สังคม

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แถลงการผลิตวัคซีนสัญชาติไทยรุ่นแรก

โดย panisa_p

16 ส.ค. 2564

22 views

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย แถลงข่าวออนไลน์ ถึงความสำเร็จการทดสอบวัคซีน ChulaCOV 19 เฟส 1 ได้ผลเทียบเท่าวัคซีน mRNA ในต่างประเทศ พบว่ายับยังการข้ามสายพันธุ์ของไวรัสได้ดี ตั้งเป้าก่อนเมษายน ปี 65 วัคซีน ChulaCOV19 จะสามารถใช้ในภาวะฉุกเฉินได้


ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย พร้อมด้วย นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริการโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกันแถลงข่าวออนไลน์ ทางเพจโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เกี่ยวกับความคืบหน้า การทดสอบวัคซีน ChulaCOV19 ซึ่งผลิตในประเทศไทย โดยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย


ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริการโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า การแถลงข่าววันนี้เป็นการแจ้งความสำเร็จเบื้องต้นในระยะที่ 1 ของวัคซีนวัคซีน ChalaCOV19 ซึ่งได้ทดลองกับ อาสาสมัครจำนวน 36 คน ช่วงอายุ 18 - 55 ปี ยังไม่ได้ตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ จากการทดลองพบว่าวัคซีนมีความปลอดภัย ไม่พบว่ามีผลข้างเคียงรุนแรงใด ๆ ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอยู่ในขั้นเล็กน้อยหรือปานกลาง และจะดีขึ้นภายใน 1 - 3 วัน จากการตรวจภูมิในอาสาสมัคร ChulaCOV19 สามารถยับยั้งโปรตีนปุ่มหนามได้ดี โดยยับยั้งได้ 94% เทียบเท่าไฟเซอร์ที่ยับยั้งได้ 94% เช่นกัน และแอสตราเซเนกายับยั้งได้ 84% ซึ่งจากรายงานการตีพิมพ์ หากวัคซีนใดยับยั้งได้เกิน 68% ถือว่าป้องกันการติดเชื้อได้


สรุปสำหรับผลสำเร็จของการทดสอบที่ได้ คือ

1.วัคซีน ChalaCOV19 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดี้ ได้สูงเทียบได้กับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ ของ ไฟเซอร์และBNT

2.วัคซีน ChalaCOV19 กระตุ้นแอนติบอดี้ได้สูงมากในการยับยั้งเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม

3.แอนติบอดี้ที่สูงมาก สามารถยับยั้งเชื้อข้ามสายพันธุ์ ได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ คือ อัลฟ่า เบต้า แกมม่า และเดลต้า

4.สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด ที - เซลล์ ซึ่งจะช่วยขจัดและควบคุมเชื้อที่อยู่ในเซลล์ของคนที่ติดเชื้อได้


ทั้งนี้คาดว่าการทดสอบในอาสาสมัครระยะ 2a จะเริ่มก่อนสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ ประมาณวันที่ 25 สิงหาคม ส่วนระยะ 2b และ ระยะ 3 ต้องรอกติการขึ้นทะเบียนจากทาง อย.ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง แต่ถ้าเป็นไปตามแผนประมาณเดือนตุลาคมนี้ จะได้วัคซีนที่ผลิตในไทย 100%


เป้าหมายที่วางไว้คือภายในเดือนเมษายน 2565 หรือก่อนสงกรานต์ ไทยจะขึ้นทะเบียนโควิด19 หรือChulaCOV19 ในภาวะฉุกเฉินได้ แต่ต้องบอกว่าสิ่งที่ว่างเป้าหมายไว้นั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยว่าจะเดินไปถึงจุดนั้นหรือไม่ เพราะเป็นความท้าทายคนไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากการจะเดินไปถึงเป้าหมาย ต้องมี 4 ปัจจัย คือ การระดมทุน ต้องมีงบที่เพียงพอรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ต้องมีกติกาการขึ้นทะเบียนในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 จาก อย. อย่างชัดเจน  ต้องมีโรงงานผลิตที่เร่งผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพและจำนวนมากได้ และนโยบายการจองและจัดซื้อวัคซีนล่วงหน้าต้องมีความชัดเจน

คุณอาจสนใจ

Related News