ไลฟ์สไตล์
WFH กับความเสี่ยงของกระดูกสันหลังและต้นคอ
โดย thichaphat_d
18 ส.ค. 2564
322 views
หลังจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด -19 (COVID-19) ระบาดหนัก เราทำงานที่บ้านกันมากขึ้น หลายคนเจออาการออฟฟิศซินโดรมตามมาถึงบ้าน ปวดคอ ปวดหลัง ไหล่ บางคนถึงกับมีอาการหมอนรองกระดูกเสื่อม กระดูกต้นคอเสื่อมกันเลยทีเดียว
หมอนรองกระดูกเสื่อมและกระดูกต้นคอเสื่อม เกิดได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือท่านั่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ว่าจะนั่งหลังค่อม หลังตรงเกินไป ก้มคอมาก ยกแขน เกร็งตัวมากขึ้น หรือการยกของหนักแบบไม่ถูกวิธี ล้วนแต่มีส่วนเพิ่มความเครียดให้กล้ามเนื้อ รวมทั้งทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังและข้อต่อต้องรับภาระมากกว่าปกติ หรือทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้
รู้จักหมอนรองกระดูก
หมอนรองกระดูก เป็นเนื้อเยื่อนุ่ม ๆ ที่อยู่ระหว่างกระดูกสันหลังแต่ละข้อ ทำให้กระดูกของเราสามารถขยับไปในทิศต่าง ๆ ได้ ก้มหลังได้ บิดซ้ายบิดขวาได้ แอ่นไปด้านหลังได้ ถ้าหมอนรองกระดูกยังมีสภาพดี เราจะขยับตัวได้อย่างราบรื่น นุ่มนวล
แต่ถ้าหมอนรองกระดูกเสื่อมและเปลือกนอกฉีกขาด จะทำให้เนื้อข้างในของหมอนรองกระดูกที่นุ่ม ๆ หยุ่น ๆ จะปลิ้นออกมาด้านนอก ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกปวดหลังมาก ขยับตัวยาก และอาจทำให้ใช้ชีวิตประจำวันหรือช่วยตัวเองลำบาก ยิ่งถ้าแขนขาชาหรืออ่อนแรงยิ่งต้องรีบมาพบแพทย์โดยด่วน
เพราะบ้านไม่ใช่ออฟฟิศ
สำหรับคนส่วนใหญ่ บ้านคือที่พักผ่อน อาจไม่มีโต๊ะ เก้าอี้ที่เหมาะกับการทำงานหรือการใช้คอมพิวเตอร์ บางคนนั่งทำงานที่โต๊ะกินข้าว โต๊ะรับแขก บนพื้น หรือแม้กระทั่งบนเตียง นอกจากนี้ บ้าน คอนโด ที่อยู่อาศัยของหลายคนมีพื้นที่จำกัด ประกอบกับเราไม่ค่อยลุกเดินไปโน่นมานี่ บางคนประชุมออนไลน์วนไปทั้งวัน จึงต้องนั่งอยู่กับที่มากขึ้น และยิ่งนั่งในท่าที่ไม่ถูกสุขลักษณะ นอกจากจะตึงกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ แขนหรือออฟฟิศซินโดรมแล้ว โอกาสที่จะบาดเจ็บที่หลังยิ่งมีมากขึ้น
กระดูกต้นคอก็เช่นกัน โดยปกติแล้วเราจะเริ่มเห็นอาการกระดูกคอเสื่อมในคนที่อายุเกิน 40 ปีเป็นส่วนใหญ่ แต่พฤตกรรมของคนในปัจจุบันที่ก้มหน้าก้มตาใช้โทรศัพท์มือถือ เล่นเกม ใช้คอมพิวเตอร์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีส่วนทำให้กระดูกต้นคอเสื่อมได้เร็วขึ้นเช่นกัน ซึ่งสัญญาณเตือนสำคัญคือปวดคอ ร้าวลงไปที่ไหล่ แขน บางทีมีอาการแขนขาชาด้วย
จบปัญหาที่ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน
ในกรณีที่เกิดปัญหากับกระดูกสันหลัง แพทย์จะรักษาด้วยยาและกายภาพบำบัดก่อน แต่ถ้าหากปัญหานั้นรุนแรงมากจนยาหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการทำกายภาพบำบัดช่วยไม่ไหวแล้ว จึงจะพิจารณาเรื่องการผ่าตัด
นพ.ธีรฉัตต์ ธนะสารสมบูรณ์ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลนครธน
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการหรือข้อบ่งชี้ที่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ยังตัดสินใจผ่าตัดไม่ได้ อยากหา second opinion ศูนย์กระดูกสันหลังโรงพยาบาลนครธน ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลนครธนและบำรุงราษฎร์ เฮลท์ เน็ตเวิร์ค มีความพร้อมทั้งด้านเครื่องมือที่ทันสมัย และคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ได้ให้แค่ second opinion แต่เป็น last opinion
หมายความว่าคณะแพทย์จะประชุมกันพิจารณาผู้ป่วยทุกราย และต้องมีแพทย์เฉพาะทางระดับซีเนียร์ถึง 4 ท่านให้ความเห็นตรงกันเรื่องแผนการรักษา จึงให้ความมั่นใจได้ว่ามีการพิจารณาอย่างรอบคอบรอบด้านแล้ว และสามารถผ่าตัดด้วยการส่องกล้องที่ทำให้แผลเล็ก ใช้เวลาน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวได้ไว กลับบ้านได้ในวันรุ่งขึ้น และมีราคาที่จับต้องได้
กระดูกสันหลัง เป็นอัวยะที่สำคัญมากของร่างกาย และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการใช้ชีวิต หากมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังจึงควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้ last opinion เพื่อดูแลรักษาที่ตรงจุดและมีประสิทธิภาพเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
โรงพยาบาลนครธน ตั้งอยู่ในทำเลย่านพระราม 2 สะดวกเข้าถึงง่าย และเปิดการสื่อสารสะดวกหลากหลายช่องทางสำหรับทุกเจนเนอเรชันทั้งผ่านระบบโทรศัพท์ โทร 02-450-9999 บริการคอนแทคเซ็นเตอร์ตลอด 24 ชั่วโมงและออนไลน์แพลตฟอร์มทางเว็บไซต์ www.nakornthon.com สามารถนัดหมายแพทย์เฉพาะทางและ บริการถาม-ตอบปัญหาสุขภาพผ่าน LINE official @Nakornthon Hospital และเฟซบุ๊กเพจ FB: Nakornthon Hospital บริการให้ข้อมูลรวมถึงติดตามข่าวสารและข้อมูลการรักษาเพิ่มเติมได้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้โรงพยาบาลยังเข้าถึงผู้รับบริการต่างชาติ(กลุ่มคนจีน) ผ่านทางเว็บไซต์ Weibo และ WeChatตอบโจทย์คนในแต่ละพื้นที่บริการได้อย่างครบครัน ด้วยการดูแลอย่างเข้าใจดุจญาติมิตรทุกขั้นตอนจากการตรวจรักษาไปจนถึงการฟื้นฟูด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ มุ่งเน้นให้ความคุ้มค่าเหนือราคา
แท็กที่เกี่ยวข้อง หมอนรองกระดูก ,WFH ,ทำงานที่บ้าน ,โรงพยาบาลนครธน