สังคม

สธ.มั่นใจ ป่วยโควิดอาการน้อย ใช้ 'ฟาวิพิราเวียร์' ได้ผลดีกว่ากลุ่มไม่ใช้ ถึง 47%

โดย weerawit_c

20 มี.ค. 2565

36 views

วานนี้ (19 มี.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรคแถลงข่าว ประเด็น การแพทย์ระบาด โควิด-19 และการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ โดยในช่วงแรกของการระบาดการรักษายังใช้ยากลุ่มต้านเชื้อไวรัสต่างๆ ที่มี จนมีการคิดค้นยารักษา ฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งเป็นยาที่เคยใช้รักษาไข้หวัดใหญ่ มารักษาผู้ป่วยโควิด -19 ซึ่งพบได้ผลการรักษาดี



โดยผลการศึกษาทางคลินิก ในการใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในผู้ป่วยไทยที่ป่วยเป็น โควิด-19 ซึ่งมีอาการไม่รุนแรง ที่ทางกรมควบคุมโรคร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มผู้ป่วย 62 ราย ที่แบ่งเป็นกลุ่มสองกลุ่มในการให้รับยาฟาวิพิราเวียร์โดยกลุ่มที่หนึ่งผู้ป่วย 62 รายรับยาฟาวิพิราเวียขนาด 1800 มิลลิกรัม วันละสองครั้งในวันที่หนึ่งต่อด้วยขนาด 800 มิลลิกรัม วันละสองครั้งในวันต่อมา และในผู้ป่วยกลุ่มที่สองจำนวน 31 รายที่ไม่ได้ ยาฟาวิพิราเวียร์ผู้ป่วยในโครงการได้เริ่มยาเฉลี่ย 1.7 วันหลังเริ่มมีอาการป่วย จากการติดตามอาการหลังการรับยาครบ 14 วันพบว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียมีอาการดีขึ้นถึงร้อยละ 79 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ที่มีอาการดีขึ้นเพียง ร้อยละ 32



โดยกลุ่มผู้ที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์จะมีอาการที่ดีขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 ของการรักษา และ กลุ่มที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ในวันที่ 13 และวันที่ 28 ของการรักษาจะมีปริมาณไวรัสที่ต่ำกว่าผู้ที่ไม่ได้รับยา



ดังนั้นจึงทำให้ผู้วิจัยมีความมั่นใจว่าการให้ยาฟาวิพิราเวียจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ช่วยลดการอาการป่วยหนักในกลุ่มผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ได้ดี ยาฟาวิพิราเวียร์ในรูปแบบกินมีราคาไม่แพงและปลอดภัยสูงไม่มีผลข้างเคียงที่น่ากังวล



ทางกระทรวงสาธารณสุขขอยืนยันว่าจะมีการนำยาที่มีประสิทธิภาพไม่มีผลข้างเคียงและไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตมารักษาผู้ป่วย โดยที่ผ่านมามีการนำยาฟาวิพิราเวียร์มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยเกินกว่า 1 ล้านคนแล้ว ขอให้เชื่อมั่นในสิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ อย่าด้อยค่ายาที่ใช้รักษา



ด้าน นพ.มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ระบุ ภาพรวมการรักษาผู้ป่วยโควิด -19 มีการปรับแนวทางการรักษามาเป็นระยะ โดยยาฟาวิพิราเวียมีการใช้รักษาผู้ป่วยมากกว่าสองปีแล้วโดยมีการศึกษาข้อมูลจากต่างประเทศด้วย ส่วนของข้อมูลศึกษาในไทย พบว่ายาฟาวิพิราเวียร์ยับยั้งการเพิ่มจำนวนของอาร์เอ็นเอไวรัสทำให้เชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงไปและถูกกำจัดการทบทวนอย่างเป็นระบบพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์มีอาการดีขึ้นเมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ที่ไม่ได้รับยาที่ 7 วัน คิดเป็นร้อยละ 56.9 ต่อร้อยละ 45.1 และหากได้รับยาต่อเนื่องถึง 14 วันผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นคิดเป็นร้อยละ 86.9 ต่อ ร้อยละ 65.3



ขณะที่ยาตัวที่สองที่ใช้ในการรักษา คือ ยา Remdisivir (แรมดิซิเวียร์) หากดูตามข้อมูลยาดังกล่าวทางองค์การ อนามัยโลกยังไม่ให้การรับรองแต่จากการศึกษาการทดลองใช้ ในภาวะฉุกเฉิน จุดเด่นของยาตัวนี้คือให้ยาทางหลอดเลือดดำจะมีประโยชน์ในกลุ่มคนไข้ที่ทานยาไม่ได้ใช้มีปัญหาการดูดซึม ร่วมถึง ใช้ได้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์พบว่า กลุ่มที่ได้รับยาเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหรอกพบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นลดการนอนโรงพยาบาลโดยกลุ่มที่ได้รับยานอนโรงพยาบาลเพียง 10 วันส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหรอกต้องนอนโรงพยาบาลถึง 15 วัน ยาออกฤทธิ์ขัดขวางกระบวนการถ่ายแบบอาร์เอ็นเอของไวรัสทำให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ แต่อัตราการเสียชีวิตไม่แตกต่างกัน



ยาชนิดที่สาม Molnuporavir (โมลนูพิราเวียร์) เป็นยาที่กำลังอยู่ในกระบวนการเตรียมกระจายหลังจากได้รับอนุญาตให้ใช้ในภาวะฉุกเฉิน จะใช้ในกลุ่มผู้ป่วย โควิด-19 ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการรุนแรงกลุ่มที่ต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือมีโอกาสเสียชีวิตโดยขนาดยารับประทานสำหรับผู้ใหญ่ 800 มิลลิกรัม เป็นขนาด 200 มิลลิกรัมจำนวน 4 แคปซูล รับประทานทุก 12 ชั่วโมงเป็นระยะเวลา 5 วันรวม 40 แคปซูลสองคน ซึ่งการให้ยาต้องได้รับทันทีที่ได้รับการวินิจฉัยภายในห้าวันหลังเริ่มมีอาการแล้ว



ยาชนิดที่สี่ Paxlovid (แพคโลวิด ) เป็นยาที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ภายใต้สภาวะฉุกเฉินซึ่งทางประเทศไทยได้ดำเนินการจัดหามาใช้กับกลุ่มผู้ป่วย โควิด-19 โดย กลไกการออกฤทธิ์ของยาแตกต่างจากตัวอื่น ออกฤทธิ์ที่เอมไซม์ ทำให้เชื้อลดจำนวนลง จะใช้สำหรับผู้ป่วยโควิดที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการรุนแรงต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือมีความเสี่ยงเสียชีวิตการให้ยาหนึ่งเม็ดรับประทานวันละสองครั้งเป็นเวลาห้าวันช่วยลดความเสี่ยงในการนอนโรงพยาบาลได้ถึงร้อยละ 88 กรณีให้ยาภายในห้าวันนับตั้งแต่เริ่มมีอาการเป็นการสำรองยาต้าน โควิด-19 ที่มี ประสิทธิผลสูงสุดณปัจจุบัน ตอนนี้ มีการสำรองยาไว้สำหรับประชาชนคาดจะมีการนำเข้าได้ประมาณกลางเดือนเมษายน



ดังนั้นผลการสรุปเปรียบเทียบยารักษา โควิด-19 ทั้งสี่ชนิดมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน ยาฟาวิพิราเวียร์ เป็นยาที่ใช้ในกลุ่มผู้ป่วย โควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางใช้ได้ในกลุ่มเด็กและผู้ใหญ่เป็นยารับประทานยังอยู่ในระหว่างการศึกษาการใช้ในกลุ่มสตรีตั้งครรภ์มีราคา 800 บาท



ยาเรมเดสสิเวียร์ใช้ในกลุ่มที่มีอาการปานกลาง ใช้ในเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ เป็นการให้ยาทางหลอดเลือดดำราคาประมาณ 1512 บาท



ยาโมลนูพิลาเวียร์ ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเล็กน้อยปานกลางเน้นในกลุ่มเสี่ยงที่มีอายุมากกว่า 18 ปีเป็นยารับประทานมีข้อห้ามใช้ในสตรีตั้งครรภ์หญิงให้นมบุตรราคาประมาณ 10,000 บาท



ยาแพคโลวิด เป็นยาที่ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโควิดอาการน้อยถึงปานกลางเน้นในกลุ่มเสี่ยงเป็นยารับประทานห้ามใช้ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรราคาประมาณ 10,000 บาท



ดังนั้นปัจจัยในการพิจารณาการใช้ยาต้องดูองค์ประกอบหลายอย่างทั้งความพร้อมราคาและกลุ่มผู้ใช้ทางคณะกรรมการที่กำหนดแนวทางการรักษา ต้องพิจารณา ร่วมกับประสิทธิภาพประสิทธิผล และความปลอดภัยร่วมด้วย ซึ่งทุกครั้งที่จะมีการปรับเปลี่ยนแนวทางการรักษาทางคณะผู้เชี่ยวชาญจะมีการประชุมหารือก่อน



โดยแนวทางล่าสุดมีการปรับปรุงเมื่อวันที่ 1 มีนาคม จะกำหนดจำแนกตามความรุนแรงของโรคในการให้ยารักษาตามอาการและยาฟ้าทะลายโจร



ส่วนโครงการเจอ แจก จบที่เป็น แนวทางการรักษาในปัจจุบันมีการใช้ยาสามสูตรจำแนกตามสูตรการรักษา คือ



1.การจ่ายยารักษาตามอาการเช่นยาลดไข้ยาแก้ไอร้อยละ 52

2.จ่ายยาฟ้าทะลายโจรร้อยละ 24

3.จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ ร้อยละ 26



ยังยืนยันและขอให้ความมั่นใจว่าอย่าที่มีการนำมาใช้กับผู้ป่วย โควิด-19 เป็นยาที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลและมีความปลอดภัย


รับชมผ่านยูทูบ : https://youtu.be/vW9qcxhfHmY

คุณอาจสนใจ

Related News