สังคม

อีกราย! ‘เด็ก 6 ขวบ’ ติดโควิดดับ พบภาวะปอดอักเสบ แพทย์เผยเริ่มมีผู้กลับมาติดเชื้อเพิ่มขึ้น

โดย JitrarutP

28 พ.ย. 2565

315 views

รพ.มหาราชนครราชสีมา พบ “เด็ก 6 ขวบ” ยังไม่ได้รับวัคซีน ติดเชื้อโควิด-19 เสียชีวิตใน รพ. พบมีภาวะปอดอักเสบ แพทย์เผย เริ่มพบผู้กลับมาติดเชื้อมากขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวานนี้ (วันที่ 27 พ.ย.) ที่จุดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่านครราชสีมา ประชาชนได้ทยอยเดินทางไปฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 กันอย่างต่อเนื่อง ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ และบุคคลกลุ่มเสี่ยง 608

โดย นพ.เจษฎ์ บุญยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการภารกิจ ด้านอำนวยการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เปิดเผยว่า ช่วงนี้มีประชานชนให้ความสนใจที่มาขอรับวัคซีนเพิ่มมากขึ้นจากเมื่อก่อนอยู่ที่ประมาณวันละ 500 คน แต่ช่วงนี้เพิ่มขึ้นมาเฉลี่ยวันละ 600 - 700 คน สาเหตุน่าจะมาจากที่ประชาชนส่วนหนึ่งจะใช้ช่วงหยุดเทศกาลปีใหม่เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนให้ครบ และอีกสาเหตุหนึ่งน่าจะมาจากข่าวการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์ใหม่จึงทำให้ประชาชนสนใจที่จะมาขอเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพิ่มมากขึ้น

นายเพทย์เจษฎ์ เผยอีกว่า สำหรับในกรณีการเสียชีวิตของเด็กหญิงวัย 6 ปี ที่เสียชีวิตที่โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีม เมื่อวันที่ 23 พ.ย.ที่ผ่านมา ทางแพทย์ได้วินิจฉัยแล้วว่าสาเหตุของการเสียชีวิตมาจากการป่วยด้วยโรคโควิด-19 ทำให้ปอดอักเสบจนเสียชีวิต โดยประวัติของเด็กที่เสียชีวิตพบว่ามีอาการป่วยทางสมอง ติดเชื้อมาจากบุคคลในครอบครัว และไม่พบประวัติการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

ด้าน นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ถึงสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน โดยมีใจความระบุว่า ไวรัสไม่ธรรมดาแล้ว การที่มีการติดหนาแน่นใหม่ แสดงว่าไวรัสไม่ใช่ตัวเดิม ลักษณะอาการไม่ใช่มีแต่ไข้น้ำมูกเจ็บคอไอ แต่ออกมาในลักษณะเฉียบพลัน มีไข้ หนาวยะเยือก มือเท้าเย็น ความดันตกโดยที่ไม่มีน้ำมูกหรือมีแต่เจ็บคอเล็กน้อยเท่านั้นเองได้ หรือ ออกมาในรูปของอาการซึม ทางระบบสมอง หรือระบบหัวใจ

เอทีเคขึ้นช้าได้หรือขึ้นขีดจางๆ โดยอาการเริ่มไปก่อนแล้วเป็นวัน ลักษณะสายย่อยใหม่นี้ในสหรัฐ ประกาศเตือนแอนติบอดีที่ใช้ในการรักษาจะใช้ไม่ได้รวมทั้งแอนติบอดีที่ออกฤทธิ์ยาว evusheld รวมทั้งแนวโน้มที่จะดื้อกับยาต้านไวรัสเช่น โมลนูพิราเวียร์ การติดเชื้อธรรมชาติที่ติดไปแล้ว กลับพบว่ามีบทบาทในการลดความรุนแรงได้ดีกว่าวัคซีน แม้ว่าจะไม่ได้ป้องกันการติดใหม่ก็ตาม


รับชมผ่านยูทูปได้ที่ : https://youtu.be/CjaOTFFoNNg

คุณอาจสนใจ

Related News