญญากาศจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ด้วยความเร็วที่เทียบเท่ากับเครื่องบิน



แม้การขนส่งดังกล่าวดูเหมือนเป็นการเดินทางแห่งโลกอนาคตที่น่าจะเกิดขึ้นจริง แต่ Hyperloop กลับมีข้อด้อยที่สามารถขนส่งคนได้ครั้งละจำนวนน้อยไม่เหมือนเครื่องบิน หรือรถไฟที่สามารถขนคนได้หลายร้อยคนในครั้งเดียว จึงทำให้การพัฒนา Hyperloop เพื่อนำมาใช้จริง ไม่สมเหตุสมผลเท่าที่ควรจะเป็น และเป็นเหตุให้บริษัทมาถึงทางตันและต้องปิดกิจการในที่สุด





คุณอาจสนใจ

Related News