สังคม

สธ. เผยเตียงผู้ป่วยกลุ่มสีแดงในกทม.ยังวิกฤต เหลือเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น

โดย panisa_p

14 ก.ค. 2564

50 views

ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข เปิดแถลงข่าววันนี้ในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรด้านเวชภัณฑ์อุปกรณ์ทางการแพทย์ในสถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 โดย นพ.กรกฤช ลิ้มสมมุติ ผู้อำนวยการกองการบริหารสาธารณสุข และนพ. วิฑูรย์ อนันกุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฉุกเฉิน


พบว่า สถานการณ์ยาและเวชภัณฑ์ นพ.กรกฤช ลิ้มสมมุติ ผู้อำนวยการกองการบริหารสาธารณสุข ระบุว่า สถานการณ์ยาฟาวิพิราเวียร์ และยาเรมเดซิเวียร์ ซึ่งนำมาใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด -19 ว่า ขณะนี้ ยาฟาวิพิราเวียร์คงเหลือ 4,017,781 เม็ด ส่วนยาเรมเดซีเวียร์เหลือ 1,613 เม็ด โดยแผนการจัดหายาฟาวิพิราเวียร์เข้ามาเติมจำนวน 21 ล้านเม็ด โดยจะทยอยส่งมอบในเดือนกรกฎาคมทั้งหมด 16 ล้านเม็ด เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการ หลังมีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากนั้นเดือนสิงหาคมอีก 2 ล้านเม็ด และกันยายนอีก 2 ล้านเม็ด รวม 20 ล้านเม็ด ส่วนที่เหลืออีก 1 ล้านเม็ด อยู่ระหว่างการจัดหาเพิ่มเติม พร้อมยืนยันว่า มียาเพียงพอสำหรับผู้ป่วยที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น


ส่วนของ อุปกรณ์ป้องกันซึ่งมีประมาณ 10 รายการที่ทางศูนย์บริหารเวชภัณฑ์ทำการจัดซื้ออย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้มีเพียงพอต่อความต้องการของบุคลากร อย่าง หน้ากาก N95 ยังมีคงคลัง 6.9ล้านชิ้น มีการใช้เฉลี่ยเดือนละ 6แสนชิ้น หรือชุด coverrall&gown หรือชุดสวมป้องกันสำหรับผู้ที่ต้องใกล้ชิดผู้ป่วยยังมีคงคลัง 4.2 ล้าน ชิ้นมีอัตราการใช้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 1.2 ล้านชิ้น ขอย้ำว่าอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทุกชนิดมีการจัดหาอย่างต่อเนื่องและมีเพียงพอสำหรับทุกโรงพยาบาล ในการใช้ดูแลผู้ป่วย


ส่วนการบริหารจัดการเตียงรองรับผู้ป่วย นพ. วิฑูรย์ อนันกุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฉุกเฉิน ชี้แจงว่า สถานการณ์บริหารจัดการเตียงมีปัจจัยหลายอย่างทั้งเรื่องของเตียงชนิดต่าง ๆ และบุคลากรที่ต้องเข้าไปดูแลผู้ป่วยในแต่ละระดับซึ่งได้มีการระดมทรัพยากรบุคลากรจากภูมิภาคเข้ามาช่วยเหลือในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยพบว่าปัญหาที่วิกฤตในขณะนี้เกิดจากจำนวนที่ไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อ ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและขณะนี้ยังมีการส่งต่อเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ป่วยไปยังภูมิลำเนาดังนั้นจึงต้องมีการติดตามสถานการณ์เป็นยังรวมทั้งประเทศ


โดยในพื้นที่ กรุงเทพมหานครนั้น ในกลุ่มผู้ป่วยซึ่งแบ่งเป็นสามระดับคือผู้ป่วยสีเขียวกลุ่มไม่มีอาการผู้ป่วยสีเหลืองกลุ่มมีอาการเล็กน้อยและผู้ป่วยสีแดงกลุ่มมีอาการหนัก พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวที่มีโรงพยาบาลสนามและโฮลพิเทล รองรับ ตอนนี้ สัดส่วนโรงพยาบาลสนามที่ว่างมีประมาณร้อยละ 20 หรือประมาณ 500 เตียงจากจำนวนเตียงทั้งหมด 2470 เตียงส่วนโฮลพิเทล สัดส่วนที่ว่างประมาณร้อยละ 24 หรือ 4201 เตียงจากจำนวนเตียงทั้งหมด 17,823 เตียง


กลุ่มผู้ป่วยสีเหลืองซึ่งมีการจัดตั้งโควิดวอร์ด การดูแลผู้ป่วย ซึ่งจำนวนเตียงในวอร์ดโรงพยาบาลมีเตียงว่างร้อยละ 6 หรือประมาณ 415 เปลี่ยนจากจำนวนเตียงทั้งหมด 6419 เตียง ส่วนของห้องแยก หรือ Isolate room มีเตียงว่างร้อยละ 13 ประมาณ 449 เตียงจากจำนวนเตียง 3526 เตียง ส่วนที่กำลังวิกฤตและมีปัญหามากที่สุดคือเตียงและบุคลากรที่จะดูแลผู้ป่วยกลุ่มสีแดง ICU พบว่ามีอัตราส่วนเตียงว่างประมาณร้อยละ 10 จาก จำนวนเตียงทั้งหมดประมาณ 1,000 เตียง


ส่วนของจำนวนเตียงในภาพรวมของทั้งประเทศ ยกเว้น กทม. ในกลุ่มสีเขียวยังมีเตียงว่างประมาณร้อยละ 40 กลุ่มสีเหลืองมีเตียงว่างประมาณร้อยละ 25 และกลุ่มสีแดงมีเตียงว่างประมาณร้อยละ 31 ดังนั้น การจะบริหารจัดการเตียงกลุ่มสีแดงให้มีเพียงพอในพื้นที่กรุงเทพมหานคร คือการจำกัดการเพิ่มของกลุ่มผู้ป่วยจากกลุ่มสีเขียวและสีเหลืองไปสู่การเป็นผู้ป่วยกลุ่มสีแดง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยเจ็ดกลุ่มโรคเรื้อรัง จึงมีความจำเป็นในการให้กลุ่มบุคคลเหล่านี้ต้องได้รับวัคซีนเพื่อลดความเสี่ยงและลดการป่วยหนัก

คุณอาจสนใจ

Related News