เศรษฐกิจ

ชาวสวนยางยิ้มออก ยางแผ่น 60 กว่าบาท เหตุสถานการณ์โลก ย้ำชัดไม่ใช่ฝีมือรัฐบาล

โดย thichaphat_d

5 เม.ย. 2565

104 views

วานนี้ (4 เม.ย.65) นายศักดิ์สฤษดิ์ ศรีประศาสตร์ อดีตประธานเครือข่ายชาวสวนยาง 16 ภาคใต้ และแกนนำประท้วงเรียกร้องราคายางพาราตกต่ำจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ยางมีราคาดีขึ้น ยางแผ่นราคา 60 กว่าบาท


ปัจจัยที่ทำให้ยางพารามีราคาสูงขึ้นมีหลายปัจจัย เช่น ราคาน้ำมัน การเพาะปลูกน้อยลง สถานการณ์โรคโควิด-19 ตู้คอนเนอว่าง การส่งออกเพิ่มมากขึ้น รวมถึงความต้องการของตลาดโลก ซึ่งถูกโยงกับสถานการณ์สงคราม น้ำมัน ที่เกี่ยวโยง ทำให้ความต้องการการเอายางพาราไปทดแทนมากขึ้น ความต้องการของโลกมีมากขึ้น


ทำให้ราคายางเริ่มดีขึ้น และสต๊อกยางในจีนลดลง ถึงแม้ว่าการเพาะปลูกในจีนอยู่ในอันดับ 4 ของโลก แต่จีนไม่มีการกรีดยางเนื่องจากว่าผลผลิตที่ได้การลงทุนไม่คุ้มกัน ผลผลิตในประเทศไทยน้อยลงเนื่องจากว่า ปัจจัยที่เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวกับประเทศไม่มีคนกรีด นายจ้างไม่มีคนกรีด และเกี่ยวกับคนหันไปเพาะปลูกพืชชนิดอื่น โดยมีการโค่นยางมากขึ้นหันไปปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้นเพราะราคาดี


ทั้งหมดนี้ เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ราคายางสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมองว่ายังเห็นว่าราคายางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนถึงราคา 70-80 บาท หรืออาจจะมากกว่านั้น ก็จะได้เห็นในอนาคต รวมถึงพอสถานการณ์โควิดผ่อนคลายลงอุตสาหกรรมต่าง ๆ มีความต้องการใช้ยางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะยางพาราของไทยเพิ่มมากขึ้น เครื่องบินมีการบินมากขึ้น ซึ่งล้อเครื่องบินใช้จากยางพาราของไทย 100% และอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการผลิตรถยนต์ จำเป็นต้องใช้ยางทั้งนั้น อนาคตยางพาราของไทยจะราคาสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นไปตามกลไกของสถานการณ์โลก ตามกลไกของตลาด


ในส่วนที่มีการออกมาว่าเป็นผลงานของรัฐบาล ผลงานของการเมืองบางพรรค ถ้าให้พูดตรง ๆ คนที่เข้ามาบริหารจัดการยางพารา คือ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งพรรคร่วมรัฐบาลอย่างนายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันโอชา มีเจตนาที่จะให้พรรคประชาธิปัตย์เข้ามาแก้ปัญหาปากท้องให้กับพี่น้องชาวไต้ ซึ่งมันมีความเกี่ยวโยงกับทางการเมือง ถ้าราคายางพาราสูงขึ้น พรรคประชาธิปัตย์สามารถทำให้ราคาสูงได้จริงตั้งแต่เริ่มต้น พรรคประชาธิปัตย์คงไม่ปล่อยให้พี่น้องประชาชนเดือดร้อนมาถึงปีที่ 3 ในการบริหารจัดการ


ทั้งนี้มองว่าพรรคประชาธิปัตย์มีส่วนร่วมไม่มากในการทำให้ยางพาราสูงขึ้น ซึ่งตนมองว่าปัจจัยทางการเมืองน้อยมากในการทำให้ยางพาราขึ้นลง มองว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยหลักคือองค์กรที่เข้ามาดูแลยางพาราของไทยควรจะได้รับการแก้ไข แก้ไขโครงสร้างของการบริหารจัดการยาง ซึ่งพรรคประชาธิปัตย์น่าจะเป็นหัวหอกในการดำเนินการเรื่องนี้ ซึ่งจะบอกว่าเป็นผลงานของรัฐบาล หรือเป็นผลงานของนักการเมือง ตนมองว่ามีส่วนน้อยมาก เป็นเรื่องกลไกของโลก.



รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/H0GZ4BJoFIQ

คุณอาจสนใจ

Related News