เลือกตั้งและการเมือง

เปิดเงื่อนไข แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 272 ปิดสวิตช์ ส.ว. 'ประเสริฐ' ชี้ไม่ง่าย วุฒิสภาตั้งกำแพงสูง

โดย petchpawee_k

15 ก.ค. 2566

37 views

'ประเสริฐ' ชี้ไม่ง่ายแก้ ม. 272 ปิดสวิตช์ ส.ว. เผยหาหรือก้าวไกลเย็นวันนี้ มั่นใจ 13 เสียง ส.ว. ยังหนุน 'พิธา' รับไม่ประมาทกระแสเสนอชื่อ 'บิ๊กป้อม' ชิงนายกนายก บอก ม.112 เป็นกำแพงสำคัญ ต้องก้าวข้ามให้ได้


กรณีที่พรรคก้าวไกล ยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 เพื่อปิดสวิตช์ สว.นั้น จากเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด  การเสนอแก้รัฐธรรมนูญ ถือว่า ยากกว่าการโหวตนายกรัฐมนตรีมาก เพราะเงื่อนไข ต้องมีเสียงข้างมากในการโหวตแก้รัฐธรรมนูญ 376 เสียงขึ้นไป โดยในจำนวน 376 เสียง ต้องมีเสียง ส.ว. เห็นชอบ 1 ใน 3 หรือ 84 เสียง และมีเสียงฝ่ายค้าน ร้อยละ 20


ตอนนี้ ส.ส. ฝ่ายค้านมี 188 คน หมายความว่าต้องมีอย่างน้อย 100 คนโหวตเห็นชอบให้แก้ไขมาตรา 272


เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกวุฒิสภา ซึ่งโหวตไม่เห็นชอบ ‘พิธา’ เป็นนายกฯ วานนี้ กล่าวว่า ที่ พรรคก้าวไกล ยื่นแก้ไข รธน.ปิดสวิซต์ ส.ว.โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ม. 272 ของรัฐธรรมนูญ ไม่คิดว่าเป็นการตอบโต้ ส.ว. ที่ไม่โหวตให้นายพิธา เพราะเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ตามกฏหมาย แต่ทำให้ได้แล้วกัน เพราะ การแก้ไขรัฐธรรมนูญต้องอาศัยเสียง ส.ว. 1 ใน 3 หรือ 84 คน ที่จะให้แก้หรือไม่แก้ ก็ต้องไปวัดกัน


ขณะที่ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า การแก้ไขและธรรมนูญมาตราดังกล่าวการประชุมที่ผ่านมาเพื่อไทยได้ยื่นการแก้ไขในมาตรานี้มาสองครั้งแล้ว และไม่ผ่านการพิจารณาของสภา เพราะฉะนั้นการที่พรรคก้าวไกลได้เปิดประเด็นนี้ขึ้นมาตนเข้าใจว่าเป็นการทลายกำแพงโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่มีการโหวตนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา เพราะส.ว. ไม่ตั้งกำแพงเริ่มมาตรา 112 เอาไว้เพราะฉะนั้นทางก้าวไกลอยากจะหยิบยกประเด็นนี้เพื่อที่จะให้การโหวตเลือกนายกเป็นเรื่องเฉพาะของสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น


เมื่อถามว่าจะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ในสมัยนี้ได้เลยหรือไม่ นายประเสริฐ กล่าวว่า ถ้าทำได้เป็นเรื่องดีแต่ข้อเท็จจริงการแก้ไขมาตรา 272 ต้องใช้เสียงของรัฐสภาเกินกว่าครึ่งหนึ่งและในกลุ่มหนึ่งนั้นต้องมีเสียงสมาชิกวุฒิสภา 84 เสียงด้วย เพราะฉะนั้นที่ผ่านมาเพื่อไทยดำเนินการมาแล้วและไม่ง่ายไม่เคยได้เสียงของสมาชิกวุฒิสภา ครั้งนี้ยังก็เชื่อว่าส.ว. จะตั้งกำแพงสูงในเรื่องนี้เพราะการแก้ไขจะไม่ง่ายนักตามที่คิดเอาไว้


ส่วน 13 เสียงที่ ส.ว. โหวตให้นายพิธา เมื่อมีการโหวตครั้งที่สอง เชื่อหรือไม่ว่าจะยังคงโหวตให้ นาย ประเสริฐเชื่อว่า ส.ว ทั้ง 13 คน น่าจะยังอยู่ยังจะโหวตให้ในรอบสอง คงจะมีเจตนาและคงมีความตั้งใจและเจตนาที่มองการเมืองอีกมุมนึง

---------------------------------------

‘ส.ว.เสรี ลั่น งัดข้อบังคับ 41 ปิดทางโหวต ‘พิธา’ รอบ 2 เป็นเรื่องตรงไปตรงมา ชี้ช่องเสนอชื่ออื่น ชิงแข่ง ‘พิธา’ มองมีโอกาสเป็นไปได้ แจงเอกสาร ขั้นตอนโหวตนายกฯ หลุด ล็อคไม่ให้โหวต ‘พิธา’ รอบสอง แค่ข้อหารือในกลุ่ม ไม่มี ‘ใบสั่ง’ จากใคร


 นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึง กระแสข่าวที่สมาชิกวุฒิสภาจะนำข้อบังคับที่ 41 ในการประชุมรัฐสภา มาใช้การลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ที่จะทำให้การเสนอญัตติเดิม ไม่สามารถทำได้ ในการประชุมรัฐสภา ที่คาดว่าจะมีขึ้นในวันที่ 19 กรกฎาคมนี้ว่า แนวทางดังกล่าว เป็นเรื่องที่ตรงไปตรงมา ซึ่งกำหนดไว้ว่าการเสนอญัตติ เมื่อมีการเสนอและตกไปแล้ว จะไม่ให้เสนอซ้ำในสมัยประชุมเดียวกัน เว้นแต่ว่าได้รับอนุญาตจากประธานรัฐสภาด้วยเหตุว่ามีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลง อาทิ ญัตติที่ผ่านมาคือเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคดิเดตนายกรัฐมนตรี จากพรรคก้าวไกล เพียงคนเดียว แต่หากมีการเสนอเหมือนเดิมกลับเข้ามาอีกครั้ง ไม่สามารถทำได้



เมื่อถามย้ำว่า หากเสนอนายพิธา พร้อมกับชื่อคนอื่น สามารถทำได้หรือไม่ นายเสรี ระบุมีโอกาสเป็นไปได้ หากประธานรัฐสภาอนุญาต ส่วนแนวทางดังกล่าว มาจากส่วนตัว หรือสมาชิกวุฒิสภาคนอื่นร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย นายเสรี ยอมรับว่า เป็นการพูดคุยกันในกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา



 ส่วนที่มี ‘เอกสารหลุด’ ออกมา เพื่อให้ส.ว.ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวหากประชุมรัฐสภาในครั้งที่ 2 ให้หยิบยกเรื่องข้อบังคับ 41 ขึ้นมาพิจารณาเหมือนมี ‘ใบสั่ง’ นั้น นายเสรีระบุว่า ไม่หรอก เป็นเพียงการหารือกันในกลุ่ม เพราะเวลาเสนอความเห็น แต่ละคนก็จะมีแนวทางของตัวเอง เป็นข้อเสนอที่ต้องพิจารณาร่วมกัน ไม่มีใครสั่งใครได้ เพราะเป็นมุมมองในข้อกฎหมายที่มีการส่งกันในไลน์ ซึ่งเป็นการแสดงความคิดเห็นกับเพื่อนให้สมาชิกให้ได้ทราบ ไม่ได้เป็นเรื่องการสั่ง



เมื่อถามว่า ที่ผ่านมามี ข้อมูลหลุดมาจากไลน์ของส.ว.บ่อยครั้ง กังวลหรือไม่ว่าจะมีหนอนบ่อนไส้ นำข้อมูลมาให้พรรคก้าวไกล นายเสรี ระบุว่า ไม่ห่วง เพราะคนหมู่มาก ย่อมมีความเห็นต่าง และคนเห็นต่างก็นำไปส่ง ช่วงหลังจึงมีการระมัดระวังมากขึ้น ว่าหากอะไรเสนอความเห็นไปแล้ว และไปกระทบการทำงาน ก็ไม่ควรที่จะเสนอกันเข้ามาในไลน์ ไม่ต้องห่วงว่า ถ้าก้าวไกลจะทราบในเรื่องดังกล่าวหรือไม่ เพราะคนเป็นร้อยคน ก็ต้องมีคนรู้จักกันบ้าง ซึ่งต้องมีอยู่แล้ว


ส่วนท่าทีของ ส.ว.หลังจากลงมติไปเมื่อวานนี้จะดำเนินการอย่างไรต่อไปนั้น นายเสรีกล่าวว่า ต้องรอดูว่า ส.ส.จะเสนอชื่อใครเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ส.ว.จะต้องพิจารณาต่อไป

ชมผ่าน YouTube ได้ที่นี่ : https://youtu.be/4rwuVEhzJ4g

คุณอาจสนใจ

Related News