ข่าวโซเชียล

สุดยอดนวัตกรรม ‘กระบอกตั๋วอัจฉริยะ’ ขสมก.จ้างเอกชนทำ 10 เครื่อง ใช้งบ 5 แสนบาท

โดย thichaphat_d

22 ก.ย. 2565

1.7K views

ขสมก.จ้างเอกชนคิดค้นพัฒนา กระบอกเก็บค่าโดยสารอัจฉริยะ ติดจอภาพที่ตัวกระบอก 10 เครื่อง ใช้งบ 5 แสนบาท ชาวเน็ตสับพัฒนาเรื่องเปล่าประโยชน์ แนะทำเครื่องสแกนบัตรแบบในต่างประเทศ แก้ปัญหาได้ตรงจุดกว่า 


โดย เพจ Bangkokbusclub.com ชุมชนคนรักรถเมล์ โพสต์ระบุว่า

ในแวดวงรถเมล์ ได้มีการส่งต่อภาพของเล่นใหม่ใน ขสมก. นั่นคือ "กระบอกเก็บค่าโดยสารอัจฉริยะ" ซึ่งมีการนำจอภาพขนาดเล็ก ต่อเข้าบริเวณปลายของกระบอกตั๋ว


ตามข้อมูลจากจากระบบจัดซื้อจัดจ้าง ขสมก. ได้มีโครงการจ้างพัฒนากระบอกเก็บค่าโดยสารต้นแบบอัจฉริยะ (Intelligent-Brog)

โดยมีบริษัท โปร อินไซด์ จำกัด เป็นผู้ได้รับการคัดเลือกจาก ขสมก. ในงบประมาณ 500,000 บาท และ ขสมก.ได้กำหนด TOR ไว้ดังนี้

1. พัฒนาและส่งมอบกระบอกเก็บค่าโดยสารอัจฉริยะต้นแบบ จํานวน 10 กระบอก มีคุณลักษณะดังนี้

- ตัวกระบอกทําด้วยวัสดุที่ทนทาน มีจอสัมผัสสําหรับแสดงผลขนาดไม่น้อยกว่า 2.8 นิ้ว (วัดตามแนวทแยง) และมี stylus หรือมีหน้าจอสัมผัส สําหรับสั่งงานสัมผัสกับจอภาพ

- สามารถป้อนค่าราคาค่าโดยสารตามราคามาตรฐานที่กําหนดไว้ ในแต่ละเส้นทางของรถโดยสาร

- มีปุ่มราคาด่วนให้สามารถเรียกใช้ได้สะดวก โดยปุ่มนี้จะเรียงลําดับจากราคาค่าโดยสาร

- ไม่สามารถสั่งพิมพ์ตั๋วโดยสารเดิมซํ้าได้

- สามารถลบและแก้ไขราคาค่าโดยสารได้

- สามารถสั่งพิมพ์ตั๋วโดยสารไปยังเครื่องพิมพ์แบบพกพาได้

- สามารถรองรับการส่งข้อมูลจําหน่ายตั๋วไปยังระบบคลาวด์ โดยผ่านระบบ WIFI 2.4 GHz และหรือระบบ SIM ผ่านเครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์มือถือ

- สามารถแสดงผลรวมราคาค่าโดยสารที่จําหน่ายสุทธิ และจํานวนตั๋วโดยสารที่ออกประจําวันที่ใช้งานในขณะนั้น

- มีแบตเตอรี่ชนิดชาร์จได้ มีขนาดไม่ต่ำกว่า 3,500 mA พร้อมสาย USB สําหรับชาร์จ

- มีเครื่องพิมพ์ตั๋วโดยสารแบบความร้อนชนิดพกพา มีแบตเตอรี่ในตัวและสามารถชาร์จได้



2. พัฒนาและติดตั้งระบบบริหารจัดการข้อมูลจากกระบอกเก็บค่าโดยสารอัจฉริยะ

โดยระบบสามารถรายงานรายได้จากการซื้อตั๋วได้ดังนี้

- รายงานรายได้จากกระบอกเก็บค่าโดยสารอัจฉริยะแต่ละกระบอก

- รายงานรายได้/จํานวนตั๋วโดยสารเป็นรายชั่วโมง

- รายงานรายได้/จํานวนตั๋วโดยสารเป็นรายวัน

- รายงานรายได้/จํานวนตั๋วโดยสารเป็นรายเดือน

- รายงานรายได้/จํานวนตั๋วโดยสารเป็นรายปี

- รายงานรายได้รวมจากกระบอกเก็บค่าโดยสารอัจฉริยะแต่ละกระบอก

- รายงานรายได้/จํานวนตั๋วโดยสารเป็นรายสายเดินรถ เป็นรายชั่วโมง

- รายงานรายได้/จํานวนตั๋วโดยสารเป็นรายสายเดินรถ เป็นรายวัน

- รายงานรายได้/จํานวนตั๋วโดยสารเป็นรายสายเดินรถ เป็นรายเดือน

- รายงานรายได้/จํานวนตั๋วโดยสารเป็นรายสายเดินรถ ออกรายปี

และมีการแสดงผลไนลักษณะของกราฟดังนี้

- รายงานรายได้จากกระบอกเก็บค่าโดยสารอัจฉริยะแต่ละกระบอก

แสดงได้ตามหมายเลขรถ ตามรายชั่วโมง รายวัน รายเดือน รายปี

- รายงานรายได้รวม

- รายงานเปรียบเทียบจํานวนรายได้จากกระบอกเก็บค่าโดยสารอัจฉริยะ

แสดงได้ตามหมายเลขรถ ตามรายชั่วโมง รายวัน รายเดือน รายปี

- รายงานเปรียบเทียบจํานวนประเภทตั๋วที่ออกรวม

ทั้งนี้ ขสมก. จะจัดเตรียมทรัพยากรระบบ (Cloud Server) เพื่อใช้ไนการติดตั้งในโครงการ

กำหนดเวลาส่งมอบงาน 90 วัน นับจากวันที่เซ็นสัญญา

เอกสารอ้างอิง จากเว็บไซต์ ขสมก.

ร่าง TOR

http://www.bmta.co.th/sites/default/files/files/procurement/medium-price/raakhaaklaangkrabkekbkhaaodysaartnaebbacchchriya.pdf?fbclid=IwAR2bzN0D-yosYNQFX-o5sq6ojF75bv6IY7LyI6atGvTR3w-kVQR8ZXmbsbI

ประกาศผลผู้ชนะโครงการ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565

http://www.bmta.co.th/sites/default/files/files/procurement/win/prakaasphuuchnaphathnaakrabkelk.pdf?fbclid=IwAR1Cj01BAdfZcsvBjz3vaiZfocf1ZCb-yRnR6QgHM-3R9jepctkpRzl5Uts




หลังเรื่องราวเผยแพร่ไป ได้มีชาวเน็ตเข้ามาวิจารณ์ว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ดูไม่ค่อยถูกจุด เพราะเหรียญในกระบอกก็หนักข้อมือพนักงานอยู่แล้ว แต่ยังมีอุปกรณ์เพิ่มให้หนักเข้าไปอีก หากมีการใช้งานจริง ก็น่าเห็นใจพนักงานที่ต้องถือทั้งวัน

พร้อมแนะนำว่า ควรทำเครื่องสแกนบัตร+หยอดเหรียญรับแบงก์ดีกว่า โดยออกแบบให้คนขับรถทำงานคนเดียว เหมือนในต่างประเทศ ซึ่งเป็นการลดคนลดงาน เพิ่มกำไร และเชื่อมโยงกับขนส่งระบบอื่นๆ เพื่อเดินหน้าใช้บัตรแมงมุมได้จริงจังในไทยเสียที

คุณอาจสนใจ

Related News