สังคม

พิจิตรเจอภัยแล้ง ข้าวขาดน้ำทยอยยืนต้นตาย หนักสุดในรอบ 40 ปี - ชาวบ้านราชบุรี เดือดร้อน หลังฝนไม่ตกกว่า 2 เดือน

โดย weerawit_c

3 ก.ย. 2566

139 views

สภาพต้นข้าวหอมมะลิ ที่เคยสีเขียว กลับสภาพแห้งเหี่ยวกลายเป็นสีน้ำตาล ทยอยยืนต้นตาย หลังจากที่เกษตรกรชาวนา ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ทำการเพาะปลูกในช่วงฤดูฝน แต่ต้องเผชิญกับปัญหาขาดน้ำ และกำลังแห้งเหี่ยวทยอยยืนต้นตาย จากฝนหยุดตกเป็นเวลานาน น้ำในแหล่งกักเก็บน้ำตามธรรมชาติแห้งขอดลง ซึ่งหากยังไม่มีฝน ในช่วงกลางเดือนกันยายน นี้ จะทำให้ข้าวทั้งหมดทำการเพาะปลูก 100 ไร่ ที่ลงทุนไปกว่า 3 แสนบาท ต้องเสียหาย ทั้งหมด ซึ่งการทำนาในรอบนี้ ถือ ว่าขาดน้ำหนักสุก ในรอบ 40 ปี


นางน้ำผึ้ง กะโห้ เกษตรกรตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ระบุ ว่า จากที่เริ่มทำนา มีฝนตกลงมา แต่หลังจากนั้น ฝนหยุดตก มานานนับ2 เดือน ทำให้ต้นข้าว เริ่มยืนต้นตาย จากขาดน้ำ ซึ่งข้าวหอมมะลิ มีอายุในการเพาะปลูก ซึ่งหากไม่มีฝนตกลงมา จะทำให้ข้าวเสียหายยืนต้นแห้งเหี่ยวตาย ทั้งหมด และ จะต้อง เสียเงินที่ลุงทุน กว่า 3 แสนบาท เพื่อหวังเป็นรายได้ ในครัวเรือน ซึ่งถือว่า ในปีนี้ แล้งหนักสุด ในรอบ 40 ปี


สำหรับนาข้าว ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นการปลูกข้าวหอมมะลิ อยู่นอกเขตชลประทาน จำนวนกว่า เกือบ 3 หมื่นไร่ ใน ทั้ง 7 อำเภอ ของจังหวัดพิจิตร  อำเภอสากเหล็ก อำเภอวังทรายพูน อำเภอทับคล้อ อำเภอดงเจริญ อำเภอวชิรบารมี อำเภอตะพานหิน และอำเภอเมืองพิจิตร ที่กำลังประสบปัญหา แห้งเหี่ยวทยอยยืนต้นตาย จากฝนหยุดตกเป็นเวลานาน และปริมาณฝนไม่เพียงพอ หากไม่มีฝนตกลงมา จะส่งผลกระทบ กับประชาชน ในปีนี้ จึงถึงปี ต่อไป


ตามที่ สมาชิกกลุ่มรักนกเงือกบ้านบางกระท่า แจ้งว่าที่บริเวณเขาหินแผ่น ป่าเบญจพรรณ เขตอุทยานแห่งชาติไทยประจัน ป่ามรดกโลก อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดภัยแล้งและไม่มีฝนตกในพื้นที่เป็นเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เข้าฤดูฝน ทำให้ต้นใบบริเวณเขาหินแผ่นเริ่มเหี่ยวเฉา มีสีเหลืองและเตรียมยืนต้นตาย ทางผู้สื่อข่าวจึงได้เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่บริเวณดังกล่าว ซึ่งระหว่างทางที่เดินทางขึ้นเขาก็จะพบกับความแห้งแล้งตลอดเส้นทาง ใบไม้ใบหญ้าเริ่มเหี่ยวเฉา ตลอดระยะทางกว่า 2 กิโลเมตรจนถึงยอดเขา


นอกจากนีัยังพบการตัดไม้ทั้งสองข้างทาง และมีการบุกรุกขึ้นไปทำบ้านพักรีสอร์ทบนยอดเขา นอกจากนี้จากการตรวจสอบผ่านโดรน พบว่าต้นไม้เริ่มร่วงเหี่ยวเฉาเป็นวงกว้างกินบริเวณยอดเทือกเขาและกำลังแผ่วงกว้างออกไปเรื่อย ๆ ซึ่งโดยปกติจะพบในช่วงฤดูแล้ง แต่ตอนนี้ยังเป็นช่วงฤดูฝนอยู่ ทั้งนี้ถ้าไม่มีปริมาณน้ำฝนตกลงมาอย่างเพียงพอก็อาจจะส่งผลให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในบริเวณดังกล่าว ทั้งสัตว์ป่า และชาวบ้าน ก็จะได้รับความเดือดร้อน อีกทั้งอาจจะเกิดภัยแล้งเร็วขึ้นและยาวนานขึ้นไปจนถึงปี2567 ปีหน้า จากการสอบถามชาวบ้านในพื้นที่ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าตั้งแต่เกิดมาจนปัจจุบันไม่เคยพบเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน


ต่อมาทางผู้สื่อข่าวได้ติดต่อไปยังนายชูศิลป์ ชีช่วง อายุ 56 ปี ผู้ใหญ่บ้านม.1 บ้านโป่งกระทิง ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี เพื่อไปตรวจสอบปัญหาภัยแล้งหลังน้ำประปาหมู่บ้าน หมู่ที่ 9 ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี หลังประสบปัญหาไม่มีน้ำประปาใช้กว่า 2 เดือน โดยมีนายศุภโชติ บุญยงค์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 ต.บ้านบึง และนายชัยวัฒน์ ดิษฐ์เหมาะ ส.อบต.ม.9 ต.บ้านบึง


จากการตรวจสอบพบว่าทางหมู่บ้านมีบ่อน้ำ 2 บ่อ แต่ไม่มีน้ำเพียงพอจะสูบเข้าไปใช้ในระบบน้ำประปาเนื่องจากเป็นบ่อน้ำซับผิวดิน และไม่มีปริมาณน้ำฝนตกมากเพียงพอ ทำให้ชาวบ้านไม่มีน้ำประปาใช้อุปโภคบริโภค อีกทั้งด้านการเกษตรก็ส่งผลตามมาด้วย ทางตนต้องประสานไปยัง หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอสนับสนุนรถบรรทุกน้ำให้กับหมู่บ้าน เพื่อแก้ปัญหาเบื้องต้นไปก่อน แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ


ทางด้าน นายชูศิลป์ ชีช่วง กล่าวว่า พื้นที่ตรงนี้เป็นบ่อพักน้ำที่ใช้ในประปาหมู่บ้าน แต่ไม่ได้ใช้มา 2 เดือนแล้วเพราะเกิดปัญหาภัยแล้งทั้งที่อยู่ในช่วงฤดูฝน ตอนนี้ทำได้เพียงขอประสานหน่วยงานในจังหวัดนำน้ำไปส่งตามหมู่บ้านเพื่อแก้ปัญหาไปก่อน ซึ่งตอนนี้เรียกได้เข้าสู่ขั้นวิกฤต ลามไปถึงด้านการเกษตรทำให้ผลผลิตไม่เจริญเติบโต สิ่งที่เร่งด่วนตอนนี้คืออยากให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาทำการสำรวจและเจาะน้ำบาดาลเพื่อให้มีน้ำใช้เหมือนเดิม โดยเหตุการณ์ภัยแล้งในช่วงฤดูฝนไม่เคยเกิดขึ้นแบบนี้มาก่อนปกติพื้นที่ก็จะเขียวชะอุ่มทั่วพื้นที่ และปัญหาไฟป่าก็จะเกิดขึ้นเร็วกว่าเดิม ตรวจสอบบริเวณแปลงข้าวไร่ของชาวกระเหรี่ยง พบว่าต้นข้าวเริ่มยืนต้นตายบางส่วนก็เหี่ยวเฉาเพราะขาดน้ำและอาจทำให้ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้หากยังประสบปัญหาแบบนี้อยู่


ทั้งนี้เนื่องด้วยไม่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอ ทำให้พื้นที่บริเวณนี้ขาดน้ำส่งผลให้ต้นไม้ในพื้นที่ป่าบริเวณดังกล่าวแห้งแล้ง มีสีเหลือง ใกล้ยืนต้นตาย เป็นระยะเวลาถึง 2 เดือน ซึ่งป่าบริเวณดังกล่าวมีเลียงผา (สัตว์ป่าสงวน) อาศัยอยู่ และสัตว์ป่าอื่น ๆ ด้วย และถ้าไม่มีฝนตกลงมาก็จะทำให้สัตว์ป่าลงไปรบกวนชาวบ้านตามหมู่บ้าน ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ในรอบ 50 ปี ที่เกิดภัยแล้งในช่วงหน้าฝน และจะส่งผลให้เกิดภัยแล้งเร็วขึ้นและยาวนานขึ้นในเขตพื้นที่อ.บ้านคา


https://youtu.be/KgPOXUZ0pYE

คุณอาจสนใจ

Related News