สังคม

ผู้ว่าฯ รฟม. โต้ 'อนันดา' ยันไม่รับผิดชอบร่วมคดีแอชตันอโศก ชี้ศาลไม่ได้เพิกถอนใบอนุญาตทางผ่าน

โดย weerawit_c

29 ก.ค. 2566

1.8K views

หลังจากเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ศาลปกครองมีคำพิพากษาเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโครงการแอชตัน อโศก ในคดีที่สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนคดียื่นฟ้อง ขอเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโครงการแอชตัน อโศก


ต่อมาบริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)ได้ออกแถลงการณ์ยืนยันว่าได้มีการตรวจสอบประเด็นทางกฎหมาย รวมทั้งข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตต่างๆ รวมทั้งสภาพที่ดินของโครงการอย่างรอบคอบรัดกุม อีกทั้งการพิจารณาอนุมัติในการทำโครงการยังได้ผ่านการพิจารณาอนุมัติและภายใต้การกำกับควบคุม จากหน่วยงานของรัฐไม่ต่ำกว่า 8 หน่วยงาน จึงเป็นที่เห็นประจักษ์และยืนยันได้ว่า บริษัทได้ดำเนินการไปด้วยความสุจริต และชอบด้วยกฎหมายอย่างชัดแจ้งทุกประการเท่าที่บริษัทจะทำได้ ด้วยความเชื่อถือโดยสุจริตว่าการอนุมัติของหน่วยงานราชการทุกฝ่ายนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว


รวมถึงจะดำเนินการประสานงานคณะกรรมการนิติบุคคลแอชตัน อโศก และท่านเจ้าของร่วมเพื่อขอเข้าพบผู้ว่าราชราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.) และผู้ว่าการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) เพื่อทวงถามความรับผิดชอบในความเสียหายในความเสียหายที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้น ภายใน 14 วัน


ทั้งนี้บริษัทจึงขอความเป็นธรรมจากทุกภาคส่วน ที่จะร่วมกันแก้ไขภาคส่วนที่จะร่วมกันแก้ไขป้องกันมิให้ปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นคดีนี้อีก และเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐ ได้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเร็ว อย่างไม่อาจปฎิเสธความรับผิดชอบได้ต่อเจ้าของร่วมอาคารชุดและบริษัท


ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ รฟม.ยังไม่ได้รับการแจ้งนัดจากบริษัทอนันดา ทางฝ่ายกฎหมาย รฟม.กำลังศึกษาคำพิพากษาของศาลฯ และขอยืนยันว่า รฟม.ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ เพราะศาลไม่ได้เพิกถอนใบอนุญาตของ รฟม.ที่อนุญาตให้ใช้ทางผ่าน แต่ศาลเพิกถอนใบอนุญาตการก่อสร้าง ซึ่งเป็นเรื่องของบริษัทต้องไปดำเนินการและหาทางออกกับกทม. ไม่เกี่ยวกับ รฟม. เพราะรฟม.ยึดตามคำพิพากษาของศาล


“ถ้าอนันดาจะยื่นฟ้อง รฟม.ให้ร่วมรับผิดชอบด้วยนั้น ก็เป็นสิทธิ์ของเขา ก็สู้ความกันไปตามกฎหมาย แต่ผมมีคำพิพากษายืนยันอยู่แล้วว่ารฟม.ไม่ได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ก็จบแล้ว ผมจะรับผิดชอบอะไร เพียงแต่เขาเอาใบอนุญาตของเราไปประกอบการขออนุญาตก่อสร้างอาคารไม่ได้ เพราะที่ดินที่ตั้งโครงการอยู่บนถนนเป็นภาระจำยอม มีความกว้างแค่ 6.40 เมตร ไม่สามารถก่อสร้างตึกสูงได้และศาลถือว่าทางผ่านของรฟม.ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ไม่ได้ทำให้ที่ดินของโครงการติดถนนสาธารณะ เพราะศาลถือว่าถนนของรฟม.ไม่ใช่สาธารณะ จะเอามาผูกพันเพื่อขออนุญาตสร้างอาคารไม่ได้ และการที่เอกชนจะซื้อที่ดินรัฐซึ่งได้มาจากการเวนคืนไม่สามาถทำได้เช่นกันและปัจจุบันรฟม.ยังไม่ได้รับเงินค่าตอบแทนจากบริษัท 97 ล้านบาทตามที่บริษัทระบุและผมจะไม่รับด้วย” นายภคพงศ์กล่าว


นายภคพงศ์กล่าวว่า ส่วนที่บริษัทบอกว่ามีอีก 13 โครงการมีลักษณะคล้ายกันนั้น คำพิพากษาผูกพันเฉพาะคู่ความ แต่ละโครงการมีข้อเท็จจริงแตกต่างกัน เพราะไม่ใช่ลักษณะเดียวกันทั้งหมด อย่าเหมารวม เนื่องจากการสร้างทางเชื่อมหรือสกายวอล์กกับสถานีรถไฟฟ้า เป็นการเชื่อมสถานี เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้รถไฟฟ้าไปยังอาคารต่างๆ ทำให้คนโดยสารรถไฟฟ้าไม่ต้องลงมาเดินทางเท้า


แต่การเชื่อมทางในลักษณะของบริษัทอนันดาซึ่งได้รับอนุญาตเมื่อปี 2557 เป็นการเชื่อมจากอาคารหรือที่ดินของเอกชน เพื่อออกสู่สาธารณะ ไม่ได้ถือเป็นการเชื่อมกับการบริการรถไฟฟ้า เป็นเรื่องเฉพาะโครงการที่จะทำให้โครงการสามารถเข้าออกสู่สาธารณะได้ ตามกฎกระทรวงของพ.ร.บ.ควบคุมอาคารและรฟม.จะไม่มีการอนุญาตในลักษณะนี้อีกแล้ว ส่วนการอนุญาตสกายวอล์กเป็นคนละกรณีกัน


ทั้งนี้เมื่อวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมานายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า ปัจจุบันโครงการแอชตัน อโศก เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างอนันดาในสัดส่วน 51% กับมิตซุย ฟูโดซัง จากประเทศญี่ปุ่น ในสัดส่วน 49% ปัจจุบันขายและมีส่งมอบห้องชุดไปแล้ว 87% กว่า 5,653 ล้านบาท ของมูลค่าโครงการรวม 6,481 ล้านบาท มีลูกบ้าน 580 ครอบครัว จำนวน 668 ยูนิตทจากทั้งหมด 783 ยูนิต ซึ่งมีที่พักอาศัยอยู่เกิน 4 ปี จำนวน 488 ครอบครัว หรือ 84 % และอยู่น้อยกว่า 4 ปี จำนวน 92 ครอบครัว หรือ 16 %


“ใน 580 ครอบครัว แยกเป็นลูกค้าคนไทย 438 ครอบครัว ลูกค้าต่างชาติ 142 ครอบครัว จาก 20 ประเทศ อาทิ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน สิงคโปร์ แคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส อเมริกา อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย มาเลเซีย บรูไน เมียนมา เกาหลี สวีเดน โอมาน เป็นต้น ลูกบ้านที่เป็นเจ้าของร่วม 580 ครอบครัว ได้รับผลกระทบ ร่วมกันบนความถูกต้องและสุจริต“นายประเสริฐกล่าว


นายประเสริฐกล่าวว่า ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนใบอนุญาตเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารโครงการ ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้นสดๆร้อน ๆ ซึ่ง คำพิพากษาที่ออกมาถือว่าเป็นที่สุดแล้ว ยกเว้นมีประเด็นใหม่ให้โต้แย้ง หลังจากนี้บริษัทจะขอเวลา 14 วันหารือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงรฟม. และกรุงกทม. เพื่อหารือหาทางออกร่วมกันจะแก้ไข และหาทางเยียวยาอย่างไรต่อไปกับความเสียหายที่เกิดขึ้น


ซึ่งบริษัทขอยืนยันว่าดำเนินการทุกอย่างมาอย่างถูกต้อง ผ่านการอนุมัติ 8 หน่วยงาน ขอใบอนุญาต 9 ฉบับ ขอความเห็นก่อนดำเนินการไม่น้อยกว่า 7 หน่วยงาน ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ 5 ชุด ยังมีโครงการที่ขอผ่านทางลักษณะคล้ายกันในกรุงเทพกว่า 13 โครงการ และบริษัทได้รับผิดชอบทางผ่านให้รฟม.เกือบ 100 ล้าน


“จะระงับโครงการเมื่อไหร่ ยังตอบไม่ได้ ต้องหารือกับกทม.และรฟม.ก่อน ในระหว่างนี้โดยหลักการลูกบ้านยังพักอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมได้ เพราะศาลสั่งเพิกถอนแค่ใบอนุญาตก่อสร้าง แต่ยังไม่มีการเพิกถอนใบอนุญาตการใช้อาคาร ต้องขึ้นอยู่ภับภาครัฐว่าร่วมกันจะดำเนินการอย่างไร เพราะหน่วยงานรัฐมีส่วนที่ทำให้เกิดผลกระทบที่ร้ายแรง ต้องมีส่วนรับผิดชอบด้วย แต่เรายังมีความหวังว่าจะมีปฎิหาริย์ไม่ต้องทุบตึก ขอเวลา 14 วันในการทำงาน หาทางออก กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะถ้าต้องทุบตึกเพราะความเสียหายสูง”นายประเสริฐกล่าว


นายประเสริฐกล่าวว่า อย่างไรก็ตามยอมรับว่ากรณีดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นนักลงทุนและลูกค้าพอสมควร เพราะโครงการอยู่มา 4 ปีแล้วและไม่ใช่เราโครงการเดียว ยังมีอีกหลายโครงการที่มีลักษณะคล้ายกัน ซึ่งเป็นเรื่องของกฎหมายของภาครัฐ ต้องการแนวทางแก้ไขให้เป็นแนวทางต่อไปในอุตสาหกรรม ไม่แค่คอนโดมิเนียม ยังมีศูนย์การค้า



รับชมทางยูทูบที่ :  https://youtu.be/RWhXt1Ivlio

คุณอาจสนใจ

Related News