สังคม

สธ.แนะผู้สูงอายุรับวัคซีน ลดเสียชีวิตจากโควิด ชี้โอมิครอนในไทย กลืนเดลตาเกือบหมดแล้ว

โดย thichaphat_d

16 ก.พ. 2565

49 views

วานนี้ (15 ก.พ. 65) นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงรายงานข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มผู้สูงอายุ ว่า


ข้อมูลสะสมตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 – เดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบมากถึง 237,759 ราย ตัวเลขเฉพาะช่วงวันที่ 1 มกราคม – วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 ติดเชื้อสะสม 34,918 ราย ในจำนวนนี้ เสียชีวิต 569 ราย เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ พบเสียชีวิต 237 ราย


ดังนั้น อัตราการป่วยในกลุ่มสูงอายุเทียบเท่ากับการระบาดของโรคในช่วงที่ผ่านมา แต่การเสียชีวิตสูงขึ้น โดยจากปี 2564 ร้อยละ 69 เป็น ร้อยละ 76 โดยส่วนใหญ่การติดเชื้ออยู่ในเขตเมือง เช่น กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี และชลบุรี สาเหตุมากกว่า ร้อยละ 50 มาจากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ


“ส่วนสถานการณ์วัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มสูงอายุนั้น พบว่าผู้สูงอายุรับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว 9.8 ล้านคน และเข็มที่ 3 อีก 3.3 ล้านคน แต่ยังไม่ครอบคลุม เนื่องจากผู้สูงอายุทั่วประเทศมีมากกว่า 12 ล้านคน ดังนั้น จึงมีอีก 2.2 ล้านคน ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ทั้งนี้ การป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มสูงอายุด้วยมาตรการ VUCA ยังมีความจำเป็นและใช้ได้ดี


ด้าน นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา จากการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การแพทยระบาด โควิด-19 ในประเทศไทยทางกรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้สุ่มตรวจสายพันธุ์โควิด -19 โดยใช้ตัวอย่าง กว่า 2000 ตัวอย่าง พบเป็นสายพันธุ์โอมิครอน กว่าร้อยละ 97.2 และพบสายพันธุ์เดลต้า ร้อยละ 2.8


โดย 10 จังหวัดที่พบสายพันธุ์โอมิครอนมากที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร // ภูเก็ต // ชลบุรี // ร้อยเอ็ด// สมุทรปราการ // หนองคาย // สุราษฎร์ธานี // มหาสารคาม // กาฬสินธุ์ และขอนแก่น


ส่วนในกลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ที่พบติดเชื้อส่วนมากจะพบสายพันธุ์โอมิครอน ร้อยละ 99.4 ส่วนสัดส่วนการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในประเทศ พบร้อยละ 96.4 คาดว่าอีกไม่นานจะครบ 100%


ขณะที่การเฝ้าระวังติดตามการกลายพันธุ์ ของสายพันธุ์โอไมครอนพบมีการกลายพันธุ์เป็นสามสายพันธุ์ย่อย คือ BA.1 ซึ่งเป็นตัวหลัก BA.2 และ BA.3 ที่พบมีการกลายพันธุ์ในบางช่วงของรหัสพันธุกรรม


โดย ข้อมูลสายพันธุ์ย่อย BA.1 พบเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในแอฟริกาตายและในประเทศอื่นส่วนใหญ่


ขณะที่สายพันธุ์ย่อย BA.2 มีรายงานครั้งแรกในประเทศอินเดียและแอฟริกาใต้ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2564 ในประเทศไทยพบครั้งแรกในกลุ่มผู้เดินทางเข้าประเทศช่วงต้นปี 2565ฃ


ทั้งนี้ ยังพบว่าสายพันธุ์ย่อยBA.2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหลายประเทศและอาจกลายเป็นสายพันธุ์หลักในอีกหนึ่งถึงสองเดือนนี้เพราะมีความสามารถในการแพร่กระจายได้เร็วกว่า BA.1 แต่ขนาดนี้ความรุนแรงของโรคยังไม่ต่างกันและยังไม่มีข้อมูลระบุชัดในวัคซีนเข็มกระตุ้นว่าสามารถป้องกันหรือหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้หรือไม่


ส่วน BA.3 ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอ


โดยประเทศไทยพบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน คือ BA.1 กับ BA.2 ซึ่งประเทศไทย เริ่มตรวจพบ BA.2 ในเดือนมกราคม แต่จากการสุ่มตรวจโดยการตรวจเบื้องต้น ในช่วงวันที่ 5-11 กุมภาพันธ์ ในกลุ่มผู้ติดเชื้อภายในประเทศพบเป็นสายพันธุ์ BA.1 ร้อยละ 81.5 และเป็นสายพันธุ์ BA.2 ร้อยละ 18.5 จากกลุ่มตัวอย่าง 105 คน // ส่วนในกลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศจากกลุ่มตัวอย่าง 42 ตัวอย่างพบเป็นสายพันธุ์BA.1 ร้อยละ 81 และเป็นสายพันธุ์ BA.2 ร้อยละ 19


โดยจากสัดส่วนของทั้งสองกลุ่มพบแนวโน้มสายพันธุ์ย่อย BA.2 มีแนวโน้มเพิ่มสัดส่วนขึ้น


ขณะนี้ กรมวิทย์จะประสานกับกรมการแพทย์เพื่อติดตามอาการทางคลินิกของผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน BA.2 ต่อไป เพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลสรุปถึงอาการและความรุนแรงของโรคว่าแตกต่างกันหรือไม่


โดย ข้อสรุป มีหลักฐานอยู่บ้างว่า BA.2 แพร่ได้เร็วกว่า BA.1 แต่ยังไม่มีข้อมูลชัดเรื่องของความรุนแรงของโรค แต่ก็ยังต้องรอติดตามข้อมูลก่อน ส่วนข้อมูลเท่าที่มีในขนาดนี้ยังบ่งชี้ว่าวัคซีนเข็มกระตุ้นยังช่วยป้องกันสายพันธุ์ BA.2 และลดการป่วยหนักและการเสียชีวิตได้


ส่วนของสายพัน เดลต้าครอน ตอนนี้เรื่องเงียบไปแล้ว คาดว่าน่าจะเป็นการปนเปื้อนในห้องปฏิบัติการณ์ ซึ่งทาง จีเชดมีการถอนข้อมูลออกไปแล้ว จึงถือว่าจบไปแล้ว ไม่มีการกำหนดว่าเป็นสายพันใหม่ หรืออะไร แล้ว


นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากนี้ในการตรวจหาผู้ติดเชื้อและการรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้ออาจไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน ไม่ใช่จะเป็นการปกปิด บิดบือนข้อมูล แต่ในการคิดตามสถานการณ์นั่นมีข้อมูลเพียงพอในการเฝ้าระวัง แต่วันอยู่แล้ว รวมไปถึงการตรวจแยกสายพันธุ์ ซึ่งถ้าไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงความรุนแรงของโรคลดล ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดแยกสายพันธุ์ เช่นเดียวกับในหลายประเทศ ที่มีการลดจำนวนการตรวจคัดกรองลงเนื่องจากเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น หลังจากนี้ หากพบมีอาการป่วยจึงจะค่อยตรวจและรักษา เหมือนไข้หวัดใหญ่ หรือโรคอื่นๆ


รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/Wv2R6Zqgh3w

คุณอาจสนใจ

Related News