สังคม

กรมวิทย์ฯ ย้ำ ฉีดวัคซีนไขว้ภูมิคุ้มกันขึ้นสูง สู้โควิดสายพันธุ์เดลตาได้ดี

โดย narisa_n

19 ส.ค. 2564

3.7K views



19 ส.ค. 64 นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานผลการวิจัย โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับศิริราชพยาบาล ทำการศึกษาระดับภูมิคุ้มกัน ในซีรั่มของคนที่ได้รับวัคซีน โดยใช้ไวรัสสายพันธุ์จริงที่กำลังระบาดในประเทศไทย คือ สายพันธุ์เดลตา หรือสายพันธุ์อินเดีย ในอาสาสมัคร 6 กลุ่ม ประกอบด้วย


กลุ่มที่ 1 ที่ได้รับวัคซีน CoronaVac 2 เข็ม (SV+SV)


กลุ่มที่ 2 ได้รับ วัคซีน AstraZeneca 2 เข็ม (AZ+AZ)


กลุ่มที่ 3 ได้รับ วัคซีน CoronaVac และตามด้วย AstraZeneca (SV+AZ)


กลุ่มที่ 4 ได้รับ วัคซีน AstraZeneca และตามด้วย CoronaVac (AZ+SV)


กลุ่มที่ 5 ได้รับ วัคซีน CoronaVac 2 เข็มและตามด้วย Covilo 1 เข็ม (SV+SV+Sinopharm)


กลุ่มที่ 6 ได้รับ วัคซีน CoronaVac 2 เข็ม และตามด้วย AstraZeneca 1 เข็ม (SV+SV+AZ)


ซึ่งผลการศึกษา พบว่า ระดับภูมิคุ้มกันในกลุ่มต่างๆ หลังการได้รับวัคซีนครบโดส 2 สัปดาห์ ต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์เดลตา มีค่าเฉลี่ยระดับภูมิคุ้มกันที่สามารถลบล้างฤทธิ์ไวรัส (ดังแสดงในแผนภูมิ)



ทั้งนี้ หากพิจารณาจากภาพ จะเห็นว่าการให้วัคซีนสลับแบบ (SV+AZ) มีภูมิคุ้มกันสูงกว่าการให้วัคซีน CoronaVac 2 เข็ม (SV+SV) และเทียบเท่ากับการให้ AstraZeneca 2 เข็ม (AZ+AZ) แต่ใช้เวลาสั้นลง แต่ไม่แนะนำให้ฉีด AstraZeneca เข็มแรกและตามด้วย CoronaVac (AZ+SV)


ส่วนการกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วย AstraZeneca (SV+SV+AZ) สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพิ่มมากขึ้นถึง 11 เท่า ในขณะที่กระตุ้นเข็ม 3 ด้วย Sinopharm (SV+SV+Sinopharm) ที่เป็นวัคซีน เชื้อตายเหมือนกัน ให้ภูมิคุ้มกันสูงขึ้นเพียง 2.5 เท่า




อย่างไรก็ตาม การศึกษาต่อไป กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะทำการตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เบตา โดยใช้ไวรัสจริงเพื่อสร้างความมั่นใจ ต่อการใช้วัคซีนสลับและการฉีดกระตุ้นเข็ม 3 และเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนการให้วัคซีนที่เหมาะสมโดยให้ประสิทธิภาพสูงสุดแก่ประชาชนต่อไป

แท็กที่เกี่ยวข้อง  วัคซีน ,ซิโนแวค ,เดลต้า

คุณอาจสนใจ

Related News