สังคม

บุกทลายโรงงานเถื่อน ผลิตปุ๋ยปลอม-เคมีภัณฑ์เกษตร ส่งขายทั่วอีสาน มูลค่านับล้าน

โดย weerawit_c

21 พ.ค. 2564

148 views

หนองบัวลำภู - ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร บุกทลายโกดังลักลอบผลิตปุ๋ย ปลอม และมีวัตถุอันตรายไว้ในครอบครอง และสินค้าเลียนแบบ 25 รายการ หลายยี่ห้อ พร้อมจับกุมนายฐานวัฒน์ วงษ์สวรรค์ อายุ 41 ปี เจ้าของร้าน ในข้อหา ผลิตหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ โดยไม่ได้รับอนุญาต, มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ โดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ ๓ ปลอม โดยแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของผู้ผลิตหรือที่ตั้งของสถานที่ผลิตซึ่งมิใช่ความจริง พร้อมเข้าทำการตรวจสอบ 1. โกดังดัดแปลงเป็นโรงงานผลิตวัตถุอันตรายทางการเกษตร 2. ร้านสี่พี่น้องเกษตรภัณฑ์ 3. โกดังตั้งอยู่ด้านหลังบ้านหลังหนึ่งใน ต.หนองแก อ.ศรีบุญเรือง จ.หนองบัวลำภู โดยมี นายฐานวัฒน์ วงษ์สวรรค์ เจ้าของร้านนำการตรวจสอบ


สืบเนื่องจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้รับร้องเรียน จาก บริษัท อินเตอร์ คร๊อพ จำกัด ว่ามีการเลียนชื่อสถานที่ผลิตสินค้า ชื่อการค้า ท็อป พลัส จากการตรวจสอบบริเวณด้านหน้าโกดังสถานที่ผลิตสินค้า พบว่าไม่มีป้ายระบุสถานที่ผลิตวัตถุอันตราย และไม่มีป้ายระบุสถานที่ผลิตปุ๋ยเคมีเพื่อการค้าแต่อย่างใด ขณะเข้าตรวจสอบโกดังสถานที่ผลิตสินค้า คนงานกำลังผสมผลิตภัณฑ์ปลอม จำนวน 3 คน อยู่ระหว่างแบ่งบรรจุ และติดฉลาก ผลิตภัณฑ์สารอาหารบำรุงหน้ายางพารา


จากการตรวจสอบ พบผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยเป็นวัตถุอันตราย จำนวน 25 รายการ ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์สารบำารุงหน้ายางพารา หลายยี่ห้อ และพบอุปกรณ์การผลิต วัตถุดิบ สารเมทาแลคซิล METALAXYL 35% (PINK) ธาตุอาหารแม็กนีเซียม ปุ๋ยเคมี สูตร 25 -5-5 ธาตุอาหารฟอสเฟส ชนิดน้ำ สารกันบูด ชนิดผง สีผสมอาหาร และเครื่องบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ ฉลากยี่ห้อ ตราเครื่องหมายการค้าปลอมแปลง กล่องกระดาษจำนวนมากเต็มโรงงาน


จากการสอบถาม นายฐานวัฒน์ เจ้าของโกดัง กล่าวว่า ตนเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์สินค้าที่ตรวจพบ และนำวัตถุดิบ มาผสมตามอัตราส่วนของแต่ละผลิตภัณฑ์ และผสมให้เข้ากัน แล้วคนงานก็จะแบ่งบรรจุ แล้วนำส่งจำหน่ายให้กับลูกค้าทั่วภาคอีสานเน้นจังหวัดที่มีพื้นที่ปลูกยางพาราเป็นหลักเช่น เลย บึงกาฬ โดยเริ่มแรกตนเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายบริษัทส่งขายเคมีภัณฑ์เกษตรมาก่อนรู้จักสินค้าและสูตรผลิดยี่ห้อที่ขายดีจึงผันตัวมาผลิตเสียเอง พร้อมออกตัวว่า การขออนุญาตเป็นเรื่องยากและใช้เวลานานมากกว่าจะได้รับอนุมัติ


ทางด้านเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร กล่าวเตือนเกษตรกร ว่าก่อนที่จะซื้อให้ดูฉลากและเลขทะเบียนด้านข่างบรรจุภัณฑ์ ในรับแจ้งเลขที่ ปี พ.ศ. กรมวิชาการเกษตร ถ้าไม่มีเลขเลขทะเบียน อย่าไปซื้อ ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน สามารถตรวจสอบได้โดยโหลอดแอปพลิเคชั่น doa agrifactor เพื่อสามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์ได้


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการตรวจสอบจับกุมดำเนินการมาตั้งแต่ช่วงเช้าแล้ว เจ้าหน้าที่ได้เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เคมีทุกตัวเพื่อส่งตรวจสอบคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเวลา 18.00 น.เป็นอย่างเร็ว เนื่องจากมีจำนวนมาก และตัวอย่างเหล่านี้จะส่งเข้าห้องแลปเพื่อตรวจสอบรายละเอียดส่วนผสมและมวลสารต่างโดยละเอียดเพื่อแจ้งข้อกล่าวหาในภายหลัง ข่าวคืบหน้าจะรายงานต่อไป



สามารถดูข่าวทาง Youtube ได้ที่ : https://youtu.be/jYIqXh17f3M

คุณอาจสนใจ

Related News