ต่างประเทศ

เปิดหน้าตาเชื้อ 'โอไมครอน' หนามเกาะเซลล์มนุษย์แน่น ด้านอินเดีย-ฝรั่งเศส เริ่มเจอผู้ติดเชื้อแล้ว

โดย thichaphat_d

3 ธ.ค. 2564

255 views

สมาคมจีโนมส์โควิด แห่งอังกฤษ หรือ ซีโอจี-ยูเค เปิดเผยภาพกราฟิกครั้งแรกของเชื้อโอไมครอน เป็นครั้งแรกโลก เป็นภาพของการระบุตำแหน่งที่เกิดการกลายพันธุ์ที่บริเวณหนามที่เกิดขึ้นมากถึง 32 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ที่มากกว่าสายพันธุ์เดลต้าถึง 25 ตำแหน่ง โดยเดลต้ากลายพันธุ์ที่ 10 ตำแหน่งเท่านั้น


โดยจากภาพ จะเห็นว่าในภาพซ้าย เป็นโอไมครอน และภาพขวา เป็นเดลต้า โดย การกลายพันธุ์ที่บริเวณหนามของไวรัสนั้น จะช่วยให้มันสามารถยึดเกาะกับเซลล์ของมนุษย์ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


โดยเฉพาะการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง H655Y, N679K, และ P681H ซึ่งอยู่บริเวณขวาล่างของเซลส์ไวรัส โดยนักวิทยาศาสตร์ระบุว่าที่ 3 ตำแหน่งนี้จะทำให้จับกับเซลส์มนุษย์ได้ดียิ่งกว่าเดิม


สถานการณ์ที่แอฟริกาใต้ พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ถึง 11,5000 คน เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา จากวันก่อนหน้าที่ ราว 8,500 คน


ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดในช่วงนี้ของแอฟริกาใต้นั้น พุ่งขึ้นอย่างมีนัยะสำคัญ เมื่อเทียบกับช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนซึ่งค่าเฉลี่ยของผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 200-300 คนเท่านั้น


ขณะเดียวกันที่อินเดีย ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของสายพันธุ์เดลตานั้น ล่าสุด ได้มีรายงานการพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนแล้ว 2 คน ที่รัฐคาร์นาตากา โดยผู้ติดเชื้อทั้ง 2 เป็นชายวัย 66 และ 46 ปี ทั้งสองมีอาการป่วยอ่อนๆ


แต่ทางการไม่ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่าทั้งสองเดินทางไปไหนมาบ้าง โดยให้เหตุผลถึงความเป็นส่วนตัวของผู้ติดเชื้อ โดยขณะนี้เจ้าหน้าที่อินเดียกำลังเร่งติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อทั้ง 2 อย่างเร่งด่วนแล้ว


ฝรั่งเศสพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนรายแรก เป็นผู้โดยสารที่เดินทางมาจากไนจีเรีย พำนักอยู่ในเขตมหานครปารีส ทั้งนี้ฝรั่งเศสยังมองว่าศัตรูใหญ่ยังคงเป็นสายพันธุ์เดลตา ที่ระบาดเป็นระลอกที่ 5 ในฝรั่งเศส แต่หลังจากนี้อาจเห็นการระบาดที่ลุกลามมากขึ้นของเชื้อโอไมครอน และจะกลายเป็นเชื้อที่ระบาดหลักในฝรั่งเศส


สหรัฐอเมริกา ปรับแผนใหม่ในการรับมือโอไมครอน โดยผู้ที่จะเดินทางเข้าประเทศต้องแสดงผลตรวจโควิด RT-PCR ที่เป็นลบ 24 ชม.แม้จะฉีดวัคซีนแล้ว ก่อนจะขึ้นเครื่อง

คุณอาจสนใจ