เลือกตั้งและการเมือง

นักกฎหมาย ชี้ ปัญหาห้ามโหวตชื่อเป็น 'พิธา' ซ้ำเป็นการตีความที่ขัด รธน.

โดย parichat_p

24 ก.ค. 2566

467 views

ความเห็นจากนักวิชาการด้านนิติศาสตร์ สองท่าน ออกมาให้ความเห็นกับ ช่อง 3 เรา หลังจากที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ตีความมติรัฐสภา ที่อ้างข้อบังคับที่ 41 ไม่ให้เสนอชื่อคุณพิธา ซ้ำ ในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อ 19 ก.ค. ว่าเป็นการกระทำที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ หรือไม่


ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่า การประชุม รัฐสภา เมื่อ19 ก.ค. เป็นการ ตีความรัฐธรรมนูญว่าการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 159 และมาตรา 272 อยู่ภายใต้ ความหมายของคำว่า "ญัตติ" ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาที่41 หรือไม่


( ข้อบังคับที่41 บอกว่า ญัตติใดตกไปแล้ว ห้ามนำญัตติซึ่งมีหลักการเดียวกันขึ้นเสนออีก ในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ญัตติที่ยังมิได้มีการลงมติหรือญัตติที่ประธานรัฐสภาจะอนุญาต ในเมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าเหตุการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป )


อ.ปริญญา บอกว่าการทำแบบนี้เป็นการทำให้ ข้อบังคับการประชุม สูงกว่ารัฐธรรมนูญ ทั้งที่ข้อบังคับเป็นกติกาที่ใช้แค่เฉพาะในที่ประชุมรัฐสภา ไม่ได้มีผลผูกพันกับประชาชน มีสถานะต่ำกว่า พ.ร.บ. ด้วยซ้ำไป ในขณะที่รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด


ทำแบบนี้เป็นการ ใช้เสียงข้างมากที่ทำให้การเมืองอยู่เหนือหลักกฎหมาย แล้ว อ.นิติศาสตร์ จะสอนหนังศึกษากันต่อไปอย่างไร โดยเฉพาะในเรื่องลำดับชั้นกฎหมาย เพราะเรื่องนี้ผิดหลักกฎหมาย ย้ำว่า ข้อบังคับรัฐสภาไม่ได้ขัดรัฐธรรมนูญ แต่ มติของรัฐสภา ที่ตีความห้ามเสนอชื่อคุณพิธาซ้ำ เป็นการตีความที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย


อ.ปริญญา บอกว่า จริงๆเรื่องนี้ไม่ควรเกิดขึ้น เพราะประธานรัฐสภา มีอำนาจชี้ขาดได้ ไม่ควรเอามาโหวตให้ข้อบังคับใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ มติที่ออกมา เป็นมติที่สร้างบรรทัดฐานผิดๆ ให้กับการทำงานของรัฐสภา ใช้เสียงข้างมากลากกันไปอีกท่าน รศ.ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก อดีตที่ปรึกษากรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ก็มองตรงกันว่า จริงๆการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ส่วนตัวมองว่า เรื่องนี้ไม่ควรเป็นญัตติ เพราะเป็นเรื่องสำคัญ


ซึ่งถ้าไปดูข้อบังคัยการประชุม ที่ 36 ระบุว่า ญัตติไม่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ให้ผู้รับรองญัตติแสดงการรับรองโดยวิธียกมือขึ้นพ้นศรีษะ เว้นแต่การรับรองเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี


อ.เจษฎ์ บอกว่า ที่ข้อ 36 ระบุยกเว้นไว้ เป็นเพราะเรื่องนี้ไม่ใช่ญัตติ ปัญหาคือเรื่องนี้เป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นการดำเนินการตัดสินกันในสภาแล้ว มีโอกาสที่ ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่ก้าวล่วง เพราะศาลไม่อาจตีความได้ทุกเรื่อง อีกทั้งข้อบังคับที่ออกมารัฐสภา มีอำนาจออกข้อบังคับตามรัฐธรรมนูญ



รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/dS19bphvb68

คุณอาจสนใจ

Related News