ข่าวโซเชียล

ไขปริศนา ปรากฏการณ์ 'Sun Dog' พระอาทิตย์ 5 ดวง โผล่เหนือฟ้าเมืองอุบลฯ

โดย thichaphat_d

14 มิ.ย. 2565

3.6K views

กลายเป็นเรื่องฮือฮาแตกตื่น เมื่อเกิดปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ เรียกว่า "Sun Dog" หรือ "สุนัขของพระอาทิตย์" บนท้องฟ้าเมืองไทย ปี 2565 สำหรับชาวบ้านหลายพื้นที่ได้พบเห็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติอันงดงามอาจจะเคยเห็นบ้างตามข่าวในต่างประเทศ อีกบางคนก็ไม่เคยเห็นด้วยตาตัวเองมาก่อน ก็จะตื่นเต้นและดีใจที่ได้สัมผัส และแฝงไปด้วยนัยยะตามความเชื่อของแต่ละบุคคล

มาดูคลิปจากผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า Chaiyadet Jetsadapong เมื่อช่วงเวลาประมาณ 07.28 น. วันที่ 13 มิ.ย.65 เกิดปรากฎการณ์ Sun Dog และมีรุ้งโค้งยิ้มระหว่างกลางพระอาทิตย์ 5 ดวงที่ บ้านกลาง อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี กำลังทำบุญตักบาตรภายโรงเรียนกับกลุ่มเพื่อนๆ และชาวบ้านในพื้นที่ เห็นภาพปรากฎการณ์ดังกล่าว

รู้สึกตื่นเต้นกับภาพบนท้องฟ้า ทุกคนมารอร่วมทำบุญตักบาตร ถนนสายวัฒนธรรมต่างตื่นเต้นและดีใจที่ได้ชมปรากฏการณ์ที่สวยงามเช่นนี้ บวกกับจินตนาการ รู้สึกว่าเป็นภาพที่สวยงามและแปลกตาที่ได้เห็น และถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ดีเป็นลางดีวันดีๆที่จะได้พบเจอแต่สิ่งดีๆ แก่ตนเอง พร้อมกับถ่ายรูปกับสายรุ้งโค้งยิ้มกับกลุ่มเพื่อนอย่างสนุกสนาน

นอกจากคลิปนี้ ยังมีอีกหลายคนหลายพื้นที่บนโลกออนไลน์ ต่างออกมาโพสต์คลิปปรากฎการณ์ Sun Dog ลงโซเชียลด้วยความตื่นตา ตื่นใจ บางคนก็เห็น 3 ดวง บางคนก็เห็นเป็น 4 - 5 ดวง เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่แปลกตางดงาม สำหรับผู้พบเห็นด้วยตาครั้งแรก แน่นอนสำหรับความเชื่อส่วนบุคคล บางคนบอกว่า "พระอาทิตย์ทรงกลด" เป็นเสมือนแสงแห่งชัยชนะ บางคนก็ว่า อาทิตย์ดวงเดียวยังขนาดนี้ แล้วดวงอาทิตย์ 5 ดวง จะขนาดไหน ส่วนบางกลุ่มก็ สาธุ อย่างเดียว

ด้าน ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ หรือ อ.เจษฎ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเพจ อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ว่า ตามหลักการหักเหของแสงอาทิตย์ ผ่านผลึกน้ำแข็งรูปแผ่นหกเหลี่ยมในกลุ่มก้อนของเมฆ ซึ่งมักอยู่ในกลุ่มเมฆชั้นสูงที่เรียกว่า "เซอร์รัส" (Cirrus) ผลึกน้ำแข็งหกเหลี่ยมที่ว่า จะมีด้านกว้างขนานกับแนวระดับ โดยมีความสูงจากพื้นดินราว 10 กิโลเมตร

เมื่อแสงทำมุมกับผลึกน้ำแข็งของเมฆที่ 22 องศา เมื่อแสงอาทิตย์สะท้อนก็จะทำให้เกิดการสะท้อนเป็นคู่ในแนวระนาบขนานกับพื้นดิน แต่ดวงที่สะท้อนจะมีลักษณะบิดเบี้ยวเป็นแค่กลุ่มก้อน มีแสงสีแดงไล่ไปจนถึงสีส้มจาง ๆ มักเกิดในช่วงดวงอาทิตย์ใกล้ขอบฟ้า นั่นก็คือช่วงพระอาทิตย์ขึ้นกับพระอาทิตย์ตก และพบมากในฤดูหนาว ส่วนใหญ่จะมีรายงานข่าวพบในต่างประเทศโซนประเทศที่มีภูมิอากาศเย็น มากกว่าประเทศไทย

ตัวแปรสำคัญนั่นคือ ลักษณะของแสงหรือลักษณะการหักเหของแสงที่ส่องเข้าไปยังผลึกน้ำแข็ง ซึ่งจริง ๆ แล้ว ในทางวิทยาศาสตร์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับแสงนี้ว่า เป็นแสงกลุ่มเดียวกับที่เกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกลด เพราะแสงจากดวงอาทิตย์ อาจมีลักษณะการหักเหในรูปแบบที่แตกต่างกัน

ซึ่งอาจทำให้เกิดรูปทรงกลดแบบอื่น ๆ เช่น เส้นโค้งเซอร์คัมชีนิคัล ที่เกิดจากการหักเหภายในผลึกรูปแผ่นทะลุออกทางผิวด้านข้าง ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นโค้งหงายขึ้นสีรุ้งอยู่เหนือดวงอาทิตย์ และอีกหลายรูปแบบที่อาจพบได้ เช่น เส้นโค้งเซอร์คัมฮร์ไรซัน วงกลมพาร์ฮีลิก พิลลาร์ ซับซัน ซับพาร์ฮีเลีย และเส้นโค้งโลวิตซ์ สามารถอ่านจากเอกสารเพิ่มเติมได้ที่ บทความ "อาทิตย์ทรงกลด ใครว่ามีแค่วงกลมอาทิตย์ทรงกลด


รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/yt2panMaIbA

คุณอาจสนใจ

Related News