สังคม

กอ.รมน.ภาค 4 ประณามผู้ก่อเหตุระเบิดรถคณะรองแม่ทัพภาค 4 ทำทหารเสียชีวิต 2 นาย

โดย panwilai_c

5 มี.ค. 2566

135 views

กอ.รมน.ภาค 4 ประณามการก่อเหตุระเบิดรถยนต์คณะรองแม่ทัพภาคที่ 4 เป็นเหตุให้ทหารเสียชีวิต 2 นายเป็นการทำลายกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ ขณะที่นักวิชาการ มองเป็นการส่งสัญญาณถึงการพูดคุยที่ยังท้าทาย โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นในการหยุดยิง พร้อมประเมินการลงพื้นที่ของผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย เป็นการยกระดับการพูดคุยไปเป็นการเจรจาสันติภาพ



พลโท ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 เป็นประธานส่งร่างของพันตรี ลิขิต วิทยประภารัตน์ และจ่าสิบเอก อิสระ เลิกนอก กลับภูมิลำเนาอย่างสมเกียรติ หลังจากทหารทั้ง 2 นาย เสียชีวิตจากเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดขบวนรถยนต์ของพลตรี ไพศาล สังข์นอก รองแม่ทัพภาคที่ 4 ซึ่งไปตรวจสอบเหตุคนร้ายใช้ระเบิดแสวงเครื่อง แบบไปป์บอมบ์และอาวุธปืนยิงใส่ฐานปฏิบัติการ กองร้อยทหารพรานที่ 4906 บ้านไอร์กาแซ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส ซึ่งถือเป็นเหตุสูญเสียครั้งสำคัญที่ทาง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าต้องแสดงความเสียใจกับครอบครัวที่จะดูแลสวัสดิการให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บอย่างครบถ้วน และสั่งการให้หน่วยงานในพื้นที่เข้มวงดในการควบคุมพื้นที่เพื่อสร้างความปลอดภัยกับทุกหน่วยงาน



ซึ่งเหตุรุนแรงครั้งนี้ เป็นการกระทำที่ไม่คำนึงถึงหลักการอันดีงามทางศาสนาและหลักมนุษยธรรม และต้องการให้ส่งผลกรทะบต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขที่กำลังดำเนินการไปในทิศทางที่ดี หากประชาชนพบเห็นเบาะสแผู้กระทำผิด หากให้การสนับสนุน จะมีความผิดจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



ขณะที่วันนี้เกิดเหตุคนร้ายขว้างระเบิดแสวงเครื่อง แบบไปป์บอมบ์ ใส่ฐานปฏิบัติการกองร้อยทหารพรานที่ 4601 ที่บ้านลูโบะปูโละ ตำบลสามัคคี อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส แต่ไม่มีผุ้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต แต่หลังเกิดเหตุลอบวางระเบิดซ้ำที่อำเภอศรีสาคร พลตรี เฉลิมพร ขำเขียว ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส จึงสั่งห้ามเข้าพื้นที่จนกว่าจะสามารถตรวจสอบความปลอดภัยทุกเส้นทางที่จะเข้าเกิดเหตุเพราะไม่เกิดเหตุซ้ำร้อยด้วย



เหตุรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังจาก ตันศรี ซุลกิฟลี ไซนัล อะบิดิน ผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย ลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม จึงเป็นความท้าทายต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ



ผศ.ดร.ศรีสมภร จิตรภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ มองว่าเป็นการส่งสัญญาณถึงโต๊ะพูดคุย และเจ้าหน้าที่รัฐ ที่กำลังพุดคุยถึงการหยุดยิง ที่เป็นหนึ่งในแผนสันติภาพ JCPP ที่รัฐไทยบรรลุข้อตกลงกับ BRN อย่างหลีกลี่ยงไม่ได้



ผศ.ดร.ศรีสมภพ ยังประเมินการลงพื้นที่ของผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย สร้างบรรยากาศที่ดีต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพ และการพบปะกับภาคส่วนต่างๆกว่า 33 กลุ่ม กลายเป็นการสื่อสารแบบใหม่ ที่ต้องการยกระดับพูดคุยไปสู่การเจรจา มากกว่าการทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสันติภา พ faciliatator เป็นผู้ไกล่เกลี่ย mediator ซึ่งเป้นความต้องการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียที่ต้องการทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ และจะเป็นพัฒนาการ 10 ปีของการพูดคุยด้วย



ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ เห็นว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีพัฒนาการของการพูดคุยจนถึงข้อตกลง jcpp ที่ทั้งผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย ฝ่ายไทยและบีอาร์เอ็น ต้องพิสูจน์ความจริงใจ โดยเฉพาะข้อตกลงหยุดยิงที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคมนี้

คุณอาจสนใจ