เศรษฐกิจ

นายกฯ ประกาศแก้หนี้ทั้งระบบ ต่อลมหายใจลูกหนี้ 10.3 ล้านราย

โดย parichat_p

12 ธ.ค. 2566

52 views

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การจัดการหนี้ทั้งระบบ จะแบ่งลูกหนี้เป็น 4 กลุ่ม


กลุ่มแรก ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งเป็นผู้ประกอบการ SME จำนวน 3 ล้านราย จะมีการยกเลิกสถานะหนี้เสีย (NPL) พักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย และปรับโครงสร้างหนี้ และลดดอกเบี้ย 1%


กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้มีรายได้ประจำ แต่มีภาระหนี้จำนวนมาก ได้ ครู ตำรวจ ทหาร หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล โดยแนวทางแก้หนี้ครู ราว 9 แสนคน ให้โอนหนี้ทั้งหมดไปไว้ในที่เดียว เช่น ที่สหกรณ์ และบังคับใช้กฎหมาย หักเงินเดือนไปชำระหนี้ได้ไม่เกิน 70% ของเงินเดือน เพื่อให้มีเงินเดือนเหลือเพียงพอต่อการดำรงชีพ และจัดทำสวัสดิการเงินกู้ข้าราชการที่มีดอกเบี้ยต่ำ ส่วนหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล จากการคิดดอกเบี้ยสูงทำให้เป็นหนี้ค้างชำระ จะปรับโครงสร้างหนี้ผ่าน "คลีนิกแก้หนี้" ผ่อนได้นาน 10 ปี และลดดอกเบี้ยเหลือ 3.5% ต่อปี


กลุ่มที่ 3 ลูกหนี้ที่มีรายได้ไม่แน่นอน ได้แก่ หนี้เกษตรกร หนี้กยศ. และลูกหนี้เช่าซื้อ โดยกลุ่มเกษตรกร ราว 2 ล้านคน จะพักหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 3 ปี วงเงิน 3 แสนบาทต่อราย / ส่วนหนี้หนี้กยศ. ราว 5 ล้านคน จะปรับแผนการผ่อนชำระให้เข้ากับรายได้คนเพิ่งเริ่มงาน ลดดอกเบี้ยให้เงินต้นลดเร็วขึ้น ถอนการอายัดบัญชีให้ลูกหนี้เข้าถึงระบบการเงิน และให้ผู้ค้ำประกันหลุดจากการค้ำประกัน / ขณะที่หนี้เช่าซื้อ สคบ.จะควบคุมธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ กำหนดดอกเบี้ยเช่าซื้อรถใหม่ ต้องไม่เกิน 10% ลดดอกเบี้ยผิดนัด ให้ส่วนลดลูกหนี้ที่ปิดบัญชีก่อนกำหนด


กลุ่มที่ 4 คือ ลูกหนี้ที่เป็นหนี้เสียคงค้างหนี้ยาวนาน หรือ NPLs ราว 3 ล้านราย แก้โดยตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างสถาบันการเงินของรัฐกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ แล้วรับโอนหนี้เสียจากสถาบันการเงินของรัฐไปบริหาร และปรับโครงสร้างหนี้


ทั้งนี้การแก้หนี้ ทั้ง 4 กลุ่ม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการกันไปบ้างแล้ว


"การจัดการหนี้ทั้งระบบ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม"


กลุ่มที่ 1 คือ ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 SME 3 ล้านราย

- ยกเลิกสถานะหนี้เสีย (NPL)

-พักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย

-ปรับโครงสร้างหนี้ และลดดอกเบี้ย 1%


กลุ่มที่ 2 ลูกหนี้ที่มีรายได้ประจำ แต่มีภาระหนี้จำนวนมากจนเกินศักยภาพ ได้แก่ กลุ่มข้าราชการ ครู ตำรวจ ทหาร


-แนวทางแก้หนี้ครู ราว 9 แสนคน บังคับใช้กฎหมาย หักเงินเดือนไปชำระหนี้ได้ไม่เกิน 70% ของเงินเดือน จัดทำสวัสดิการเงินกู้ข้าราชการที่มีดอกเบี้ยต่ำ


-แนวทางแก้หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ปรับโครงสร้างหนี้ ผ่าน "คลีนิกแก้หนี้" ผ่อนได้นาน 10 ปี ลดดอกเบี้ยเหลือ 3.5% ต่อปี


กลุ่มที่ 3 คือ กลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน เช่น เกษตรกร ลูกหนี้เช่าซื้อ และลูกหนี้ กยศ.


-แนวทางแก้หนี้เกษตรกร ราว 2 ล้านคน พักหนี้เงินต้นและดอกเบี้ย 3 ปี วงเงิน 3 แสนบาท/ราย


-แนวทางหนี้ กยศ. ราว 5 ล้านคน ปรับแผนการผ่อนชำระให้เข้ากับรายได้คนเพิ่งเริ่มงาน ลดดอกเบี้ยให้เงินต้นลดเร็ว ถอนการอายัดบัญชีให้ลูกหนี้เข้าถึงระบบการเงิน ให้ผู้ค้ำประกันหลุดจากการค้ำประกัน


-แนวทางหนี้เช่าซื้อ ให้สคบ.ควบคุมธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ กำหนดดอกเบี้ยเช่าซื้อรถใหม่ ต้องไม่เกิน 10% ลดดอกเบี้ยผิดนัด ให้ส่วนลดลูกหนี้ที่ปิดบัญชีก่อนกำหนด


กลุ่มที่ 4 เป็นหนี้เสียคงค้างกับสถาบันการเงินของรัฐ (NPLs) ตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างสถาบันการเงินของรัฐกับบริษัทบริหารสินทรัพย์ รับโอนหนี้เสียจากสถาบันการเงินของรัฐ ปรับโครงสร้างหนี้



รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/up5-8QCv-hU

คุณอาจสนใจ