สังคม

คลัสเตอร์ใหม่ "สายพันธุ์อินเดีย" โผล่ใจกลางกรุง รวดเดียวกว่า 10 ราย

โดย pattraporn_a

16 มิ.ย. 2564

272 views

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เฝ้าระวังเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ในประเทศไทย ล่าสุด พบการแพร่ระบาดโควิดสายพันธุ์เดลต้า(อินเดีย) โผล่ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใจกลางกรุงใน กทม. หลังสุ่มตรวจ พบ คนไข้ติดเชื้อแล้ว 10 ราย ลุ้นผลสอบสวนโรคเกี่ยวเนื่องแคมป์คนงานหลักสี่หรือไม่


นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงว่า ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า อินเดียเพิ่มขึ้นในหลายจังหวัด แต่ทั้งหมดยังเชื่อมโยงกับพื้นที่แรก คือ กลุ่มคนงาน ที่แคมป์คนงานหลักสี่ กทม.


โดยข้อมูลจากการตรวจแยกสายพันธุ์ ในรอบการระบาดเดือนเมษายน (7 -13 เมษายน) ที่สุ่มตรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 5,055 ราย พบ 4,528 ราย เป็นสายพันธุ์อัลฟ่า (อังกฤษ) คิดเป็นร้อยละ 89.6 มากที่สุด /ส่วนสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) 496 ราย คิดเป็นร้อยละ 9.6 และ สายพันธุ์เบต้า (แอฟริกาใต้) 31 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.6


และในสัปดาห์ที่ผ่านมา พบการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าในกลุ่มคนไทยและกลุ่มแรงงานต่างด้าว ซึ่งเชื่อมโยงกับกลุ่มแคมป์คนงานที่หลักสี่ ได้กระจายไปยัง 20 จังหวัด อาทิ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครนายก ชลบุรีจันทบุรี ขอนแก่น ร้อยเอ็ด อุดรธานี สกลนคร บุรีรัมย์ ชัยภูมิ อุบลราชธานี ปทุมธานี พะเยา โดยพบเพิ่มจังหวัดละ 1-2 คน


นอกจากนี้ ยังพบคัสเตอร์ใหม่ สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกทม. มีผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 10 ราย เป็นกลุ่มคนไข้ ที่เข้ารับการรักษาตัว แต่ยังต้องรอข้อมูลการสอบสวนโรคอีกครั้งว่า จะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับคลัสเตอร์เดิม คือแคมป์คนงานหลักสี่ หรือไม่ ซึ่งสิ่งที่น่ากังวลคือ สายพันธุ์อินเดียแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษ ถึงร้อยละ 40 จึงต้องเร่งตรวจสอบและคุมเข้มการแพร่ระบาด


ส่วนที่ประชาชนซื้อแรบบิทเทสต์ มาตรวจหาภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีน นพ.ศุภกิจ ไม่แนะนำให้ซื้อมาตรวจเอง เพราะเป็นการตรวจผิดวิธี ผลที่ได้คลาดเคลื่อนไม่สามารถบอกได้ว่าวัคซีนได้กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันในร่างกายหรือไม่ วิธีที่ถูกต้องคือ ต้องตรวจภูมิในห้อง lab เท่านั้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรวจทุกราย เพราะค่าตรวจค่อนข้างสูงประมาณ 5-7 พันบาท


สำหรับการตรวจภูมิคุ้มกันจะทำเพื่อเก็บข้อมูล ในกรณีที่พบการระบาดในกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงกว่าปกติ, กลุ่มที่พบการติดเชื้อไม่มีการระบาดมาก่อน, กลุ่มเดินทางเข้าประเทศ และกลุ่มที่ได้รีบวัคซีนแล้ว แต่ยังพบมีการติดเชื้อ


ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้ตรวจภาวะภูมิคุ้มกันหลังรับวัคซีนครบ 2 เข็ม ในกลุ่มอาสาสมัคร 200 คน โดยจะเป็นวิธีเอาเลือดหรือซีรั่ม มาสู้กับเชื้อจริง แล้วนับจำนวนในการฆ่าเชื้อ พบว่า ซิโนแวคครบ 2 เข็ม ภูมิคุ้มกันขึ้นเต็มที่ สามารถป้องกันโรคในสายพันธุ์ปัจจุบันได้ /ส่วนแอสตร้าเซนาก้า อยู่ระหว่างรอผล



สามารถดูข่าวทาง Youtube ได้ที่ : https://youtu.be/sck0JNEBFG8


คุณอาจสนใจ