ข่าวโซเชียล

“สิระ” ถามแรง “ผอ.กองสลาก” รับสินบนหรือไม่?

โดย narisa_n

2 ธ.ค. 2564

1.4K views

"สิระ"ถามแรง "ผอ.กองสลาก" รับสินบนหรือไม่ หลังปล่อยแพลตฟอร์มออนไลน์ ขายลอตเตอรีเกินราคา แต่เลือกจับแต่ประชาชนตัวเล็ก ขณะ "ผอ.กองสลาก" ยัน ไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ไม่มีอำนาจปิดแผงออนไลน์


คณะกรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสิระ เจนจาคะ เป็นประธาน ได้มีการพิจารณาคำร้องของชมรมเครือข่ายผู้ค้าลอตเตอรี่รายย่อยจังหวัดเลย ที่มีความต้องการให้คณะกรรมาธิการตรวจสอบปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาลแพงเกินราคาและขอให้ตรวจสอบการทำงานของคณะบริหารสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล


โดยมี พ.ท.หนุน ศันสนาคม เป็นผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล /ตัวแทนจากกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนทางเทคโนโลยี / กรมสอบสวนคดีพิเศษ / และนายจีระศักดิ์ น้อยก่ำ ผู้ร้อง เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพียง โดยนายจีระศักดิ์ กล่าวว่า ลอตเตอรี ใน จ.เลย ไม่เพียงพอต่อผู้ที่ต้องการขายจนทำให้เกิดปัญหาขายเกินราคา และราคาลอตเตอรีที่สำนักงานกองสลากฯ ส่งให้ผู้ค้าโดยตรงที่อยู่ในระบบโควตาอยู่ที่ราคา 70.40 บาท จากนั้นขายให้ผู้ค้ารายย่อยอยู่ 94-95 บาท


ซึ่งการที่ลอตเตอรีถูกเปลี่ยนมือจากผู้ถือโควตาเป็นต้นเหตุของลอตเตอรีแพง อีกทั้งปัจจุบันยังมี แพลตฟอร์มขายลอตเตอรีออนไลน์ ที่พบว่า แพลตฟอร์ม ออนไลน์เหล่านี้ ไปกว้านซื้อลอตเตอรีในราคาท้องตลาด นำมาสแกนในระบบและจำหน่ายราคา 100 บาท


โดยหลังจากมีคนถูกรางวัลก็จะโอนเงินให้เลย ซึ่งจะได้เปอร์เซ็นต์จากลูกค้าที่ถูกรางวัลอีก 2% // อีกแบบหนึ่ง ผู้ขายสลากสามารถนำสลากไปสแกนผ่านแพลตฟอร์ม โดยคิดค่าสแกนใบละ 5 บาท แต่ต้องมีสลาก 1 หมื่นใบขึ้นไป ขายได้ประมาณ 3 ล้านใบต่องวด ซึ่งทั้งหมด ล้วนแล้วเป็นสาเหตุที่ทำให้สลากกินแบ่งรัฐบาลมีราคาสูงกว่า 80 บาท


ด้านกรรมาธิการหลายคนพยายามจี้ถาม ผอ.กองสลาก ว่าเหตุใดจึงไม่มีการแก้ไชปัญหาเหล่านี้อย่างเป็นรูปธรรมสักที ทั้งที่บอร์ดก็เปลี่ยนมาหลายชุดแล้ว อย่างในต่างประเทศก็มี การขายลอตเตอรี่ เหมือนกันแต่ไมาปรากฎว่ามีการขายเกินราคา หรือเป็นเพราะว่า ในต่างประเทศ ไม่ได้มีการกำหนดจำนวนของลอตเตอรี่แต่ละงวด แต่ประเทศไทยจำกัดที่งวดละ 100 ล้านฉบับ


จึงตั้งคำถามว่า ประเทศไทยสามารถที่จะพิมพ์ฉลากกินแบ่งรัฐบาลมากกว่านี้ได้หรือไม่ ทำให้ พันโทหนุน ขอใช้สิทธิ์ชี้แจง ว่า การเพิ่มจำนวนสลากต้องคำนึงถึงดีมานด์ซัพพลายจริงๆ จะไปเน้นที่ผู้ขายอย่างเดียวไม่ได้ จะมองเพียงว่า มีคนต้องการขายมาก ก็พิมพ์มากไม่ได้ เพราะจำนวนผู้บริโภคมีเท่าเดิม ส่วนสาเหตุที่สลากเกินราคา มันเกิดจากผู้ค้ารายย่อย ไม่นำสลากไปขายตามราคา ทั้งที่ได้สลากในราคาต้นทุน 70.40 และกลุ่มรายย่อยที่บอกมีจำนวนมากถึง 1-5 แสนราย เป็นกลุ่มที่ได้รับโควต้าสลากกินแบ่งจากรัฐบาลถึง 85 เปอร์เซ็นต์


พันโทหนุน ยังกล่าวถึงแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยระบุ เราทราบดี ว่า มีการขายเกินราคา แต่เขาเลี่ยงบาลี บอกว่าราคาล็อตเตอรี่ 80 บาท อีก 20 บาทเป็นค่าดำเนินการหรือค่าบริการ ทำให้กองฉลาด ไม่มีอำนาจในการดำเนินการให้ยกเลิกขายล็อตเตอรี่ในแพลตฟอร์มออนไลน์ได้ ทำได้เพียงยกเลิกโควต้าของผู้ค้ารายย่อยที่เอาสลากไปให้แพลตฟอร์มออนไลน์ขาย แต่ไม่มีอำนาจไปจับกุมหรือให้เลิกกิจการ ประเด็นนี้ทำให้นายสิระ เจนจาคะ ถึงกลับตั้งคำถามว่า ที่ไม่มีการดำเนินคดีกับแพลตฟอร์มออนไลน์ เพราะมีการรับสินบนกันหรือไม่ หรือเป็นการปล่อยปละละเลยหรือไม่ เพราะปัจจุบันกองสลากดำเนินคดีกับประชาชนทั่วไป แต่กลับไม่ทำอะไรเลยกลับแพลตฟอร์มออนไลน์ ทั้งที่เป็นผู้ค้าขนาดใหญ่


พันโทหนุน จึงตอบชี้แจงอีกครั้ง โดยยืนยันว่า กองสลากไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่กฎหมายของสำนักงานกองสลากฯ มีอยู่ข้อเดียว คือ เรื่องขายเกินราคา และเป็นความผิดลหุโทษ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท ทำให้เวลาเราแจงความแพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ ก็โดนแค่โทษปรับแต่ไม่ได้ทำให้ต้องเลิกกิจการไป ที่ผ่านมาจึงใช้วิธี ยกเลิกโควตาของผู้ค้ารายย่อยที่เอาสลากไปขายให้แพลตฟอร์ม ซึ่งปีที่ผ่านมาดำเนินการไปแล้วกว่า 10,000 ราย


ก่อนปิดการประชุม นายสิระ กล่าวทิ้งท้ายว่า ต้นจะควักเงิน 30,000 บาท เพื่อให้เจ้าหน้าที่ไปล่อซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลในแพลตฟอร์มออนไลน์ จะได้ทราบว่ามีการขายเกินราคาจริงหรือไม่ ซึ่งหากพบว่ามีการขายเกินราคาจริง ผอ. กองสลาก จะเป็นผู้ลงไปดำเนินคดีด้วยตนเอง ซึ่งจำนวนเงิน 30,000 บาทหากซื้อในราคา 100 บาทก็เท่ากับว่าได้ 300 ใบ เท่ากับมีความผิดถึง 300 กรรม ก็น่าจะเพียงพอที่จะเอาผิดผู้ค้าออนไลน์ได้

คุณอาจสนใจ

Related News