สังคม

วสท.ลงพื้นที่อีกครั้ง เหตุคานสะพานกลับรถถล่ม คาดเพราะ "รื้อถอนผิดขั้นตอน"

โดย paweena_c

2 ส.ค. 2565

112 views

จากประเด็นที่ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือ วสท. รุดลงพื้นที่ตรวจสอบจุดคานสะพานกลับรถถล่ม พบ แผ่นเหล็กเสื่อมสภาพ ไม่ใช่ความประมาท เพราะเกิดเหตุขณะเตรียมการซ่อมบำรุงที่ปฏิบัติถูกต้องตามขั้นตอน


รองศาสตราจารย์สิริวัฒน์ ไชยชนะ อุปนายก วสท. พร้อมทีมงานด้านวิศวกรรมขึ้นไปตรวจสอบด้านบนสะพานกลับรถ หน้าโรงพยาบาลวิภาราม อำเภอเมือง จ.สมุทรสาคร ที่พังถล่มลงมาเมื่อคืน พบว่า ชิ้นส่วนที่หลุดหล่นลงมานั้น เป็นลักษณะแท่นปูนคล้ายกับแบริเออร์ เพื่อป้องกันผู้ที่ใช้สะพานกลับรถไม่ให้หลุดถนนหล่นลงมา ซึ่งสะพานกลับรถนี้ มีอายุการใช้งานมานานกว่า 30 ปีและเคยเกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อ 10 กว่าปีก่อน อาจจะมีผลกระทบทำให้แผ่นเหล็ก ที่ใช้ในการเชื่อมแท่งปูนกับผิวคอนกรีตของสะพานเสียหายและเสื่อมสภาพ แต่ตัวโครงสร้างยังมีความแข็งแรงไม่ได้รับผลกระทบ


จากการสอบถามทีมช่าง ทราบว่า ขณะเกิดเหตุอยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนการทำงานปกติ และเป็นความตั้งใจดีของกรมทางหลวง ที่ต้องการบูรณะซ่อมแซมสะพานกลับรถ ซึ่งดูจากรายงาน ก็เป็นการถอดเฉพาะส่วนที่ชำรุดเสียหายออกไปทำการซ่อมแซม เป็นขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมทุกอย่าง


ซึ่งผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นความประมาทหรือไม่ รศ.สิริวัฒน์ บอกว่า ไม่อยากให้มองเป็นเรื่องความประมาทของวิศวกร เป็นเหตุสุดวิสัย เพราะขณะซ่อมบำรุง ทีมช่างกำลังเตรียมที่จะปิดถนน ไม่ให้รถสัญจรผ่านไปมา แต่ดันมาเกิดเหตุเสียก่อน





และจากดรามาดังกล่าว กรณีผู้สื่อข่าวถามว่าเป็นความประมาทหรือไม่ รศ.สิริวัฒน์ อุปนายก วสท. บอกว่า ไม่อยากให้มองเป็นเรื่องความประมาทของวิศวกร เป็นเหตุสุดวิสัย เพราะขณะซ่อมบำรุง ทีมช่างกำลังเตรียมที่จะปิดถนน ไม่ให้รถสัญจรผ่านไปมา แต่ดันมาเกิดเหตุเสียก่อน


โดยเพจเฟซบุ๊กของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย วสท. โพสต์ข้อความเรื่องนี้ โดยระบุว่า คณะกรรมการอำนวยการ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ขอขอบคุณทุกความเห็น และข้อกังวล ต่อบทความที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบเหตุแผงกันตกที่สะพานกลับรถหล่น (พระราม 2) ในเบื้องต้นเพื่อความชัดเจน และลดความสับสนที่อาจเกิดจากการอ้างอิงบทความที่อาจจะนำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ คณะกรรมการฯ ขอตรวจสอบข้อมูลโดยละเอียดอีกครั้งกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


จากโพสต์นี้มีชาวเน็ตเข้าไปแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก

"คิดให้มาก ก่อนจะให้ความเห็นอะไร ถ้าจะพูดในนาม วสท. ต้องผ่านความเห็นชอบจากกรรมการเสียก่อน ส่วนคำว่าเหตุสุดวิสัย ผมขอนะครับ บ้านเรามีแต่ธง safety first วิศวกรที่คอยจัดการและวางแผน safety หน้างานจริง ๆ มีกี่คน เคยทำตาม procedure manual จริงจังหรือเปล่า บ้านเราละเลยเรื่องนี้มานานแล้ว"


"โทษลมโทษฝน โทษไฟไหม้ปี 47 โทษการสั่นสะเทือนรถข้างล่าง น่าเกลียดสุดคือโทษเหตุสุดวิสัย แถมมาแถลงว่าหล่นแค่แผ่นกั้น วันแรกที่เกิดเหตุผมคนสายภาษาความรู้แค่หางอึ่งยังดูออกว่า Girder หล่นมาทั้งอัน"


ด้านอัยการ ชี้ สะพานพัง "ประมาท " ไม่ใช่ "สุดวิสัย"

ล่าสุด อ.ปรเมศวร์ อินทรชุมนุม อธิบดีอัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า สะพานกลับรถพังมิใช่เหตุสุดวิสัยครับ เพราะ มาตรา ๘ คําว่า "เหตุสุดวิสัย" หมายความว่า เหตุใดๆอันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ " เช่น ฟ้าผ่า น้ำท่วม แผ่นดินไหว เป็นต้น


แต่ถ้ารู้อยู่แล้ว และสามารถแกได้ได้แต่ไม่ทำ ข้อเท็จจริงได้ความว่า สะพานเคยเกิดเหตุไฟไหม้เพราะอุบัติเหตุรถยนตมาก่อน ตั้งแต่ปีมะโว้ ขณะเกิดกกำลังจะซ่อม และในที่สุดมันพังลงมา คนงานก็เสียชีวิต คนขบรถก็เสียชีวืดเขาเรียกวา "ประมาท" ครับ ใครหรือหน่วยงานใดเป็นเจ้าหรือดูแลรักษาต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดครับ



รับชมทางยูทูบที่ : https://youtu.be/CIgP6ArnS6A

คุณอาจสนใจ

Related News