สังคม

รพ.จุฬาลงกรณ์ แถลงความสำเร็จ ผลิตวัคซีน mRNA ผลเทียบเท่าต่างประเทศ

โดย pattraporn_a

16 ส.ค. 2564

99 views

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แถลงความสำเร็จของการทดสอบวัคซีน ChulaCOV19 เฟส 1 ซึ่งได้ผลเทียบเท่าวัคซีน mRNA ในต่างประเทศ ตั้งเป้าก่อนเมษายนปีหน้า จะสามารถใช้ในภาวะฉุกเฉินได้


ศาสตราจารย์นายแพทย์เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริการโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า วันนี้เป็นการแจ้งความสำเร็จเบื้องต้น ระยะที่ 1 ของวัคซีน ChalaCOV19 ซึ่งได้ทดลองกับอาสาสมัคร ช่วงอายุ 18-55 ปี 36 คน ยังไม่ได้ตีพิมพ์ในวารสารใดๆ จากการทดลองพบว่าวัคซีนมีความปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียงรุนแรง มีเพียงผลขั้นเล็กน้อย หรือปานกลาง และจะดีขึ้นภายใน 1-3 วัน จากการตรวจภูมิในอาสาสมัคร ChulaCOV19 พบว่าสามารถยับยั้งโปรตีนปุ่มหนามได้ดี โดยยับยั้งได้ 94% เทียบเท่าไฟเซอร์ ขณะที่แอสตร้าเซเนก้ายับยั้งได้ 84% จากรายงานการตีพิมพ์ หากวัคซีนใดยับยั้งได้เกิน 68% ถือว่าป้องกันการติดเชื้อได้


สรุปสำหรับผลสำเร็จของการทดสอบที่ได้ คือ ChalaCOV19 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดี้ ได้สูงเทียบได้กับไฟเซอร์ และ BNT หรือ ไบออนเทค  ChalaCOV19 กระตุ้นแอนติบอดี้ได้สูงมากในการยับยั้งเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม ซึ่งแอนติบอดี้ที่สูงมาก สามารถยับยั้งเชื้อข้ามสายพันธุ์ ได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ คือ อัลฟ่า,เบต้า, แกมม่า และเดลต้า และยังกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด ที-เซลล์ ซึ่งจะช่วยขจัด และควบคุมเชื้อที่อยู่ในเซลล์ของคนที่ติดเชื้อได้


คาดว่าการทดสอบในอาสาสมัคร ระยะ 2a จะเริ่มประมาณ 25 สิงหาคม ส่วน ระยะ 2b และ ระยะ 3 ต้องรอกติกา การขึ้นทะเบียนจากทาง อย.ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง แต่ถ้าเป็นไปตามแผน ประมาณเดือนตุลาคมนี้ เราจะได้วัคซีนที่ผลิตในไทย 100%


เป้าหมายที่วางไว้ คือ ภายในเดือนเมษายน 2565 หรือก่อนสงกรานต์ ไทยจะขึ้นทะเบียน ChulaCOV19 ในภาวะฉุกเฉินได้ แต่ต้องบอกว่าสิ่งที่วางเป้าหมายไว้นั้น ขึ้นอยู่กับ 4 ปัจจัย คือ ต้องมีงบเพียงพอ,รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ต้องมีกติกาการขึ้นทะเบียนในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 จาก อย. อย่างชัดเจน  ต้องมีโรงงานผลิตที่เร่งผลิตวัคซีนที่มีคุณภาพและจำนวนมาก และ นโยบายการจองและจัดซื้อวัคซีนล่วงหน้าต้องมีความชัดเจน



สามารถดูข่าวทาง Youtube ได้ที่ : https://youtu.be/ROXU1eaxuEo


คุณอาจสนใจ

Related News