สังคม

'จอกหูหนูยักษ์' พืชเอเลียนสปีชีส์ ภัยคุกคามทะเลบัวแดง

โดย panwilai_c

18 ธ.ค. 2565

85 views

เอเลียนสปีชีส์ เป็นคำเรียกของสิ่งมีชีวิตที่เป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นมีทั้งพืช และสัตว์ ถือเป็นภัยรุกรานต่อระบบนิเวศของประเทศไทย เนื่องจากเอเลียนสปีชีส์ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำลายหรือกลืนกินสัตว์หรือพืชประจำถิ่น จอกหูหนูยักษ์ 1 ในพืชต่างถิ่นที่กำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมของแหล่งน้ำสำคัญในหลายพื้นที่ และมีแนวโน้มว่า อาจจะแพร่กระจายจนเกินการควบคุม อย่างเช่นที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ของบึงหนองหานทะเลบัวแดง ที่ จ.อุดรธานี



เจ้าหน้าที่ของกรมโยธาธิการ และผังเมือง กระทรวงมหาดไทย เร่งกำจัดจอกหูหนูยักษ์ที่ลมพัดพามารวมกันบริเวณร่องน้ำประตูระบายน้ำบึงหนองหาร บริเวณบ้านเดียม อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี เพราะจอกหูหนูยักษ์จะเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ ซึ่งบึงหนองหาน ถือเป็นทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ เนื้อที่รวม 22,500 ไร่ แต่ปัจจุบันนี้ จอกหูหนูยักษ์กำลังเป็นภัยคุกคาม



ประธานกลุ่มเรือทะเลบัวแดง บอกกับ ทีมข่าว3มิติ เล่าว่า จอกหูหนูยักษ์ เริ่มปรากฏที่บึงหนองหานเมื่อ2-3ปีก่อน จากที่พบเพียงเล็กน้อย ปัจจุบันแพร่กระจายกินพื้นที่ 1 ใน 3 ของพื้นที่บึงหนองหาน



ขณะที่เรา กำลังร้องเรือสำรวจพื้นที่ ก็พบชาวบ้านตีเบ็ดล่อปลาอยู่ ชาวบ้าน คนนี้ บอกกับเราว่า ปลาหายากกว่าอตีดที่ผ่านมา และที่สำคัญปรากฏว่า ปีนี้พบปลาเกร็ดลอยน้ำตายจำนวนมาก



ชาวบ้านที่นี่ จึงหวั่นวิตกกันว่า จอกหูหนูยักษ์จะแพร่พันธุ์เต็มพื้นที่บึงหนองหาน ซึ่งจะส่งกระทบกับพันธุ์ปลา และบัวแดง จุดดึงดูดนักท่องเที่ยวในเข้าที่หนอกหาน ซึ่งเป็นทั้งแหล่งอาหาร และรายได้ของคนในชุมชน เนื่องจาก จอกหูหนูยังสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว จอกหูหนูยักษ์สามารถเจริญเติบโตเพิ่มปริมาณเป็น 2 เท่า ใน 2-4 วัน และมีรายงานว่า จอกหูหนูยักษ์ 1 ต้น อาจเจริญเติบโตเป็นแพปกคลุมพื้นที่มากกว่า 40 ตารางไมล์หรือ 64,750 ไร่ ในเวลาเพียง 3 เดือน

คุณอาจสนใจ

Related News